การพยากรณ์ยอดขายและการวางแผนการผลิตน้ำกรดและน้ำกลั่นของผู้ประกอบการ ในตำบลเจริญเมือง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลยอดขายของผู้ประกอบการในตำบลเจริญเมือง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย 2) พยากรณ์และเลือกใช้เทคนิคการพยากรณ์ยอดขายน้ำกรดและน้ำกลั่น 3) เสนอแนะแนวทางการวางแผนการผลิตของผู้ประกอบการในตำบลเจริญเมือง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ดำเนินการศึกษาโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลจากการศึกษาเอกสาร และการสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการวิจัยที่มุ่งเน้นประโยชน์ให้แก่ผู้ประกอบการ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้ประกอบการธุรกิจจำหน่ายสินค้า น้ำกรด น้ำกลั่น แบตเตอรี่รถ ในตำบลเจริญเมือง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ผลการวิจัย พบว่า จากการศึกษาข้อมูลยอดขาย 3 ปีย้อนหลังของผู้ประกอบการมีจำนวนยอดขายที่มีความแตกต่างกันตามแต่ละช่วงระยะเวลาต่าง ๆ ผู้วิจัยจึงได้นำข้อมูลมาทำการพยากรณ์ 3 วิธี คือ 1) วิธีค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่อย่างง่าย 2) วิธีค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบถ่วงน้ำหนัก 3) วิธีปรับเรียบเอกซ์โพเนนเชียล และทำการเลือกเทคนิคการพยากรณ์ พบว่า การพยากรณ์วิธีปรับเรียบเอกโพเนนเชียล มีความคลาดเคลื่อนต่ำที่สุดโดยค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์น้ำกรดมีค่าร้อยละ 44 ผลการวิเคราะห์หาจุดสั่งซื้อที่ประหยัดอยู่ที่ 19,341 ขวด และการสั่งซื้อที่ 10 ครั้งต่อปี ปริมาณวัสดุคงคลังเท่ากับ 1,800 ขวด ทำให้ลดต้นทุนการสั่งซื้อ วัตถุดิบได้ 4,712.50 บาท น้ำกลั่นมีค่าร้อยละ 30 ผลการวิเคราะห์จุดสั่งซื้อประหยัดอยู่ที่ 1,800 ขวด และการสั่งซื้อที่ 7 ครั้งต่อปี ปริมาณวัสดุคงคลังเท่ากับ 1,620 ขวดและสามารถลดต้นทุนการสั่งซื้อวัตถุดิบได้ 6,597.5 บาทและลดต้นทุนรวมของวัตถุดิบเท่ากับ 147.67 บาทต่อปี ผู้ประกอบสามารถนำข้อมูลที่ได้ไปวางแผนการผลิตน้ำกรดและน้ำกลั่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กฤษฎา ชาวบางพรม. (2564). ระบบสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับการจัดการการผลิตหลักและการวางแผนความต้องการวัสดุคงคลัง กรณีศึกษา โรงงานผลิตปลาหมึกปรุงรส. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศามตร์.
ช่อผกา โพธิ์ร่มไทร. (2563). ระบบสนับสนุนการบริการสินค้าคงคลังสำหรับธุรกิจขายตกแต่งสินค้าตกแต่งบ้าน.วิทยานิพนธ์ปริญาวิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ มหาวัทยาลัยจุฬาลงกรณ์.
ชุลีกร ชูโชติถาวร.(2563). การพยากรณ์และการหาปริมาณการสั่งซื้อที่เหมาะสม เพื่อเป็นแนวทางในการจัดเก็บบรรจุภัณฑ์สำหรับการผลิต กรณีศึกษาบริษัทแปรรูปผลิตภัณฑ์การเกษตร จังหวัดพัทลุง.วารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 3(3): 1-17.
เฌอร์รฎา คุ้มถนอม. (2564). ปริมาณการสั่งซื้อวัตถุดิบหลักที่เหมาะสม กรณีศึกษาบริษัทผลิตเหล็กแท่งและเหล็กเส้นก่อสร้าง. งานนิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน มหาวิทยาลัยบูรพา.
นิภา นิรุตติกุล. (2558). การพยากรณ์การขาย. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.บริษัทแกมมาโก้ ประเทศไทย จำกัด. (2566). น้ำกลั่นต่างกับน้ำดื่มปกติอย่างไร. ค้นเมื่อ 20 ธันวาคม2566.จาก: https://gammaco.com/gammaco/blog/น้ำกลั่นต่างกับน้ำดื่มปกติอย่างไร.
ภัญนภัส พฤกษากิจ และจาตุรันต์ แช่มสุ่น. (2566). การพยากรณ์ความต้องการสินค้าผลไม้แปรรูปเพื่อการวางแผนการผลิต กรณีศึกษา บริษัท XYZ จำกัด. วารสารบริหารธุรกิจ, 13(1): 1-15.
รัชนี โฆษิตานนท์. (2564). การพยากรณ์ความต้องการในการสั่งซื้อและจัดการวัตถุดิบคงคลังกรณีศึกษาบริษัทผลิตเครื่องฟอกอากาศ. งานนิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน. มหาวิทยาลัยบูรพา.
อภิญญา กางทอง. (2564). การพยากรณ์ความต้องการใช้เม็ดพลาสติกในประเทศไทย.การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Sushant Kumar Sinha. (2015). Managing production across supply chain. Retrieved 20 September 2023, https://www.slideshare.net/slideshow/managing-production-across-supply-chain/48800067.