การศึกษาสมบัติทางกายภาพของเงิน 18 % ผสมทองแดงและอินเดียม

Main Article Content

ธีรยุทธ กาญจนแสงทอง
รัตติกรณ์ เสาร์แดน
สมพร ปิยะพันธ์
สุรัตน์ วรรณศรี
สมบัติ น้อยมิ่ง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาสมบัติของโลหะเงินเจือ 18 wt.% ที่มีธาตุทองแดง (Cu) และอินเดียม (In) เป็นธาตุเจือ ซึ่งปริมาณส่วนผสม 80-82% และ 0-2.0% ตามลำดับ โดยทำการเปรียบเทียบโลหะเงินเจือ 18.03Ag อัลลอยด์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ จากการดำเนินการวิเคราะห์ตรวจสอบสมบัติทางกายภาพของชิ้นทดสอบสามารถสรุปได้ดังนี้ การผสมโลหะเงิน 18 wt.% ที่มีปริมาณการผสมของทองแดงที่ลดลง และอินเดียมที่เพิ่มขึ้นมีผลทำให้ค่าความหนาแน่นของชิ้นทดสอบมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ชิ้นทดสอบที่มีอัตราการผสม 18.03Ag 79.75Cu 2.02In ซึ่งมีปริมาณความเข้มข้นของทองแดงและอินเดียม เท่ากับ 97.54% และ 2.46% ตามลำดับ มีค่าความหนาแน่นต่ำสุดเท่ากับ 8.50 ± 0.02 g/dm3 การตรวจสอบลักษณะโครงสร้างจุลภาคของชิ้นทดสอบไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากทองแดงและอินเดียมสามารถหลอมละลายผสมรวมเข้ากับโลหะเงิน เป็นโลหะเงินเจือ 18 wt.% ในรูปของสารละลายของแข็งเนื้อเดียว (Single phase solid solution) โดยธาตุเจือชนิดต่าง ๆ เหล่านี้ไม่มีการแยกเฟส ชิ้นทดสอบทุกชิ้นมีลักษณะโครงสร้างจุลภาคเป็นเดนไดรท์ ที่มีลักษณะเป็น Core Structure เกิดเป็น Coring ภายในเกรน อันเป็นผลจากการที่น้ำโลหะเกิดการเย็นตัวในสภาวะที่เร็วกว่าสมดุล การวัดค่าระดับสีของชิ้นทดสอบตามค่าปริภูมิสีระบบ L*a*b ตามมาตรฐาน CIELAB เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยมีผลทำให้ ค่า L* (ค่าความสว่าง) มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องเมื่อปริมาณเข้มข้นของทองแดงลดลง ในส่วนของค่า a* (โทนสีแดง) มีแนวโน้มมีค่าลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ค่าระดับสีแดงลดลง แต่มีความเป็นสีเขียวเพิ่มมากขึ้น และในส่วนของค่า b* (โทนสีเหลือง) ลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าชิ้นทดสอบมีความเป็นสีเหลืองลดลง แต่มีความเป็นสีน้ำเงินเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นผลให้ชิ้นทดสอบที่มีอัตราการผสม 18.03Ag 79.75Cu 2.02In มีปริมาณความเข้มข้นของทองแดงเท่ากับ 97.54% ของอินเดียมเท่ากับ 2.46% มีค่าระดับสีใกล้เคียงกับชิ้นทดสอบโลหะเงินเจือ 18.03 Ag อัลลอยด์ที่นำเข้าจากต่างประเทศมากที่สุด โดยมีค่า E ต่ำสุดเท่ากับ 4.48

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมศุลกากร ประมวลผลโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2565, พฤศจิกายน 24). สถานการณ์ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยเดือนมกราคมถึงพฤษภาคม. [ระบบอนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.thaitextile.org/th

ชุติมันต์ จันทร์เมือง และคณะ โครงการการศึกษาโครงสร้างจุลภาคของโลหะผสมเงินบาง ระบบสำหรับ เครื่องประดับและอิทธิพลของธาตุเจือบางชนิดต่อความแข็ง และความต้านทานการหมอง, (2555).

Lawrence Addicks. Silver in Indusulting. Consulting Engineer, p. 38

เกศราพร วทัญญู. การศึกษาอิทธิพลของดีบุกที่มีผลต่อการคืนตัวของโลหะเงินสเตอร์ลิง (93%Ag–.7% Cu).วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต คณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ.เทคโนโลยีเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, (2549).

Phase diagram Ag-Cu. (2015, November. 8). แผนภาพสมดุลเฟสของโลหะเงิน-ทองแดง. [Online].Available : http://lib.znate.ru docs index-9861.html

Phase diagram Ag-In. (2015, Novembe. 8). แผนภาพสมดุลเฟสของโลหะเงิน-อินเดียม. [Online]./Available/: https://www.researchgate.net/figure/Ag-In-phase-diagram /Redrawn-from-the-ASM-Handbook-Online_fig7_225803991

สุรัตน์ วรรณศรี. การศึกษาวิเคราะห์สมบัติโลหะเงินสเตอร์ลิงจากกรรมวิธีทางความร้อน วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต ภาควิชาวิศวกรรมการผลิตบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, (2543)

สุรัตน์ วรรณศรี และคณะ. ความแตกต่างของระดับสีทองคำกะรัต. สานักงานกองทุนสนับสนุนในการวิจัย, (2549)

ธนาธิป สะและหน่าย. การศึกษาโครงสร้างจุลภาคและสมบัติทางกลของโลหะเงินเจือ 58.4% สำหรับการผลิตเครื่องประดับ วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาวิชาวิศวกรรมการผลิต ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล มงคลธัญบุรี, (2554)