การศึกษาระบบการจัดการโซ่อุปทานการแปรรูปผักพลูคาวในตำบลธารทอง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาห่วงโซ่อุปทานการแปรรูปผักพลูคาว 2) วิเคราะห์กิจกรรมตลอดห่วงโซ่อุปทานและสภาพแวดล้อมการแปรรูปผักพลูคาว 3) เสนอแนะแนวทางในการดำเนินงาน การแปรรูปผักพลูคาวให้กับผู้ประกอบการ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษาเป็นผู้ประกอบการและเกษตรกร แปรรูปและเพาะปลูกผักพลูคาวในตำบลธารทอง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย จำนวน 15 ราย เก็บข้อมูลในช่วงเดือนมิถุนายน 2566 ถึงมีนาคม 2567 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและแบบสอบถามผสม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาโซ่อุปทาน กิจกรรมโลจิสติกส์ และสภาพแวดล้อมทั่วไป ผลการวิจัย พบว่า 1. โซ่อุปทานการดำเนินงานของผู้ประกอบการ มีกระบวนการดำเนินงานทั้งหมด 9 ขั้นตอน 2. ผลการวิเคราะห์กิจกรรมตลอดโซ่อุปทานของผู้ประกอบการ พบว่า มีกิจกรรมทางด้านโลจิสติกส์ติกส์ที่เกิดขึ้นทั้งหมด 10 กิจกรรม คือ 1) การบริการลูกค้า 2) การดำเนินการตามคำสั่งซื้อของลูกค้า 3) การคาดการณ์ความต้องการของลูกค้า 4) การบริหารสินค้าคงคลัง 5) กิจกรรมการขนส่ง 6) การบริหารคลังสินค้า 7) การจัดซื้อจัดหา 8) การเคลื่อนย้ายวัสดุ 9) บรรจุภัณฑ์ 10) การติดต่อสื่อสารทางด้านโลจิสติกส์ ในแต่ละกิจกรรมมีจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส รวมถึงอุปสรรคที่ส่งผลต่อการดำเนินงานทั้งหมด 3) เสนอแนะแนวทางในการดำเนินงานของผู้ประกอบการ ผู้วิจัยได้เสนอแนวทางในการปรับปรุงระบบการจัดการโซ่อุปทานด้านองค์ความรู้และการนำเทคโนโลยีมาช่วยสนับสนุนการแปรรูป โดยหลังจากการวิเคราะห์การปรับปรุงตามข้อเสนอแนะ พบว่า ผลการดำเนินการก่อนปรับปรุงมีค่าเฉลี่ย ระดับคะแนนที่ 2.08 และหลังปรับปรุงมีค่าระดับคะแนนที่ 3.75 เพิ่มขึ้นร้อยละ 62.98 ทำให้กระบวนการดำเนินงานมีประสิทธิภาพและศักยภาพที่เพิ่มมากขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงสาธารณสุข. (2555). ประกาศกระทรวงสาธารณาสุข (ฉบับที่ 342). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา.
กองส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน กรมส่งเสริมการเกษตร. (2566). รายชื่อวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดเชียงราย. ค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2566. https://smce.doae.go.th.
กิตติชัย เจริญชัย. (2562). การศึกษาระบบจัดการโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ของมันสำปะหลังในจังหวัดมหาสารคาม. รายงานวิจัยสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ปีงบประมาณ 2559, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
คำนาย อภิปรัชญาสกุล. (2550). โลจิสติกส์และการจัดการซัพพลายเชน กลยุทธ์สำหรับลดต้นทุนและเพิ่มกำไร. พิมพ์ครั้งที่ 2. โฟกัสมีเดีย แอนด์ พับลิชชิ่ง. กรุงเทพฯ
เจษฎา ลีลากิจกุล. (2548). รูปแบบการจัดการโซ่อุปทานเชิงความร่วมมือ กรณีศึกษาบริษัทอุตสาหกรรมของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการด้านโลจิสติกส์. มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์.
ทัศน์กร อินทจักร์. (2564). พฤติกรรมการใช้สมุนไพรของประชาชนในอำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน.รายงานวิจัยกองทุนมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ปีงบประมาณ 2563. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ วิทยาลัยเขตแม่ฮ่องสอน.
นุชจรี ภักดีจอหอ และ สุจิตรา จำปาศรี. (2566). การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับโซ่อุปทานและโซ่คุณค่าในชุมชนท้องถิ่น. วารสารโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยนเรศวร, 1(2), 22-42.
พรวรท เปล่งปลั่ง และ องกรณ์ คูตะกูล. (2563). การจัดการห่วงโซ่อุปทานในกิจการเพื่อสังคม กรณีศึกษา กิจการเพื่อสังคมกาแฟเลพาทอ. วารสารรัชศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 11(2), 1-28.
พิมพ์ชนก เพชรมณี และวรรณวิชณีย์ ทองอินทราช. (2566). การจัดการโลจิสติกส์ของธุรกิจเครื่องสำอางในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. รายงายวิจัย. สาขาวิชาบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี สุราษฎร์ธานี.
พีรภัทร สันติสุข, กาญจน พันธ์บุญ, วิรุฬห์ ปินรุม, น้ำฝน สะละโกสา และพัชรมณฑ์ อ่อนเชด. (2566). แนวทางในการแก้ไขปัญหากระบวนการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน กรณีศึกษา ร้านต่อผลไม้ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. ใน การประชุมวิชาการระดับนานาชาติและระดับชาติ ราชภัฏวิจัย ครั้งที่ 5 วันที่ 2-5 ธันวาคม 2561. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 603-608.
เพชรายุทธ แซ่หลี และ เจษฎา โพธิ์จันทร์. (2564). การจัดการโซ่อุปทานเมล่อน: กรณีศึกษา สวนเมล่อนไฮโดรกรีนฟาร์ม. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและวิศวกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 3(2), 182-196.
มงคล กิตติญาณขจร, อริยพงษ์ พลั่วพลันธ์, รัชนีกร ด่านศิริชัยสวัสดิ์, ทิวารัตน์ ศรีราตรี และ นราธิป ภาวะรี. (2566). การสร้างกลยุทธ์การตลาดโดยการวิเคราะห์หาสาเหตุของยอดขายที่ลดลง กรณีศึกษา กลุ่มวิสาหกิจชุมชมผู้ผลิตสบู่สมุนไพร.วารสารเครือข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการไทย, 9(1), 74-86.
มงคล กิตติญาณขจร. (2564). การประยุกต์ใช้เครื่องมือคุณภาพทั้ง 7 และการวิเคราะห SWOT เพื่อกำหนดกลยุทธ์การตลาด: กรณีศึกษา ร้านค้าวัสดุก่อสร้าง. วารสารสังคมศาสตร์, 10(1), 66-75
วิชิต หล่อจีระชุณห์กุล, วลัยลักษณ์ อัตธีรวงศ์ และกนกกรรณ์ ลี้โรจนาประการ. (2562). การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและเมทริกซ์ทาวซ์เพื่อพัฒนายุทธวิธีการเพิ่มศักยภาพโซ่อุปทานผ้าไหมไทย-ลาว. วารสารการจัดการ WMS มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 7(3), 1-12.
วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์ และ วิลาวัลย์ สากลาง. (2564). การจัดการโลจิสติกส์ของโรงสีข้าว กรณีศึกษา บริษัทโรงสีรุ่งอนันต์ จำกัด อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University. ฉบับภาษาไทย มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(3), 2472-2491.
สุพัฒธณกิจ โพธิ์สว่าง, เกษม ทองขาว, อุทัย นพคุณวงศ์, มณทิรา ภูติวรนาถ และแสงมณี ชิงดวง. (2563). การศึกษาการเจริญเติบโตและปริมาณสาระสำคัญในพลูคาว 9 สายพันธุ์. วารสารผลิตกรรมการเกษตร, 2(2), 1-11.
สุภทรา สุขะภัณฑ์, ปัญญา หมั่นเก็บ และ ธำรงค์ เมฆโหรา. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหารขั้นต้นของผู้ประกอบการในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า, 34(2), 85-93.
อรคพัฒร์ บัวลม และภูวนาท ฟักเกตุ. (2566). การจัดการโลจิสติกส์เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงโซ่อุปทาน การส่งออกกล้วยไม้ตัดดอกในตลาดเวียดนาม. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 7(7), 1-12.
Hartmut Stadtler. (2015). Supply Chain Management. Herbert Meyr Editors. Supply Chain Management and Advanced Planning Hartmut Stadtler Christoph Kilger Herbert Meyr Editors Concepts, Models, Software, and Case Studies, Springer: Heidelberg, 3-29
Rasidul Islam., Estiak Ibne Monjur., Tawhid Akon. (2023). Supply Chain Management and Logistics: How Important Interconnection Is for Business Success. Open Journal of Business and Management, 11, 2505-2524
Ravi Kaina , Ajay Verma. (2017). Logistics Management in Supply Chain – An Overview. In ICMPC 2017. a Department of Mechanical Engineering MANIT Bhopal. Bhopal India, 3811-3816.
Robert Dmuchowski. (2020). Methods of Measuring the Effectiveness of Logistics Activities. Journal of Contemporary Economics, 15(3), 309-320.