การพัฒนาและสร้างเครื่องปลูกตะไคร้แบบจุดพ่วงสามจุด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการทดลองเพื่อศึกษาพัฒนาเครื่องปลูกตะไคร้ คณะผู้วิจัยจึงเลือกใช้การออกแบบพัฒนาตัวเครื่องและนำมาเปรียบกับเครื่องก่อนพัฒนา เพื่อหาปัจจัยที่ดีที่สุดและลดต้นทุนการผลิตในการปลูกตะไคร้ โดยปัจจัยที่ใช้ในการทดลอง ประกอบด้วย 2 ปัจจัยคือ 1) การหาค่าเฉลี่ยอัตราสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงในระยะทางการวิ่งเท่ากัน 2) การหาประสิทธิภาพในการปลูกระยะทางเท่ากันแต่ความเร็วในการวิ่งต่างกัน โดยใช้เกียร์ L2 L3 และ L4 ความเร็วรอบเครื่องที่ 1,500 ,2,000 และ 2,500 รอบต่อนาที ในการทดลองทั้งหมด 27 ครั้ง โดยระยะห่างของต้นตะไคร้จะอยู่ที่ 120 เซนติเมตร จากการทดลองทั้งหมด จะเห็นได้ว่าผลการทดลองเครื่องปลูกตะไคร้แบบจุดพ่วงสามจุดนั้นมีประสิทธิภาพสูงสุดอยู่ที่เกียร์ L2 ที่ 2,000 รอบต่อนาที คิดเป็น 98.72 % สามารถลดต้นทุนการผลิตลงได้หลังการพัฒนาจากเครื่องเดิมตามวัตถุประสงค์ โดยใช้แรงงานคนเพียง 1 คน ใช้เวลาในการปลูก 38 นาที/ไร่ ใช้น้ำมันเชื้อเพลิง 2.34 ลิตร/ไร่ โดยการทดสอบทั้งหมด 27 ครั้ง ใช้ระยะทางในการวิ่ง 16 เมตรเท่ากัน ใช้ความเร็วที่เกียร์ L2 ซึ่งจะมีความเร็วรอบเครื่องอยู่ที่ 2,000 รอบต่อนาที มีจำนวนตัวอย่างทั้งหมด 702 ต้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Journal of Technology and Engineering Progress is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) licence, unless otherwise stated. Please read our Policies page for more information
References
โชติอนันต์ และคณะ, 2551. สมุนไพรไทย สำหรับงานสาธารณสุขมูลฐาน https://pharmacy.su.ac.th/ herbmed/herb/text/herb_detail.php?herbID=96
พงศ์เพร็ช เรืองศรี, 2560. การปลูกตะไคร้หยวกให้ได้ผลผลิตสูง https://www.rakbankerd.com/agricul ture/print.php?id=6180&s=tblplant
บริษัท คอนเวเยอร์ไกด์ จำกัด , เรื่องที่ 1. สายพานกระพ้อลำเลียง(Bucket Belt Elevator http://www.Con veyorguide.co.th/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=19
บริษัท ฟลูเทค จำกัด , 2566. กระบอกลม กระบอกสูบ (PNEUMATIC AIR CYLINDER) https://www.Flutech thailand.com/content/7799/air-cylinder
ธนกฤต โยธาทูล และคณะ (2558) การพัฒนาเครื่องปลุกสับปะรดแบบพ่วงท้ายรถแทรกเตอร์ขนาดเล็กปริญญานิพนธ์เรื่อง การพัฒนาเครื่องปลุกสับปะรดแบบพ่วงท้ายรถแทรกเตอร์ขนาดเล็กสืบค้นเมื่อ 4 มกราาคม 2566
ธีรศักดิ์ โกเมฆ และคณะ (2559) ทดสอบและพัฒนาเครื่องจักรกลเกษตรสำหรับกระเทียมปริญญานิพนธ์ เรื่อง ทดสอบและพัฒนาเครื่องจักรกลเกษตรสำหรับกระเทียมสืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2566
กิติพลและคณะ (2559) การออกแบบถังบรรทุกของเครื่องปลูกอ้อยแบบท่อนสำหรับแปลงขนาดยาวปริญญานิพนธ์ เรื่อง การออกแบบถังบรรทุกของเครื่องปลูกอ้อยแบบท่อนสำหรับแปลงขนาดยาว สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2566
สามารถและคณะ (2561) เครื่องปลูกมันสำปะหลังแบบใช้กับรถแทรกเตอร์ขนาดเล็ก ปริญญานิพนธ์เรื่อง เครื่องปลูกมันสำปะหลังแบบใช้กับรถแทรกเตอร์ขนาดเล็กสืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2566
นก่อเกรียติ อรรคจุ่น และคณะ (2561) การออกแบบและสร้างเครื่องปลูกตะไคร้แบบจุดต่อพ่วงสามจุดปริญญานิพนธ์ เรื่อง การออกเเบบเเละสร้างเครื่องปลูกตะไคร้เเบบจุดต่อพ่วงสามจุด สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2565
สมมารถ ศรีประเทืองและคณะ “การออกแบบและสร้างเครื่องปลูกตะไคร้แบบใช้จุดต่อพ่วงสามจุด”,การประชุมวิชาการราชมงคลด้านเทคโนโลยีการผลิตและการจัดการ ครั้งที่ 4, เชียงใหม่, ประเทศไทย, 30-31 พฤษภาคม 2562: (2562)
สุวิพงษ์ และคณะ (2562) เครื่องหยอดข้าวนาแห้งแบบต่อพ่วงจอบหมุนปริญญานิพนธ์ เรื่อง เครื่องหยอดข้าวนาแห้งแบบต่อพ่วงจอบหมุนสืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2566
บรรลุ และคณะ (2563) การออกแบบและสร้างเครื่องโรยข้าวเมล็ดเดี่ยวแบบอัตโนมัติปริญญานิพนธ์ เรื่อง การออกแบบและสร้างเครื่องโรยข้าวเมล็ดเดี่ยวแบบอัตโนมัติสืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2566