Journal of Science and Technology Kasetsart University https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JSTKU <p> <strong>วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์</strong> (Journal of Science and Technology Kasetsart University;JSTKU)</p> <p> เป็นวารสารทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกําแพงแสน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นแหล่งเผยแพร่ผลงานวิจัยและบทความทางวิชาการของอาจารย์ นักวิจัย นิสิตและนักวิชาการตามเกณฑ์วารสารระดับชาติ ดําเนินการตีพิมพ์ผลงานวิชาการ ในสาขาพืชศาสตร์ (Plant Sciences Articles) สาขาเทคโนโลยีและการจัดการ (Technology and Management) สาขาสัตวศาสตร์ (Animal Science Articles) สาขาวิศวกรรมศาสตร์ (Engineering Articles) สาขาสัตวแพทยศาสตร์ (Veterinary Medicine Articles) สาขาวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์สุขภาพและกีฬา (Science and Health Science &amp; Sport) ทั้งนี้ วารสารจะเผยแพร่ในลักษณะของ Electronic Journal (เปิดรับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)</p> <p> <strong>กําหนดออกปีละ 3 ฉบับ</strong> <br /> <strong> ฉบับที่ 1</strong> มกราคม - เมษายน<br /> <strong>ฉบับที่ 2</strong> พฤษภาคม - สิงหาคม<br /> <strong>ฉบับที่ 3</strong> กันยายน - ธันวาคม</p> <p> เรื่องที่จะส่งมาลงพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จะต้องเป็น บทความทางวิชาการ หรืองานวิจัย (Technical papers) เป็นการเสนอผลการวิจัยที่ผู้เขียนได้จัดทําเอง</p> <p> • รูปแบบการพิจาจารณา Double blinded (3 peer review)</p> <p> • ไม่ได้มีการเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ใดๆ ในทุกขั้นตอน</p> <p> </p> <p> <strong>Journal of Science and Technology, Kasetsart University </strong>is the academic journal of Kasetsart University, Kamphaeng Saen Campus. The objective is to be a source of information to disseminate the research and academic article of professors, researchers and academicians by the criterion of National Journal. The academic works are published in the field of Plant Sciences, Technology and Managemen, Animal Science Articles, Engineering ,Veterinary Medicine , Science and Health Science &amp; Sport. However, the journal will be published in the form of Electronic Journal (<span class="Y2IQFc" lang="en" style="color: #252525;">the journal is open to receive as a Thai and English version)</span>. </p> <p> <strong> Published three times per year. <br /> No. 1</strong> January - April<br /> <strong>No. 2</strong> May - August<br /> <strong> No. 3</strong> September - December</p> <p> The academic article that will be sent to publish in The Journal of Science and Technology, Kasetsart University must be an academic article or Technical paper that it is presented by the authors.</p> <p> • Peer-review : Double Blind (3 peer review)</p> <p> • Free Processing Charges</p> <p> </p> <p>ISSN 3027-6179<span style="font-size: 0.875rem;"> </span><span style="font-size: 0.875rem;">(Print)</span></p> <p>ISSN 3027-6209 <span style="font-size: 0.875rem;">(Online)</span></p> <div> <p> </p> </div> มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน en-US Journal of Science and Technology Kasetsart University 3027-6179 สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพในเห็ดและประโยชน์จากการใช้แสงเทียมสำหรับการเพาะเลี้ยง https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JSTKU/article/view/2880 <p>Mushrooms are living organisms that produce a variety of bioactive compounds such as polysaccharides, proteins, phenolics and terpenes, which have biological effects, for example, enhancing immunity, reducing blood sugar, inhibiting cholesterol synthesis, and inhibiting cancer cell growth through cell apoptosis, cell cycle arrest, suppression of cell migration, and more. Due to these properties, mushrooms are considered to be a superfood for health, and their bioactive substances are often used as ingredients in food and cosmetic products. Therefore, in recent years, numerous studies have been conducted to stimulate growth and the production of bioactive substances in mushrooms, intended for supply to industries. This review aims to explore the bioactive effects found in mushrooms, as well as the appropriate wave length of artificial light to stimulate growth and the production of bioactive substances in mushrooms.</p> <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>เห็ดเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความสามารถในการสร้างสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพได้หลายชนิด เช่น พอลิแซคคาไรด์ โปรตีน ฟีนอลิก และ เทอร์พีน ซึ่งมีฤทธิ์ทางชีวภาพในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน คุณสมบัติในการต่อต้านอนุมูลอิสระลดน้ำตาลในเลือด ยับยั้งการสังเคราะห์คอลเลสเตอรอล และคุณสมบัติในการยับยั้งเซลล์มะเร็งโดยกระตุ้นให้เกิดกระบวนการตายของเซลล์ ยับยั้งวัฏจักรเซลล์ ยับยั้งการแพร่กระจายของเซลล์ เป็นต้น จากคุณสมบัติดังกล่าว ทำให้เห็ดถูกนำมาใช้สำหรับการบริโภคเพื่อบำรุงสุขภาพ นอกจากนี้สารพฤกษเคมีจากเห็ดยังเป็นสารที่มีมูลค่าสูงและถูกนำมาใช้ในเชิงอุตสาหกรรม ในปัจจุบันมีการศึกษาวิจัยเพื่อหาวิธีการกระตุ้นให้เห็ดมีการเจริญเติบโตและสร้างสารออกฤทธิ์ที่สำคัญทางชีวภาพให้สูงขึ้น ดังนั้นการรวบรวมเอกสารครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะศึกษาสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่สามารถพบได้ในเห็ด รวมถึงตัวอย่างการนำแสงเทียมที่ความยาวคลื่นเหมาะสมมาใช้ในการกระตุ้นการเจริญเติบโตและผลิตสารพฤกษเคมีสำคัญในเห็ด</p> วีรวิชญ์ ภัทรยิ่งสกุล Copyright (c) 2024 Journal of Science and Technology Kasetsart University 2024-04-26 2024-04-26 13 1 1 16 การเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการโลจิสติกส์ของธุรกิจแก๊สอุตสาหกรรม: กรณีศึกษา บริษัท แก๊สอุตสาหกรรม แห่งหนึ่ง https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JSTKU/article/view/2881 <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; The main objective of this research is to study an enhance of the efficiency of transportation using theories related to the Capacitated Vehicle Routing Problem (CVRP) by conducting experiments that involve changing the truck types and adjusting the delivery time window. The Clarke &amp; Wright's Savings Algorithm was employed to find the most suitable and efficient routes, and the results of the experiments were analyzed and compared with the current operational processes.</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; The research findings indicate that increasing the sizes of the trucks, which lead to reduced transportation costs per delivered quantity over shorter distances can result in cost savings of up to 20%. This is achieved under the condition that all customers permit the use of larger trucks for safe delivery.</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; Furthermore, expanding the delivery time window is a factor that contributes to increased transportation efficiency. By extending the delivery time to 3, 5, and 7 days, it is possible to achieve overall cost savings of up to 30%, 41%, and 46% respectively. These savings are achieved under the condition that the product level on the delivery date must not fall below the level that can be maintained in the gas supply system at the customers’ location.</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; The main practice of this research is to maintain the product level on the day of refueling at a minimum of 30% of the maximum tank capacity. This is achieved by adjusting the delivery time to achieve greater long-term cost savings and improve transportation efficiency in the short term. Therefore, this research enhances the management of vehicle routing and delivery planning, allowing for potential improvements to the current operational processes.</p> <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์หลักเพื่อศึกษาและเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งโดยใช้ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเส้นทางเดินรถบรรทุกแบบระบุน้ำหนัก (Capacitated Vehicle Routing Problem, CVRP) โดยการทดลองเปลี่ยนประเภทของรถบรรทุกและปรับช่วงเวลาในการส่งมอบสินค้า เพื่อหาเส้นทางที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยมีการนำแนวคิดแบบประหยัดของ Clarke-Wright (Clarke &amp; Wright's Savings Algorithm) มาใช้ร่วมกับการวิเคราะห์และเปรียบเทียบผลการทดลองกับกระบวนการที่ใช้ปัจจุบัน</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยพบว่าการเปลี่ยนชนิดของรถบรรทุกให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งมีค่าใช้จ่ายต่อปริมาณสินค้าที่ส่งต่อระยะทางขนส่งที่น้อยลงสามารถลดค่าใช้จ่ายในการส่งสินค้าได้ถึง 20% ภายใต้เงื่อนไขที่ลูกค้าทุกรายอนุญาตให้รถบรรทุกขนาดใหญ่เข้าส่งสินค้าได้อย่างปลอดภัย</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; นอกจากนี้การขยายช่วงเวลาในการส่งสินค้า (Time Window) เป็นปัจจัยที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่งสินค้า เนื่องจากสามารถมีเวลาในการรับคำสั่งซื้อจากลูกค้ามากขึ้น และใช้หลักการจัดเส้นทางเดินรถโดยใช้แนวคิดแบบประหยัดของ Clarke-Wright โดยการขยายระยะเวลาการส่งสินค้าให้เป็น 3 วัน, 5 วัน, และ 7 วัน สามารถประหยัดค่าขนส่งโดยรวมได้ถึง 30%, 41%, และ 46% ตามลำดับ ภายใต้เงื่อนไขที่ระดับสินค้าในวันส่งมอบต้องไม่ต่ำกว่าระดับสินค้าที่สามารถรักษาได้ในระบบจ่ายแก๊สที่ลูกค้า</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; หลักการปฏิบัติของงานวิจัยนี้คือรักษาระดับสินค้าในวันที่ไปเติมสินค้าให้ไม่ต่ำกว่า 30% ของความจุสูงสุดของถัง โดยการปรับเวลาการส่งสินค้าเพื่อให้สามารถประหยัดค่าขนส่งโดยรวมได้มากขึ้นในระยะยาว และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าได้ในระยะสั้นๆ ดังนั้นผลงานวิจัยนี้ช่วยให้การจัดการเส้นทางเดินรถบรรทุกและการวางแผนการส่งสินค้ามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยสามารถปรับปรุงกระบวนการที่ใช้อยู่ในปัจจุบันให้ดียิ่งขึ้น</p> ธนากร รอดเจริญ บุญเลิศ วงศ์เจริญแสงสิริ Copyright (c) 2024 Journal of Science and Technology Kasetsart University 2024-04-26 2024-04-26 13 1 17 31 การประยุกต์กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์สำหรับคัดเลือกผู้รับเหมาก่อสร้าง สถานีบริการน้ำมัน: บริษัทกรณีศึกษา https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JSTKU/article/view/2882 <p>The objective of this research is to study prioritization the factors that affect the decision-making process in selecting contractors for the construction of a petrol station, and to select suitable contractors for the construction of a petrol station. The case study company studied the factors that affect the selection of contractors for the construction of a petrol station and examined the factors from the evaluation of the Index of Item Objective Congruence (IOC), which was evaluated by 5 experts. The evaluation results must have a value greater than 0.5. Then the technique of pairwise comparison of factors was used with an analytical hierarchy process to determine the weight of the importance of the 4 primary factors and 16 secondary-factors. Three experts evaluated the importance of the 4 primary factors: a problem solving and cooperation factor at 53.0% a work quality factor at 23.0%, an ethical factor at 15.0%, and a human resource factor at 9.0%. Additionality of the top 3 important secondary factors were a clear management structure at 20.00% a good coordination at 19.00%, and a problem solving at 12.00%. After that, suitable contractors for the construction of a petrol station were selected from 3 companies that were the options in the decision-making process, and it was found that Company C was the most suitable company with a score of 47.00%.</p> <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและจัดลำดับความสำคัญของปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการคัดเลือกผู้รับเหมาเพื่อก่อสร้างสถานีบริการน้ำมัน พร้อมคัดเลือกผู้รับเหมาที่เหมาะสมในการก่อสร้างสถานีบริการน้ำมัน บริษัทกรณีศึกษา โดยศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการคัดเลือกผู้รับเหมาก่อสร้างสถานีบริการน้ำมัน พร้อมตรวจสอบปัจจัย จากการประเมินหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ซึ่งให้ผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่านประเมินข้อมูล โดยผลการประเมินต้องมีค่ามากกว่า 0.5 ขึ้นไป จากนั้นใช้เทคนิคการเปรียบเทียบปัจจัยเป็นคู่ด้วยกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ เพื่อหาน้ำหนักความสำคัญของปัจจัยหลักทั้ง 4 ปัจจัย และปัจจัยรอง 16 ปัจจัย โดยให้ผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่านทำการประเมิน ซึ่งได้ค่าความสำคัญของปัจจัยหลักทั้ง 4 ปัจจัย ดังนี้ ปัจจัยด้านการแก้ไขปัญหาและความร่วมมือ ร้อยละ 53.0 ปัจจัยด้านคุณภาพการทำงาน ร้อยละ 23.0 ปัจจัยด้านจริยธรรม ร้อยละ 15.0 และปัจจัยด้านทรัพยากรบุคคล ร้อยละ 9.0 &nbsp;และความสำคัญของปัจจัยรอง ทั้ง 16 ปัจจัย พบว่า ปัจจัยรองที่สำคัญเรียงลำดับ 3 ลำดับแรก คือ มีโครงสร้างบริหารที่ชัดเจน ร้อยละ 20.00, การประสานงานที่ดีร้อยละ 19.00 และ การแก้ไขปัญหา ร้อยละ 12.00 พร้อมกับคัดเลือกผู้รับเหมาที่เหมาะสมสำหรับก่อสร้างสถานีบริการน้ำมันที่ จากผู้รับเหมาที่เป็นทางเลือกในการตัดสินใจ 3 บริษัท พบว่าบริษัทที่มีความเหมาะสมมากที่สุด คือ บริษัท C ร้อยละ 47.00</p> ชนิสา ชั้นประเสริฐ มณธิดา สิทธิสาร กิตติชัย อธิกุลรัตน์ Copyright (c) 2024 Journal of Science and Technology Kasetsart University 2024-04-26 2024-04-26 13 1 32 47 ความสม่ำเสมอขององค์ประกอบทางเคมีของเถ้าชานอ้อยและการประยุกต์ใช้ในงานบล็อกประสาน https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JSTKU/article/view/2883 <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; The objective of this research was to study the consistency of chemical composition of bagasse ash from a sugar factory in Tha Maka District, Kanchanaburi. Bagasse ash samples were collected from 3 production years. The results showed that the main composition of bagasse ash, SiO<sub>2</sub>, was between 67.00% and 73.20%, and the average was 71.54% with a standard deviation of 2.91. <br>A coefficient of variation was 4.06%. The essential composition of pozzolanic compounds (SiO<sub>2</sub>+Fe<sub>2</sub>O<sub>3</sub>+Al<sub>2</sub>O<sub>3</sub>) was found, between 80.94% and 85.13% with an average value of 84.70% with a standard deviation of 3.91 and a coefficient of variation was 4.61%, which was considered as a little variance. Therefore, the bagasse ash produced from the same factory with the same production model will be consistent even with changing a production cycle. When three samples of bagasse ash were selected from different production cycles and when they were used as cement replacement in the production of interlocking blocks, the ratio of cement to soil was 1:7 when the bagasse ash was replaced for the cement, in the proportion of 20 percent by weight, it was found that the interlocking blocks had similar strength at 7 and 28 days of age.</p> <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อศึกษาความสม่ำเสมอขององค์ประกอบทางเคมีของเถ้าชานอ้อย จากโรงงานน้ำตาลแห่งหนึ่งในอำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี โดยทำการเก็บตัวอย่างเถ้าชานอ้อยสามรอบปีการผลิต ผลการศึกษาพบว่าองค์ประกอบหลักของเถ้าชานอ้อย คือ SiO<sub>2</sub> มีปริมาณอยู่ระหว่างร้อยละ 67.00 ถึง 73.20 และมีค่าเฉลี่ย 71.54 มีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.91 และ ค่าสัมประสิทธิ์ความแปรผันร้อยละ 4.06 เมื่อพิจารณาถึงองค์ประกอบที่จำเป็นของสารปอซโซลาน (SiO<sub>2</sub>+Fe<sub>2</sub>O<sub>3</sub>+Al<sub>2</sub>O<sub>3</sub>) พบว่ามีปริมาณอยู่ระหว่างร้อยละ 80.94 ถึง 85.13 และมีค่าเฉลี่ย 84.70 มีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3.91 และ ค่าสัมประสิทธิ์ความแปรผันร้อยละ 4.61 ซึ่งนับว่ามีความแปรปรวนน้อยมาก ดังนั้นเถ้าชานอ้อยที่ผลิตจากโรงงานเดียวกัน มีรูปแบบการผลิตแบบเดียวกัน จะมีความสม่ำเสมอแม้เปลี่ยนรอบการผลิต เมื่อนำเถ้าชานอ้อยสามตัวอย่างจากรอบของการผลิตต่างกันไปใช้ในแทนที่ปูนซีเมนต์การผลิตบล็อกประสาน ในอัตราส่วนซีเมนต์ต่อดินลูกรัง เท่ากับ 1:7 เมื่อแทนที่ปูนซีเมนต์ด้วยเถ้าชานอ้อยในสัดส่วนร้อยละ 20 โดยน้ำหนัก ก็พบว่าบล็อกประสานมีค่าความแข็งแรงที่อายุ 7 วันและ 28 วันใกล้เคียงกัน</p> นิธิรัชต์ สงวนเดือน กมล อมรฟ้า ปุณยวีร์ เดชครอง Copyright (c) 2024 Journal of Science and Technology Kasetsart University 2024-04-26 2024-04-26 13 1 48 60 การสะสมทางชีวภาพของโลหะหนักบางชนิดในปลาทู (Rastrelliger brachysoma) และปลากุเรา (Eleutheronema tetradactylum) จากบริเวณอ่าวแม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JSTKU/article/view/2884 <p>This study was aimed to analyze the bioaccumulation of heavy metal contamination (Cd, Cu, Pb, Zn) in gill, gonad, intestine, liver and muscle of short-bodied mackerel (<em>Rastrelliger brachysoma</em>) and fourfinger threadfin (<em>Eleutheronema tetradactylum</em>) which were collected from Mae Klong Bay, Samut Songkhram Province. Zn showed the highest accumulation in all organs of both fishes, with average concentration of 144.786±13.705 mg/kg in short-bodied mackerel’s gill and 85.157±36.610 mg/kg in fourfinger threadfin’s liver. Cd and Cu, exhibited the highest accumulation in liver; however all metals possessed at high accumulation in gill. Muscle possessed the lowest accumulation of nearly all metals. The level of heavy metals showed the highest accumulation significantly in gill and liver of both fishes (p≤0.05), while the lowest accumulation was shown in muscle significantly (p≤0.05). From this study, high level of Zn and Cu in muscle did not exceed the legal limit but Cd and Pb exceeded the legal limit set by Ministry of Public Health of Thailand and European Commission Regulation.</p> <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การสะสมทางชีวภาพของ แคดเมียม ทองแดง ตะกั่ว และสังกะสี ที่สะสมอยู่ในเหงือก อวัยวะสืบพันธุ์ ลำไส้ ตับ และเนื้อของปลาทู (Short-bodied mackerel, <em>Rastrelliger brachysoma</em>) และปลากุเรา (Fourfinger threadfin, <em>Eleutheronema tetradactylum</em> ) ที่เก็บรวบรวมจากบริเวณอ่าวแม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม ผลจากการวิเคราะห์ปริมาณของโลหะหนักที่สะสม พบว่าสังกะสีมีปริมาณการสะสมมากที่สุดในทุกอวัยวะของปลา โดยมีการสะสมสูงสุดในเหงือกของปลาทู (144.786±13.705 มก./กก.)และในตับของปลากุเรา (85.157±36.610 มก./กก.) &nbsp;แคดเมียมและทองแดงมีการสะสมในตับมากที่สุด<strong> &nbsp;</strong>นอกจากนี้โลหะทั้ง &nbsp;4 ชนิด ส่วนใหญ่ยังมีการสะสมในเหงือกในปริมาณค่อนข้างมากเช่นกัน<strong> &nbsp;</strong>ส่วนเนื้อพบการสะสมของโลหะทั้ง &nbsp;4 ชนิดน้อยที่สุด&nbsp; และเมื่อเทียบค่าสถิติปริมาณการสะสมของโลหะหนักกับอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของปลาสองชนิดที่ทำการศึกษา พบว่าตับและเหงือกมีปริมาณการสะสมของโลหะหนักทั้ง 4 ชนิดสูงสุดอย่างมีนัยสำคัญ (p≤0.05) ส่วนเนื้อมีปริมาณการสะสมของโลหะหนักทั้ง 4 ชนิดต่ำสุดอย่างมีนัยสำคัญ (p≤0.05) ปริมาณสังกะสีและทองแดงที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ในเนื้อปลาที่นำมาบริโภค ต่ำกว่ามาตรฐาน แต่ปริมาณการสะสมของแคดเมียมและตะกั่วในเนื้อปลา สูงเกินกว่ามาตรฐานกำหนดของกระทรวงสาธารณสุขไทยและของสหภาพยุโรป</p> วิภูษณะ นัญยวิกุล ศิรประภา เปรมเจริญ พิเชษฐ อนุรักษ์อุดม Copyright (c) 2024 Journal of Science and Technology Kasetsart University 2024-04-26 2024-04-26 13 1 61 70 ผลของการเสริมโปรตีนไก่ไฮโดรไลเซทร่วมกับการออกกำลังกายแบบผสมผสาน ต่อองค์ประกอบร่างกายและระดับไขมันในเลือดในผู้ที่มีน้ำหนักเกินและโรคอ้วน https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JSTKU/article/view/2885 <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; The purpose of this study was to investigate the effects of combined chicken protein hydrolysate supplementation and concurrent exercise training on body composition and lipid profile in overweight and obese adults. Thirty-four overweight or obese individuals (age: 47.62 ± 6.88 years old; body mass index (BMI): 28.45 ± 3.80 kg/m2) were assigned to three groups: a placebo control (CON, n=12), a chicken protein hydrolysate ingestion (20g in the form of crackers) (PRO, n=10), and combined concurrent training and chicken protein cracker ingestion (CBT-PRO, n=12). The CBT-PRO group performed combined exercise (body weight exercise; 2 sets, 12-15 reps/set and aerobic exercise; 65-75% HRR) 60 min/day, 3 days/week for 8 weeks. Body composition and lipid profile were measured before and after the intervention. The data were analyzed using mean, standard deviation, comparing differences within-group and between groups (p&lt;0.05).</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; The results show all groups had no significant difference in body composition and lipid profile compared with baseline and between groups. Therefore, future studies should determine or regulate daily protein intake to ensure participants that they receive the appropriate amount of protein, including increasing the intensity of resistance exercise and increasing the duration of aerobic exercise.</p> <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเสริมโปรตีนไก่ไฮโดรไลเซทร่วมกับการออกกำลังกายแบบผสมผสานต่อองค์ประกอบร่างกายและระดับไขมันในเลือดในผู้ที่มีน้ำหนักเกินและโรคอ้วนจำนวน 34 คน อายุ 47.62 ± 6.88 ปี ดัชนีมวลกาย 28.45 ± 3.80 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ถูกแบ่งกลุ่มเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุม จำนวน 12 คน กลุ่มเสริมโปรตีน (ได้รับแครกเกอร์ที่ผสมโปรตีนไก่ไฮโดรไลเซท 20 กรัม) จำนวน 10 คน และกลุ่มเสริมโปรตีนร่วมกับการออกกำลังกาย (ได้รับแครกเกอร์ที่ผสมโปรตีนไก่ไฮโดรไลเซท 20 กรัม ร่วมกับออกกำลังกายแบบผสมผสาน) จำนวน 12 คน โดยกลุ่มเสริมโปรตีนร่วมกับการออกกำลังกาย ออกกำลังกายแบบผสมผสาน (ออกกำลังกายแบบบอดี้เวทท่าละ 2 เซต เซตละ 12-15 ครั้ง และออกกำลังกายแบบ&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; แอโรบิกที่ความหนักร้อยละ 65-75 ของ HRR) วันละ 60 นาที 3 วันต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ทำการวิเคราะห์องค์ประกอบร่างกายและเก็บตัวอย่างระดับไขมันในเลือดก่อนและหลังการทดลอง แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่ม โดยกำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; &nbsp; ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 กลุ่ม ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติขององค์ประกอบร่างกายและระดับไขมันในเลือดทั้งภายในกลุ่ม และระหว่างกลุ่ม ดังนั้น การศึกษาในอนาคตควรมีการกำหนดหรือควบคุมการบริโภคโปรตีนในแต่ละวันเพื่อให้อาสาสมัครฯได้รับโปรตีนในปริมาณที่เหมาะสม รวมถึงควรเพิ่มระดับความหนักของการออกกำลังกายแบบมีแรงต้านและเพิ่มระยะเวลาในการออกกำลังกายแบบแอโรบิก</p> ศรัณย์รัตน์ หิรัญรัตนธรรม จตุพร เพิ่มทรัพย์ทวี ราตรี เรืองไทย ปิยาภรณ์ ตุ้มนาค Copyright (c) 2024 Journal of Science and Technology Kasetsart University 2024-04-26 2024-04-26 13 1 71 83