การศึกษาปริมาณจราจรบริเวณทางเข้า-ออกมหาวิทยาลัยนเรศวรเพื่อแก้ไขปัญหาจราจรช่วงเวลาเร่งด่วน
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปัญหาจราจรติดขัดบริเวณประตูเข้า-ออกมหาวิทยาลัยนเรศวร ในช่วงเวลาเร่งด่วนเป็นปัญหาที่มีมาอย่างต่อเนื่องและยังต้องการแนวทางแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อให้ครอบคลุมบริเวณที่เกิดการจราจรติดขัด การศึกษาในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาปริมาณยานพาหนะที่เข้า-ออกมหาวิทยาลัยนเรศวรในช่วงเวลาเร่งด่วน วิเคราะห์ระดับการให้บริการ (Level of Service: LOS) ของถนนบริเวณทางเข้า-ออกของมหาวิทยาลัยนเรศวร และเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาจราจรบริเวณทางเข้า-ออกมหาวิทยาลัยนเรศวรบริเวณประตูที่มีปัญหาการจราจรติดขัดในช่วงเวลาเร่งด่วนโดยทำการสำรวจลักษณะทางกายภาพและปริมาณจราจรบริเวณทางเข้า-ออกมหาวิทยาลัยฯ ในช่วงเวลาเร่งด่วนเช้า (7:00–11:00 น.) โดยนำผลลัพธ์ที่ได้จากการสำรวจข้อมูลลักษณะทางกายภาพและปริมาณจราจรมาประกอบการวิเคราะห์ระดับการให้บริการของถนนบริเวณทางเข้า-ออกมหาวิทยาลัยนเรศวร ซึ่งระดับการให้บริการของถนนจะช่วยให้สามารถวิเคราะห์ และระบุบริเวณที่มีปัญหาการจราจรติดขัดได้ ผลการศึกษา พบว่า ประตูที่ปัญหาการจราจรติดขัดในช่วงเวลาเร่งด่วนเช้ามากที่สุด คือ ประตู 4 และประตู 5 ซึ่งมีระดับการให้บริการอยู่ที่ระดับ F ซึ่งเป็นระดับการให้บริการของถนนที่มีสภาพการจราจรติดขัด แสดงให้เห็นว่าจำเป็นต้องมีการแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดในช่วงเวลาเร่งด่วนเช้าของถนนในบริเวณประตู 4 และประตู 5 โดยได้เสนอการปรับเส้นทางการเดินรถไฟฟ้าสาธารณะของมหาวิทยาลัย โดยเพิ่มจุดรับ-ส่งบริเวณนอกมหาวิทยาลัยฯ ที่มีพื้นที่สำหรับจอดรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ของผู้สัญจรที่สามารถใช้บริการรถไฟฟ้าสาธารณะของมหาวิทยาลัยฯ ได้อย่างสะดวกสบายจะช่วยลดปัญหาการจราจรติดขัดในช่วงเวลาเร่งด่วนเช้าบริเวณบริเวณประตู 4 และประตู 5 ได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Bhavneet Singh and Dr. Tripta Goyal. (2015). Study of Traffic Volume and Level of Service of Panjab University, Chandigarh. Journal of Engineering Research and Applications, 5(7).
Kaleemsha Dudekula, R. Kiran, M. Sri Kalyan Reddy, Rohan R. Shet, & J. S. Vishwas. (2021). Determination of Level of Service and Traffic Flow Characteristics for a Selected Arterial Roads in Bangalore City - 2021
Mornornews. (2565). แผนที่คณะต่างๆ. ค้นเมื่อ 13 ธันวาคม 2567, https://www.facebook.com/photo.php?fbid=5079283058844449&id=782439825195482&set=a.785447801561351.
กันฑ์อเนก มกรพงศ์. (2564). ความแม่นยำของการประมาณสัดส่วนปริมาณการจราจรตามทิศทางของทางแยกจากข้อมูลโพรบ. วิทยานิพนธ์ วศ.ม., จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร. สืบค้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2567, จาก https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80808
ใกล้รุ่ง พรอนันต์ และคณะ. (2565). การประยุกต์ใช้การจำลองสถานการณ์จราจรสำหรับการวิเคราะห์การจัดการจราจรบริเวณสถานีรถไฟกรุงเทพ. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและวิศวกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, ปีที่ 4(ฉบับที่ 2).
จามจุรี ดีปินตา. (2565). การศึกษาสถานการณ์และอิทธิพลของการจราจรต่อระดับมลสารในบรรยากาศและระดับเสียงในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์เสนอบัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก, สืบค้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2567, จาก https://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/bitstream/123456789/5714/3/JamjureeDeepinta.pdf
ณกร อินทร์พยุง และคณะ. (2559). โครงการประเมินความสามารถในการเข้าถึงสถานีรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน เพื่อสนับสนุนการพัฒนาระบบรางในเขตเมือง (โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559
ณัฐพงศ์ โมราบุตร (2563). การลดปัญหาการจราจรติดขัดบนทางหลวงหมายเลข 3242 (ถนนเอกชัย). วิทยานิพนธ์ วศ.ม., มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ปทุมธานี, สืบค้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2567, จาก https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:190695
ธนกร ไชยารุ่งยศ. (2565). การประเมินประสิทธิภาพของจุดกลับรถบริเวณเกาะกลาง กรณีศึกษา : จุดกลับรถแบบมีเพิ่มพื้นที่กลับรถบรรทุกและ แบบไม่มีพื้นที่กลับรถบรรทุกบนถนน 4 ช่องจราจร. วิทยานิพนธ์ วศ.ม., มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ปทุมธานี, สืบค้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2567, จาก https://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2022/TU_2022_6210034010_16182_22312.pdf
นพดล กรประเสริฐ และคณะ. (2560). การจำลองสถานการณ์เพื่อลดผลกระทบการจราจรในช่วงพิเศษของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วารสารวิชาการ การออกแบบสภาพแวดล้อม, ปีที่ 4(ฉบับที่ 2).
บุญวณิช อาตม์อุย และ อำพล การุณสุนทรวงษ์. (2564). การศึกษาความจุและคุณภาพการให้บริการสถานีขนส่งสาธารณะ กรณีศึกษา ท่าเรือในแม่น้ำเจ้าพระยาในกรุงเทพมหานคร. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 26 วันที่ 23-25 มิถุนายน 2564, การประชุมรูปแบบออนไลน์.
พิกุล ผาหลัก และ นพดล กรประเสริฐ. (2563). การวิเคราะห์ประสิทธิภาพของจุดเปิดเกาะกลางกลับรถแบบจํากัดยานพาหนะโดยใช้แบบจําลองการจราจรระดับจุลภาค. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ วันที่ 15-17 กรกฎาคม 2563 จ.ชลบุรี, ครั้งที่ 25.
ภูวดล พิมพ์สีทา และ อำพล การุณสุนทวงษ์. (2563). การศึกษาความจุและระดับการให้บริการของท่าเรือข้ามฟากพระประแดง. วิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต กันยายน-ธันวาคม 2563, ปีที่10(ฉบับที่3).
เรืองศักดิ์ แก้วพิกุล. (2562). การศึกษาปัญหาจราจรติดขัดและแนวทางแก้ปัญหากรณีสึกษาถนนลงหาดบางแสนเทศบาลชลบุรี. วิทยานิพนธ์ วศ.ม., มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ปทุมธานี, สืบค้นเมื่อ 13 มีนาคม 2567, จาก https://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2019/TU_2019_5710034017_5336_11491.pdf
วิชยา ริงคะนานนท์. (2562). แบบจำลอง 4D CAD สำหรับจัดการความปลอดภัยงานก่อสร้าาง และลดผลกระทบการจราจรของงานซ่อมบำรุงทางแยกต่างระดับ. วิทยานิพนธ์ วศ.ด., มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, นครราชสีมา, สืบค้นเมื่อ 13 มีนาคม 2567, จาก http://sutir.sut.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/8726
วุฒิไกร ไชยปัญหา และ จารุวิสข์ ปราบณศักดิ. (2564). การวิเคราะห์ประสิทธิภาพโครงข่ายถนนในคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในสภาพก่อนและหลังการปรับปรุงรูปแบบการจัดการจราจร โดยใช้แบบจำลองสภาพการจราจรระดับจุลภาค. วิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต มกราคม - เมษายน 2564, ปีที่11(ฉบับ1).
ศุจินทรา หอมบุบผา และคณะ (2565). อิทธิพลของสภาพการจราจรระหว่างช่วงเบาบางและหนาแน่นที่มีต่อระดับเสียงในพื้นที่ถนน สายหลักในเขตเมืองพิษณุโลก. วารสารเกษตรนเรศวร, ปีที่ 19 (ฉบับที่ 2).
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. การใช้คำถาม 5W1H. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2567 จาก https://www.ipst.ac.th/wp-content/uploads/2022/05/5W1H.pdf
สุรชัย อัมภวาสุวรรณ (2565). คู่มือวิเคราะห์ระดับการให้บริการทางหลวง กรณีบนช่วงถนน (กรมทางหลวง สำนักแผนงาน กรกฎาคม 2565.
สุรเมศวร์ พิริยวัฒน์. (2551). วิศวกรรมขนส่ง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2567.
โสมสุดา ไกรสิงห์สม และ ณัฐรดา ภาวีอัครกุล. (2565). รายงานการวิเคราะห์คำนวณดัชนีการจราจรติดขัดและความหนาแน่นการจราจรประจำปี 2565.
เหมือนมาศ วิเชียรสินธุ์ และคณะ. (2559). ข้อเสนอแนะเพื่อการแก้ไขปัญหาจราจรสำหรับงานเกษตรแห่งชาติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน. วิศวสารลาดกระบัง มีนาคม 2559, ปีที่ 33(ฉบับที่ 1).