การปรับปรุงกระบวนการผลิตแบบกึ่งอัตโนมัติเพื่อลดต้นทุนในสายการผลิตชิ้นส่วนแผ่นยึดโครงตัวถังรถกระบะ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิตแบบกึ่งอัตโนมัติเพื่อลดต้นทุนในสายการผลิตชิ้นส่วนแผ่นยึดโครงตัวถังรถกระบะ ซึ่งเป็นงานวิจัยร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาคการศึกษาและภาคเอกชน ในรูปแบบของกรณีศึกษา โดยทำการประยุกต์ใช้หลักการศึกษางานร่วมกับการศึกษาเวลา การปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการผลิตเพื่อลดเวลาสูญเปล่าด้วยเทคนิค ECRS หลังจากนั้นทำการเปรียบเทียบสมรรถนะของกระบวนการผลิตก่อนและหลังการปรับปรุง ผลการดำเนินการปรับปรุงสายการผลิต พบว่า เวลาการผลิตแผ่นยึดโครงตัวถังรถกระบะก่อนการปรับปรุงมีเวลาในการผลิต (Takt Time) 414 วินาทีต่อชิ้น กำลังการผลิตโดยประมาณ 68 ชิ้นต่อวัน ภายหลังการประยุกต์ใช้หลักการลดเวลาสูญเปล่าด้วยเทคนิค ECRS และสร้างอุปกรณ์การเจียรไนแบบกึ่งอัตโนมัติสามารถปรับปรุงเวลาการผลิตให้ลดลงได้ โดยมีเวลามาตรฐานในการผลิตลดลงที่ 358 วินาทีต่อชิ้น คิดเป็น 13.52 เปอร์เซ็นต์ ของอัตราเวลาที่ลดลงและส่งผลให้อัตรากำลังการผลิตในรอบ 1 วันเพิ่มสูงขึ้นเป็น 80 ชิ้นต่อวัน มากไปกว่านั้นเมื่อทำการวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์ พบว่า ต้นทุนในการสร้างอุปกรณ์ช่วยจับยึดในสถานีงานเจียรไนจำนวน 58,860 บาท หากชิ้นส่วนแผ่นยึดโครงตัวถังรถกระบะ มีกำไรชิ้นละ 500 บาท จากปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้นวันละ 7 ชิ้น ก็จะพบว่าเพียง 16 วัน หรือไม่เกิน 1 เดือนก็จะคุ้มทุนและยังเพิ่มผลผลิตเพื่อสร้างกำไรได้อีกต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Journal of Technology and Engineering Progress is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) licence, unless otherwise stated. Please read our Policies page for more information
References
ลัดดาวัลย์ มิ่งกมลรัตน์, “กิจกรรมข้อเสนอแนะเพื่อการ ปรับปรุงจุดบกพร่องและยกระดับคุณภาพของงาน” ISBN, 9747949105. Imprint, กรุงเทพฯ: สมาคม ส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น), (2531). Edition, พิมพ์ ครั้งที่ 2
ขวัญชัย สว่างศรี, “การจัดทำมาตรฐานสายการผลิต ติดตั้งดัมพ์”. วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธนบุรี, (2551).
ปาริชาติ แก้วมณ และอรรถกร เก่งพล, “การพัฒนา โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยจัดสมดุลการผลิต: กรณีศึกษา บริษัทในอุตสาหกรรมยานยนต์”. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. (2558), ปีที่ 25 ฉบับที่ 1
กอบโชค เหล็กกล้า, พนิดา กัลยา และ สานรินทร์ บุญ ยอด, “เทคนิคการลดปัญหาสายการผลิตเป็นคอขวด” ปริญญานิพนธ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, (2547).
วันชัย แซ่ซิ้ม, “การจัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงานใน กระบวนการประกอบหลังคารถยนต์.” วิศวกรรมศาสตร-บัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะ วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธนบุรี, (2547).
เกษม พิพัฒน์ปัญญานุกูล และธีรวัฒน์ สมสิริกาญจนคุณ. “การวางแผนและควบคุมการผลิต.” พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ (2540)
รุ่งนภา ฟองทา และปวีณา เชาวลิตวงศ์. “การปรับปรุง การจัดลำดับการผลิตในสายงานประกอบรถยนต์”. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ : ปีที่ 2 ฉบับที่ 3, ก้าวสู่ อุตสาหกรรมที่ดีกว่า : ISSN 1906-3636 : 2553.
นุชสรา เกรียงกรกฎ และปรีชา เกรียงกรกฎ. “โปรแกรม คอมพิวเตอร์สำหรับการจัดสมดุลสายการประกอบ กรณี ศึกษา : โรงงานผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป จ.อุบลราชธานี”. KKU ENGINEERING JOURNAL April-june, 36(2): (2012), pp. 131-138.
Tabucanon, M. T. and J. L. Ong., “Multiproduct multistage machine requirements planning models”, Applied Mathematical Modeling, 17 (3): (1993), pp. 162-167.
Kenneth, E. Bottoms and Bartlett, E. T., “Resource Allocation through Goal Programming”, Journal of range management, 28 (6) : (1975), pp. 442-447.