การสะสมทางชีวภาพของโลหะหนักบางชนิดในปลาทู (Rastrelliger brachysoma) และปลากุเรา (Eleutheronema tetradactylum) จากบริเวณอ่าวแม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม

Authors

  • วิภูษณะ นัญยวิกุล ภาควิชาวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมชีวภาพ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140
  • ศิรประภา เปรมเจริญ ภาควิชาวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมชีวภาพ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140
  • พิเชษฐ อนุรักษ์อุดม ภาควิชาวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมชีวภาพ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

Keywords:

Short-bodied mackerel, Fourfinger threadfin, Heavy metal, Mae Klong Bay, ปลาทู, ปลากุเรา, โลหะหนัก, อ่าวแม่กลอง

Abstract

This study was aimed to analyze the bioaccumulation of heavy metal contamination (Cd, Cu, Pb, Zn) in gill, gonad, intestine, liver and muscle of short-bodied mackerel (Rastrelliger brachysoma) and fourfinger threadfin (Eleutheronema tetradactylum) which were collected from Mae Klong Bay, Samut Songkhram Province. Zn showed the highest accumulation in all organs of both fishes, with average concentration of 144.786±13.705 mg/kg in short-bodied mackerel’s gill and 85.157±36.610 mg/kg in fourfinger threadfin’s liver. Cd and Cu, exhibited the highest accumulation in liver; however all metals possessed at high accumulation in gill. Muscle possessed the lowest accumulation of nearly all metals. The level of heavy metals showed the highest accumulation significantly in gill and liver of both fishes (p≤0.05), while the lowest accumulation was shown in muscle significantly (p≤0.05). From this study, high level of Zn and Cu in muscle did not exceed the legal limit but Cd and Pb exceeded the legal limit set by Ministry of Public Health of Thailand and European Commission Regulation.

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การสะสมทางชีวภาพของ แคดเมียม ทองแดง ตะกั่ว และสังกะสี ที่สะสมอยู่ในเหงือก อวัยวะสืบพันธุ์ ลำไส้ ตับ และเนื้อของปลาทู (Short-bodied mackerel, Rastrelliger brachysoma) และปลากุเรา (Fourfinger threadfin, Eleutheronema tetradactylum ) ที่เก็บรวบรวมจากบริเวณอ่าวแม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม ผลจากการวิเคราะห์ปริมาณของโลหะหนักที่สะสม พบว่าสังกะสีมีปริมาณการสะสมมากที่สุดในทุกอวัยวะของปลา โดยมีการสะสมสูงสุดในเหงือกของปลาทู (144.786±13.705 มก./กก.)และในตับของปลากุเรา (85.157±36.610 มก./กก.)  แคดเมียมและทองแดงมีการสะสมในตับมากที่สุด  นอกจากนี้โลหะทั้ง  4 ชนิด ส่วนใหญ่ยังมีการสะสมในเหงือกในปริมาณค่อนข้างมากเช่นกัน  ส่วนเนื้อพบการสะสมของโลหะทั้ง  4 ชนิดน้อยที่สุด  และเมื่อเทียบค่าสถิติปริมาณการสะสมของโลหะหนักกับอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของปลาสองชนิดที่ทำการศึกษา พบว่าตับและเหงือกมีปริมาณการสะสมของโลหะหนักทั้ง 4 ชนิดสูงสุดอย่างมีนัยสำคัญ (p≤0.05) ส่วนเนื้อมีปริมาณการสะสมของโลหะหนักทั้ง 4 ชนิดต่ำสุดอย่างมีนัยสำคัญ (p≤0.05) ปริมาณสังกะสีและทองแดงที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ในเนื้อปลาที่นำมาบริโภค ต่ำกว่ามาตรฐาน แต่ปริมาณการสะสมของแคดเมียมและตะกั่วในเนื้อปลา สูงเกินกว่ามาตรฐานกำหนดของกระทรวงสาธารณสุขไทยและของสหภาพยุโรป

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2529). มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน: ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 (พ.ศ. 2529). กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข

กองมาตรฐานสิ่งแวดล้อม. (2530). ปรอท: สำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน.กรุงเทพฯ: กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน

ชัยพฤกษ์ วงศ์สุวรรณ. (2553). คุณภาพสิ่งแวดล้อม และแนวโน้มผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อพื้นที่ชายฝั่งทะเลบริเวณปากแม่น้ำแม่กลอง. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 18(4), 38-49.

ธีรนาถ สุวรรณเรือง. (2563). โลหะหนักปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม และผลกระทบต่อสุขภาพ. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 13(1), 1-7.

วิกันดา ชัยบุตร. (2541). การศึกษาปริมาณโลหะหนักในน้ำ ดินตะกอนและเนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ของปลาบางชนิดในแม่น้ำแม่กลอง. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

สมชาย วิบุญพันธ์, ณรงค์ศักดิ์ คงชัย, วิวิธนนท์ บุญยัง และ ทรงฤทธิ์ โชติธรรมโม. (2549). การปนเปื้อนของสารโลหะหนักในสัตว์ทะเลบางชนิดบริเวณชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: กรมประมง

สาโรจน์ เริ่มดำริห์, สาวิตรี แกเรียส, และ เกริก วงศ์สอนธรรม. (2552). การปนเปื้อนของโลหะหนักในน้ำ และตะกอนดินบริเวณชายฝั่งทะเลของอ่าวไทยตอนบน. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 47 สาขาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (น. 221-228). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

สำนักอุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรสงคราม. (2552). สถิติโรงงานอุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรสงคราม. สมุทรสงคราม: สํานักอุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรสงคราม

AOAC. (2000). Official methods of analysis of AOAC (17th ed.). Gaithersburg: AOAC International

Chojnacka, K., & Mikulewicz, M. (2014). Bioaccumulation. Encyclopedia of Toxicology 14(3), 456-460. doi: 10.1016/B978-0-12-386454-3.01039-3

El-Moselhy, K. M., Othman, A. I., Abd El-Azem, H., & El-Metwally, M. E. A. (2019). Bioaccumulation of heavy metals in some tissues of fish in the Red Sea, Egypt. Egyptian Journal of Basic and Applied Sciences, 1(2), 97-105. doi: 10.1016/j.ejbas.2014.06.001

Garai, P., Banerjee, P., Mondal, P., & Saha, N.C. (2021). Effect of heavy metals on fishes: Toxicity and bioaccumulation. Journal of Clinical Toxicology, 11(S18). 1-10.

Official Journal of the European Union (EU). (2006). Commission Regulation (EC) No 881/2006 of 19 December 2006, setting maximum levels for certain contaminants in foodstuffs. Retrieved September 14, 2022, from http://data.europa.eu/eli/reg/2006/1881/oj

Olayinka-Olagunju, J.O., Dosumu, A.A., & Olatunji-Ojo, A.M. (2021). Bioaccumulation of heavy metals in pelagic and benthic fishes of Ogbese River, Ondo State, South-Western Nigeria. Water, Air & Soil Pollution, 232. doi: 10.1007/s11270-021-04987-7

Rajeshkumar, S., & Li, X. (2018). Bioaccumulation of heavy metals in fish species from the Meiliang Bay, Taihu Lake, China. Toxicology Report, 18(5), 288-295. doi: 10.1016/j.toxrep.2018.01.007

Rashed, M.N. (2001). Monitoring of environmental heavy metals in fish from Nasser Lake. Environment International, 27(1), 27-33. U.S.

U.S. Environmental Protection Agency (USEPA) (1995). Zinc oxide; Toxic Chemical Re-lease Reporting, Community Right-ToKnow, Federal Register, 60, 47334-47337. doi: 10.1016/S0160-4120(01)00050-2

Vinodhini, R., & Narayanan, M. (2008). Bioaccumulation of heavy metals in organs of freshwater fish Cyprinus carpio (Common carp). International Journal of Environmental Science and Technology, 5, 179-182. doi: 10.1007/BF03326011

Windom, L., & Cranmer, G. (1998). Lack of observed impacts of gas production of bongkot field, Thailand on marine biota. Marine Pollution Bulletin, 36(10), 799-807. doi: 10.1016/S0025-326X(98)00060-5

Younis, A. M., Amin, H.F., Alkaladi, A., & Mosleh, Y.Y.I. (2015). Bioaccumulation of Heavy Metals in Fish, Squids and Crustaceans from the Red Sea, Jeddah Coast, Saudi Arabia. Open Journal of Marine Science, 5, 369-378. doi: 10.4236/ojms.2015.54030

Downloads

Published

2024-04-26

Issue

Section

สาขาวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์สุขภาพและกีฬา (Science and Health Science & Sport)