การบันทึกข้อมูลการสอบเทียบเครื่องมือวัด ด้วยโปรแกรมไมโครซอฟเอ็กเซล วีบีเอ และระบบบาร์โค้ด

Main Article Content

ชญานิศ เฉลิมสุข
เถลิง พลเจริญ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้จัดทำขึ้นเพื่อออกแบบและปรับปรุงระบบการบันทึกข้อมูล การสอบเทียบเครื่องมือวัด มีจุดมุ่งหมายเพื่อปรับปรุงระบบการบันทึกข้อมูลการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้วยโปรแกรม Microsoft Excel VBA  และระบบบาร์โค้ด ซึ่งเป็นระบบที่ช่วยลดขั้นตอน ระยะเวลา และเพิ่มความแม่นยำ ในการบันทึกข้อมูล จากปัญหาที่พบก่อนทำการปรับปรุงระบบ พบว่าการบันทึกข้อมูลมีหลายขั้นตอน มีข้อมูลจำนวนมาก และไม่ถูกต้อง จึงทำให้เกิดการปรับปรุงขึ้น การออกแบบและปรับปรุงระบบการบันทึกข้อมูล คณะผู้จัดทำได้นำแผนผังก้างปลา  (Fishbone Diagram) มาใช้ในการวิเคราะห์ปัญหาและเพื่อหาแนวทางในการแก้ปัญหา และปรับปรุงกระบวนการด้วยหลักการลดความสูญเปล่า ECRS รวมทั้งนำเอาโปรแกรม Microsoft Excel VBA มาประยุกต์ใช้กับเครื่องสแกนบาร์โค้ด จากผลการทดสอบการออกแบบระบบการบันทึกข้อมูล การสอบเทียบเครื่องมือวัด โดยนำ Microsoft Excel VBA มาประยุกต์ใช้เข้ากับเครื่องสแกนบาร์โค้ด ทำให้สามารถใช้งานได้จริง โดยกระบวนการสอบเทียบเครื่องมือวัด ลดลงจาก 8 ขั้นตอน เหลือ6  ขั้นตอน เวลาจากเดิม 59 นาที ลดเหลือ 31 นาที หรือคิดเป็น 52.54 % ของเวลาก่อนปรับปรุง และในกระบวนการทวนสอบ 8 ขั้นตอน เวลาจากเดิม 95 นาที ลดเหลือ 39 นาที หรือคิดเป็น 41.05 % ถือว่าการทดสอบการทำงานนั้น มีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Sumipol Agile Technology. (25 ตุลาคม 2565). ประโยชน์ของ เครื่องอ่านบาร์โค้ด (Barcode Reader) ในโรงงานอุตสาหกรรม [ออนไลน์]. สืบค้นจาก : https://www.sumipol.com/knowledge/benefits-using-barcode-reader-industrial/

ชาญศักดิ์ ตรงจิว, “การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการสั่งผลิต กรณีศึกษาโรงงานผลิต อีพีอีโฟมสำหรับบรรจุภัณฑ์,” วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต.. การจัดการงานวิศวกรรม, คณะวิศวกรรมศาสตร์., มหาวิทยาลัยบูรพา., 2559.

โชติรส นพพลกรัง และ พรฑิตา ถามะพันธ์ “การลดระยะเวลาและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตน้ำดื่มบรรจุขวด : กรณีศึกษา โรงงานสหกรณ์การเกษตรยางชุมน้อย จำกัด อำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ,” วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ปีที่ 2(2) , 2565, หน้าที่ 32-42

พัชรี ศรีสุภาพ, “การออกแบบวิธีการจัดลำดับงานของการสอบเทียบเครื่องมือวัด,” วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต.. การจัดการงานวิศวกรรม, คณะวิศวกรรมศาสตร์.,มหาวิทยาลัยบูรพา., 2559.

ธนิชญา มีชำนาญ, “การลดของเสียประเภทมีจุดดำในกระบวนการผลิตไม้แขวนพลาสติก กรณีศึกษา : บริษัทพลาสติกเวิลด์ จำกัด,” วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต.. การจัดการสิ่งแวดล้อม, คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม., สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์., 2563.

คลอเคลีย วจนะวิขาการและคณะ, “การปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการผลิตเพื่อลดความสูญเปล่าและเพิ่มคุณภาพผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา กรณีศึกษาชุมชนเครื่องปั้นดินเผาปากห้วยวังนอง จังหวัดอุบลราชธานี,” วารสารวิชาการ วิศวกรรมศาสตร์ ม.อบ.ปีที่ 9(2), 2559, หน้าที่ 41–42.

อภิญญา สุขมอยและคณะฯ, “การเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการสอบเทียบข้อมูลเครื่องมือวัด ภายในบริษัท กรณีศึกษา บริษัท อัลไลแอนซ์ ลอนดรี้ (ประเทศไทย) จำกัด” วารสารพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม ปีที่ 3(2) , 2566, หน้าที่ 17-28