แนวทางการปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการผลิตเตาอั้งโล่ กรณีศึกษาโรงปั้นเตาอั้งโล่ บ้านดงมะไฟ

Main Article Content

วิเรขา คำจันทร์
กาญจนา อุปปิด
ศักดิ์ดา คำจันทร์

บทคัดย่อ

บทความนี้ได้นำเสนอแนวทางการปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตเตาอั้งโล่ กรณีศึกษาโรงปั้นเตาบ้านดงมะไฟ โดยนำเทคนิคการลดความสูญเปล่า (ECRS) แผนภูมิกระบวนการผลิต (Process Chart)  และการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรอย่างรวดเร็ว (SMED) มาปรับปรุงการทำงาน ซึ่งขั้นตอนการทำงานในกระบวนการผลิตก่อนทำการปรับปรุงมี 65 ขั้นตอน หลังจากปรับปรุงวิธีการทำงานทำให้มีขั้นตอนการทำงานในกระบวนการผลิต 50 ขั้นตอน ลดลง 15 ขั้นตอน โดยลดเวลากระบวนการผลิตก่อนการปรับปรุงใช้เวลา 171 ชั่วโมง 35 นาที หลังการปรับปรุงใช้เวลา 122 ชั่วโมง 28 นาที สามารถลดเวลาการทำงานลดลง ได้ 49 ชั่วโมง 6 นาที คิดเป็น 28.63%

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คลอเคลีย วจนะวิชากร, ปานจิต ศรีสวัสดิ์, วรัญญู ทิพย์ โพธิ์ (2559), “การปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการผลิตเพื่อลดความสูญเปล่าและเพิ่มคุณภาพผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา กรณีศึกษาชุมชนเครื่องปั้นดินเผาปากห้วยวังนอง จังหวัดอุบลราชธานี”, วารสารวิชาการ วิศวกรรมศาสตร์ ม.อบ. ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2559, หน้า 38-46.

ประสงค์ โพนาคา และพีรเดช สุวิทยารักษ์, “การปรับปรุงกระบวนการประกอบชิ้นส่วนลำโพงขนาดเล็ก”, การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ, ประจำปี พ.ศ. 2559, 7-8 กรกฎาคม 2559, หน้า 723-732.

คณิศร ภูนิคม, “การปรับปรุงประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตด้วยเทคนิคการปรับปรุงงาน กรณีศึกษาโรงงานน้ำดื่มใบไผ่เขียว”, การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ, ประจำปี พ.ศ. 2560, 12-15 กรกฎาคม 2560, หน้า 150-155.

คุลยา ศรีโยม และพิเชษฐ์ จันทวี, “การลดความสูญเปล่าในกระบวนการผลิตดอกไม้จันทน์ กรณีศึกษา กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านแหลมเคียน”, การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 9, 20-21 กรกฎาคม 2561, หน้า 1387-1395.

ณัฐนันท์ อิสสระพงศ์, รัชฎา แต่งภูเขียว, ปิยณัฐ โตอ่อน, อุ้มบุญ เชลียงรัชต์ชัย และพรศิริ คำหล้า, “การลดเวลาในกระบวนการผลิตด้วยแนวคิดการผลิตแบบลีน: กรณีศึกษาการผลิตยางเรเดียล”, วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 8, 1 (ม.ค.-มิ.ย. 2562), หน้า 76-90.