การเปรียบเทียบผิวรอยกัดของวัสดุเหล็กแม่พิมพ์ AISI-P20 ด้วยเครื่องกัดอัตโนมัติแบบ 3 และ 5 แกน

Main Article Content

ฐานทัพ นนท์ตุลา
ปิยะพงษ์ ค้ำคูณ
สุทธิลักษณ์ พิลา
สมพร ปิยะพันธ์
โอรีส มณีสาย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพผิวรอยกัดส่วนโค้งของวัสดุเหล็กแม่พิมพ์ AISI-P20 ด้วยเครื่องกัดอัตโนมัติแบบ 3 และ 5 แกน โดยทำการออกแบบชิ้นงานตัวอย่างต้นแบบเป็นลักษณะรูปคลื่นผิวนูนโค้งที่มีรูปแบบผิวโค้งนูน และเว้าที่มีรัศมีที่แตกต่างกัน และใช้ชุดคำสั่งด้วยโปรแกรม Siemens NX12 (CAD-CAM software) สำหรับวัสดุตัดเฉือนหรือแปรรูปด้วยกระบวนการกัด คือ ดอกกัดมุมฉาก (Flex End Mills) ทังสเตนคาร์ไบด์แบบ 4 ฟัน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 มิลลิเมตร และดอกกัดรัศมีโค้ง (Ball End Mills) ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 มิลลิเมตร ที่ความเร็วรอบ ความเร็วเคลื่อนที่และเงื่อนไขอื่นๆ ตามที่กำหนด ประเมินผลค่าความหยาบผิวของชิ้นงานทดสอบ และเปรียบเทียบเวลาที่ใช้สำหรับดำเนินการด้วยกระบวนการกัดอัตโนมัติแบบ 3 และ 5 แกน ผลการทดลองพบว่าวัสดุเหล็กแม่พิมพ์ P20 กัดอัตโนมัติแบบ 3 แกน มีค่าความหยาบผิวเฉลี่ยน้อยที่สุดที่ตำแหน่งรัศมีโค้งที่ 2 มีค่าเท่ากับ 2.039 ไมโครเมตร และกัดอัตโนมัติแบบ 5 แกน มีค่าความหยาบผิวเฉลี่ยน้อยที่สุดที่ตำแหน่งรัศมีโค้งที่ 2 มีค่าเท่ากับ 1.861 ไมโครเมตร จากการแสดงของโปรแกรม Siemens NX12 และเวลาปฏิบัติงานจริง พบว่าการกัดแปรรูปแบบ 3 และ 5 แกน ใช้เวลาจำลองจากชุดคำสั่งของโปรแกรมใกล้เคียงกัน แต่เมื่อดำเนินการปฏิบัติงานจริง การกัดแปรรูปแบบ 3 แกน ใช้เวลาน้อยกว่าการกัดแปรรูปแบบ 5 แกน เท่ากับ 12.98 นาที

Article Details

How to Cite
1.
นนท์ตุลา ฐ, ค้ำคูณ ป, พิลา ส, ปิยะพันธ์ ส, มณีสาย โ. การเปรียบเทียบผิวรอยกัดของวัสดุเหล็กแม่พิมพ์ AISI-P20 ด้วยเครื่องกัดอัตโนมัติแบบ 3 และ 5 แกน. J. Techno. Eng. Prog. [อินเทอร์เน็ต]. 28 ธันวาคม 2024 [อ้างถึง 3 กุมภาพันธ์ 2025];2(1-2):56-64. available at: https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JTEP/article/view/3440
บท
บทความวิจัย

References

A. Callejaa, et al. “Blisk blades manufacturing technologies analysis”. Procedia Manufacturing 41 (2019). pp. 714–722.

Siemens NX. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก https://www.dtm-thailand.com/content/5296/nx. (15 มีนาคม 2566).

Isabela da Costa Castanhera and Anselmo Eduardo Diniz. Procedia Manufacturing, Volume 5, 2016, P. 220–231.

Anshan Zhang, et al. “A tool wear prediction method for free-form surface machining of ball-end mill”, Journal of Manufacturing Processes, 130 (2024), P. 87–101.

K. Rajain, O.Sliusarenko, M.Bizzarrietal. “Curve-guided 5-axis CNC flank milling of free-form surfaces using custom-shaped tools”. Computer Aided Geometric Design, 94 (2022), 102082.

Yu Zhou, et al. “A review of 5-axis milling techniques for centrifugal impellers: Tool-path generation and deformation control”. Journal of Manufacturing Processes, 131 (2024). P. 160–186.