การจัดลำดับความสำคัญของพื้นที่ที่มีศักยภาพด้านโลจิสติกส์การท่องเที่ยวกรณีศึกษา: กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย

Main Article Content

Jessada Pochan
Boonsub Panichakarn
Klairung Ponanan
Supavanee Thimthong
Ponnapa Musikapun

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอวิธีการจัดลำดับความสำคัญของพื้นที่ที่มีศักยภาพด้านโลจิสติกส์การท่องเที่ยว ตามหลักทางด้านโลจิสติกส์และการท่องเที่ยว โดยประยุกต์ใช้วิธีการวิเคราะห์แบบหลายหลักเกณฑ์ กระบวนการวิเคราะห์ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องจำนวน 12 คน จาก 3 กลุ่ม คือ
กลุ่มภาครัฐ กลุ่มภาคเอกชน และกลุ่มภาคการศึกษา (นักวิชาการ) เพื่อทำการคัดเลือกและประเมินค่าปัจจัยภายใต้โครงสร้างการวิเคราะห์จัดลำดับความสำคัญ นอกจากนี้ยังได้ประยุกต์ใช้เทคนิควิธีการเปรียบเทียบเชิงคู่ และกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์เพื่อประเมินหาค่าถ่วงน้ำหนักของปัจจัยที่เหมาะสม


การวิจัยนี้ได้ประยุกต์วิธีดังกล่าวกับกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย เพื่อจัดลำดับความสำคัญของพื้นที่ที่มีศักยภาพด้านโลจิสติกส์การท่องเที่ยว จำนวน 9 จังหวัด โดยปัจจัยที่ใช้ในกระบวนการวิเคราะห์ คือ จำนวนนักท่องเที่ยว จำนวนแหล่งท่องเที่ยว โครงสร้างพื้นฐานการขนส่ง สิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการท่องเที่ยว และความสามารถในการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งเป็นข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพที่ได้จากการรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิและการสำรวจในภาคสนาม โดยผลการวิจัย พบว่า จังหวัดพิษณุโลก
มีศักยภาพด้านโลจิสติกส์การท่องเที่ยวมากที่สุด (77.00 คะแนน) รองลงมา คือ จังหวัดเพชรบูรณ์ และ จังหวัดตาก (72.00 คะแนน) นอกจากนี้ผลการจัดลำดับความสำคัญนี้ยังสามารถใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจของภาครัฐและภาคเอกชนในการวางแผนการดำเนินการด้านการท่องเที่ยวต่าง ๆ ตลอดจนสามารถใช้ในการคัดเลือกพื้นที่นำร่องเพื่อพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวใหม่ ๆ ในพื้นที่ อาทิเช่น การท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพ และ การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ เป็นต้น

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กระทรวงการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2564). ข้อมูลบริการด้านการท่องเที่ยว. สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2564. จาก http://www.mots.go.th

กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1. (2566). ยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1. สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2564. จาก http://www.osmnorth-s1.moi.go.th/genaral-osm

กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 2. (2566). ยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 2. สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2564. จาก http://123.242.166.4/webosm/index.php?module=visionosm

ศุภลักษณ์ ใจสูง, และ อดิศักดิ์ ธีรานุพัฒนา (2555). การคัดเลือกผู้ให้บริการโลจิสติกส์ ของบริษัท ฮานา

ไมโครอิเล็คโทรนิคส์ จำกัด (มหาชน) โดยใช้กระบวนการตัดสินใจแบบวิเคราะห์ลำดับชั้น (AHP). วารสารบริหารธุรกิจ, 35 (134), 65-89.

ไพรัช พิบูลรุ่งโรจน์, และกรวรรณ สังขกร. (2556). การเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานการท่องเที่ยวใน ภาคเหนือตอนบน เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อรรฆพร ก๊กค้างพลู และ กนกกานต์ แก้วนุช. (2560). แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานแหล่งท่องเที่ยวชุมชนขนอมจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 11, 139-157.

Benyoucef, L., Ding, H., & Xie, X. (2003). Supplier selection problem: selection criteria and methods. Unite de recherche INRIA Lorraine, Nancy Cedex.

Dickman, S. (1996). Tourism: An Introductory Text. Sydney: Hodder Education.

Drake, P.R. (1998). Using the analytic hierarchy process in engineering education. Int. J. Engng Ed, 14, 191-196.

Edirisinghe, Lalith & Silva, Suranga. (2021). The Future of Travel Business: A Conceptual Approach through Tourism Logistics Perspectives. SSRN Electronic Journal. 10.2139/ssrn.3992920.

Ghodsypour, S.H., & O’Brien, C. (1998). A decision support system for supplier selection using an integrated analytic hierarchy process and linear programming. International Journal of Production Economics, 56-57, 199-212.

Goodman, L.A. (1961). Snowball Sampling. Annals of Mathematical Statistics, 32(1), 148-170.

Ho, W., Bennett, D.J., Mak, K.L., Chuah, K.B., Lee, C.K.M., & Hall, M.J. (2009). Strategic Logistics Outsourcing: An Integrated QFD and AHP Approach. Industrial Engineering and Engineering Management, 1434-1438

Jackson, E.L. (1986). Outdoor recreation participation and attitudes to the environment. Leisure Studies, 5, 1-23.

Pohekar, S.D., & Ramachandran, M. (2004). Application of multi-criteria decision making to sustainable energy planning-A review. Renewable and Sustainable Energy Reviews, 8, 365-381.

Thurstone, L. L. (1927). A law of comparative judgment. Psychological Review, 34, 273-286.

Saaty, T.L. (1980). The analytic hierarchy process. McGrar-Hill.

Saaty, T.L. (1994). How to make a decision: The analytic hierarchy process. Interfaces, 24, 18-43.

Saaty, T.L. (2008a). Decision making with the analytic hierarchy process. International Journal of Services Sciences, 1, 83-98.

Saaty, T.L. (2008b). Relative measurement and its generalization in decision making why pairwise comparisons are central in mathematics for the measurement of intangible factors. Statistics and Operations Research, 102, 251-318.

Vargas, L.G. (1990). An overview of the analytic hierarchy process and its application. European Journal of Operational Research, 48(1), 57-64.