การพัฒนาระบบกำเนิดไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบออนกริดแบบไม่จ่ายย้อนกลับ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพระบบกำเนิดไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบออนกริดแบบไม่จ่ายย้อนกลับ โดยใช้ข้อมูลการผลิตกระแสไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่มีการติดตั้งและใช้งานจริงเป็นข้อมูลต้นแบบจากโซล่าเซลล์โพลีคริสตัลไลน์ขนาด 330 วัตต์ เป็นตัวผลิตไฟฟ้าเพื่อส่งผ่านกระแสไฟฟ้าเข้ากริดไทอินเวอร์เตอร์ขนาด 600 วัตต์ โดยมีบอร์ดอาดูโน่ (Arduino Uno R3) เป็นอุปกรณ์ควบคุมการทำงานของโซลิดสเตตรีเลย์ ในการทดลองจะทำการเก็บข้อมูลพลังงานไฟฟ้าจาก 3 แหล่ง คือ ระบบจำหน่ายจากการไฟฟ้า, การเก็บค่าจากกริดไทอินเวอร์เตอร์, และโหลดที่ใช้งานจริง เพื่อการจ่ายพลังงานไฟฟ้าให้เหมาะสมกับการใช้งาน ผลการทดสอบหาประสิทธิภาพของระบบพบว่า การทำงานของระบบกำเนิดไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบออนกริดแบบไม่จ่ายย้อนกลับสามารถควบคุมการผลิตไฟฟ้าได้อย่างเหมาะสมและถูกต้องตามที่ได้ออกแบบไว้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงพลังงาน. (2566). สถานการณ์พลังงาน. สืบค้น 15 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://www.energy.go.th/th
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน. (2566). พลังงานทดแทน. สืบค้น 15 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://www.dede.go.th/more_news.php? cid=34&filename=index
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน. (2566). พลังงานแสงอาทิตย์. สืบค้น 15 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://webkc.dede.go.th/testmax/node/822
นครินทร์ รินพล. (2558). คู่มือการออกแบบระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพฯ: อีโค่แพลนเน็ต.
นภัทร วัจนเทพินทร์. (2554). การติดตั้งระบบไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ด้วยตัวเอง (พิมพ์ครั้งที่ 2). ปทุมธานี: สกายบุ๊ก.
WANG Xiao-dong, DAI Xiang and LI Zhi-wei. (2011). Research on complex power grid cascading failure with generalized stochastic Petri net. Power System Protection and Control, 39(14), pp. 113-119.
William S. K., Daniel F. P., Asrilani S., & Indra H. T. (2018). Design and Implementation of Battery Management System for On-grid System. In 2018 International Conference on Control, Electronics, Renewable Energy and Communications (pp.179-183). Bandung, Indonesia.