การออกแบบและทดสอบเครื่องฉีดพ่นสารเคลือบนาโนสะท้อนน้ำสำหรับผ้าทอพื้นเมือง
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและสร้างเครื่องฉีดพ่นสารเคลือบนาโนสะท้อนน้ำสำหรับผ้าทอพื้นเมือง และเพื่อทดสอบหาระดับแรงดันน้ำ ความสูงของหัวฉีด และความเร็วรอบในการลำเลียงที่เหมาะสม โดยการออกแบบเครื่องฉีดพ่นสารเคลือบนาโนสะท้อนน้ำประกอบด้วย 4 ส่วน คือ ส่วนแรกเป็นชุดโครงสร้าง ส่วนที่สองเป็นชุดฉีดพ่นสารนาโนประกอบด้วยปั้มน้ำที่ทำหน้าที่ดูดสารนาโนจากถังเก็บส่งไปยังหัวฉีดแบบใบพัด ส่วนที่สามเป็นระบบส่งกำลังที่มีมอเตอร์ทำหน้าที่ส่งกำลังผ่านสายพานไปยังมู่เลย์ทดแบบอัตราทดหลายชั้น ส่วนที่สี่เป็นชุดลำเลียงผ้าทอพื้นเมืองเข้าสู่กระบวนการฉีดและรีดสารนาโน ผลการทดสอบเพื่อหาระดับที่เหมาะสมของแต่ละปัจจัย โดยทำการทดลองแบบแฟกทอเรียลที่มีการทดลอง 3 ซ้ำ จำนวนทั้งสิ้น 36 การทดลอง พบว่า ทุกการทดลองมีหยดน้ำอยู่ครบ 9 ตำแหน่ง และมีมุมสัมผัสอยู่ในช่วง 125 - 129 องศา อยู่ในเกณฑ์ที่มีคุณสมบัติความไม่ชอบน้ำ ทำให้ผ้าเกิดการสะท้อนน้ำ และเมื่อใช้ Response Optimizer ในการวิเคราะห์ พบว่า แรงดันน้ำที่ 2 บาร์ ความสูงหัวฉีด 30 เซนติเมตร และความเร็วรอบในการลำเลียง 50 รอบต่อนาที เป็นระดับในการปรับตั้งเครื่องที่เหมาะสมที่สุด โดยมีเวลาเฉลี่ย 11.9067 วินาที
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ใจภักดิ์ บุรพเจตนา. (2559). การประยุกต์ลวดลายจากอัตลักษณ์ผ้าทอตีนจกแม่แจ่มเพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์สิ่งทอเชิงวัฒนธรรมประเภทของตกแต่งบ้าน. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ), 9(3), 1720-1738.
นุสรา เตียงเกตุ, วลัย จักรทิพย์, และบุษบา อินต๊ะพันธ์. (2550). ห้องเรียนทอผ้า การสืบทอดความรู้เรื่องผ้าพื้นเมืองแม่แจ่ม. เชียงใหม่: โครงการโรงเรียนทอผ้า.
บุญธรรม ภัทราจารุกุล. (2562). คณิตศาสตร์เครื่องมือกล. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
พิมพ์พรรณ ปรืองาม. (2563). การออกแบบเครื่องเตรียมกาบกล้วยสำหรับทำเชือกกล้วย. วารสารสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย, 26(1), 35-43.
วิรัช กองสิน และรังสิวุฒิ กองงาม. (2561). การศึกษาหัวฉีดสำหรับรถฉีดสารบำรุงผักคะน้า. ใน การประชุม วิชาการวิจัยและนวัตกรรมสร้างสรรค์ ครั้งที่ 5 (น.1267–1273). ตาก : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาตาก.
วีรเดช เกตุมรรค และพงศกร สุรินทร์. (2555). การออกแบบและพัฒนาเครื่องกะเทาะครั่ง. วิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต, 2(2), 63–76.
ศูนย์ข้อมูลสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ. (2554). ผ้าสะท้อนน้ำรับหน้าพระพิรุณ. Thai Textile Outlook by THTI, 4(1), 44–49.
สำเริง ลำเจียก. (2561). สมบัติความไม่ชอบน้ำยิ่งยวดของฟิล์มบางพอลิเตตระฟลูออโรเอทีลีนที่เคลือบบนฟิล์มอะลูมิเนียมผิวขรุขระ. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Comanns, P. (2018). Passive water collection with the integument: mechanisms and their biomimetic potential. Journal of Experimental Biology, 221, 1–13.
Yuan, Y. and Lee, T. R. (2013). Contact Angle and Wetting Properties. New York: Springer Series in Surface Sciences.