ปัจจัยที่ส่งผลต่อความลึกในการแกะสลักด้วยเลเซอร์ชนิดคาร์บอนไดออกไซด์ สำหรับวัสดุอะคริลิก (กรณีศึกษา)
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในกระบวนการแกะสลักผิววัสดุอะคริลิก พารามิเตอร์ที่ใช้ในการศึกษา กระบวนการแกะสลักด้วยเครื่องตัดแกะสลักเลเซอร์ชนิดคาร์บอนไดออกไซด์ ประกอบไปด้วย ความเร็วตัด (Cutting Speed) 3,600-6,000 มิลลิเมตร/นาที พลังงานเลเซอร์ (Power Laser) 60-120 วัตต์ ระยะห่างระหว่างหัวตัดเลเซอร์กับผิวชิ้นงาน (Gap) 4.2-5.0 มิลลิเมตร ทำการวัดขนาดร่องการแกะสลัก ผลการทดลองประเมินจากค่าเฉลี่ยความลึกของร่องแกะสลักต่ำสุด และสูงสุดตลอดจนวิเคราะห์คุณภาพความหยาบผิวบริเวณร่องการแกะสลักกับส่วนของผิวชิ้นงาน ผลการทดลองพบว่าชิ้นงานทดสอบวัสดุชนิดอะคริลิกมีค่าเฉลี่ยค่าความหยาบผิวเฉลี่ย (Ra) บริเวณร่องการแกะสลักเท่ากับ 1.965 ไมโครเมตร และบริเวณผิวชิ้นงานทดสอบเท่ากับ 1.403 ไมโครเมตร จากการปรับค่าความเร็วตัด 6,000 มิลลิเมตร/นาที ค่าพลังงานเลเซอร์ 120 วัตต์ ระยะห่างระหว่างหัวตัดเลเซอร์กับผิวชิ้นงาน 4.8 มิลลิเมตร
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Journal of Technology and Engineering Progress is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) licence, unless otherwise stated. Please read our Policies page for more information
References
ชนิดของเลเซอร์. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://mintrabpp.blogspot.com/p/blog-page_10.html (9 พฤศจิกายน 2566).
เครื่องตัดแกะสลักเลเซอร์ชนิดคาร์บอนไดออกไซด์. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.print3dd.com/laser-CO2-fiber-diode/ (12 พฤศจิกายน 2566).
ฤทธิชัย สังฆทิพย์, เฉลิมศักดิ์ ถาวรวัตร์ และประยูร สุรินทร์ 2555. “การหาพารามิเตอร์ที่เหมาะสมในการตัดสเตนเลสเกรด 304 ด้วยเครื่องเลเซอร์ CO2”. สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน.
นรา บุริพันธ์ 2554. “อิทธิพลของสภาวะการตัดเหล็กกล้ำไร้สนิมเกรด SU304 ด้วยเลเซอร์ที่มีผลต่อความหยาบผิว” สาขาวิศวกรรมการผลิต ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
จรัญ บัวชุม, กรรณชัย กลัยาศิริ 2562. “การหาค่าที่เหมาะสมของตัวแปรในการตัดแผ่นอะลูมิเนียมเกรด EN AW-6061 T6 ด้วย Nd-YAG เลเซอร์”. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
กระบวนการของการแกะสลักเลเซอร์. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.trumpf.com/en_IN/solutions/applications/laser-cutting/ (16 พ.ย. 2566).