วิธีแบบจำลองกำหนดการเชิงเส้นจำนวนเต็มแบบผสมเพื่อการจัดตารางเวลาของรถบรรทุกอ้อย

Main Article Content

Peeraya Thapatsuwan
Warattapop Thapatsuwan
Sirikarn Chansombat

บทคัดย่อ

การจัดหาอ้อย ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตน้ำตาล เป็นส่วนที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากกับโรงงานน้ำตาล หากอ้อยมีการจัดส่งมายังโรงงานในปริมาณที่มากเกินไป ส่งผลทำให้ต้องจัดเก็บอ้อยเป็นเวลานาน และก่อให้เกิดปัญหาต่อการผลิตมากขึ้นไปด้วย ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างมากในการปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดหาอ้อยเพื่อให้สอดคล้องกับกำลังการผลิตของโรงงาน ตัวแบบการจัดตารางเวลาของรถบรรทุกอ้อยสามารถช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพในกระบวนการขนส่งอ้อยเข้าสู่โรงงานน้ำตาลได้ งานวิจัยนี้จึงได้ให้ความสำคัญกับปัญหาการจัดตารางเวลาของรถบรรทุกอ้อย ด้วยการใช้กรณีศึกษาโรงงานน้ำตาล เพื่อหาค่าที่เหมาะสมที่สุดของตารางเวลาและลำดับงานของรถบรรทุกอ้อยเพื่อเข้าสู่กระบวนการหีบอ้อย วัตถุประสงค์เพื่อทำให้เวลารวมที่เกิดขึ้นต่ำที่สุด ซึ่งประกอบด้วย เวลาที่ใช้ในการขนส่งอ้อยจากแปลงปลูกมายังลานจอด และเวลาที่ใช้ในการลงอ้อยจากรถบรรทุกเพื่อเข้าหีบ งานวิจัยนี้นำเสนอแบบจำลองกำหนดการเชิงเส้นจำนวนเต็มแบบผสม (Mixed Integer Linear Programming: MILP) เพื่อแก้ปัญหาการจัดตารางเวลารถบรรทุก ผลลัพธ์ที่ได้จากการศึกษานี้ได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของตัวแบบที่นำเสนอ สามารถช่วยปรับปรุงโลจิสติกส์ขาเข้าของอ้อยในอุตสาหกรรมน้ำตาลได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชุลีพร กุศลคุ้ม, กาญจนา เศรษฐนันท์, ศิโรรัตน์ พัฒนไพโรจน์ และวรญา เนื่องมัจฉา. (2562). การพัฒนาอัลกอริทึมสำหรับการจัดตารางรถบรรทุกอ้อยเพื่อเทอ้อยลงรางในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลในเขตพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น. 19(4): 111-126.

นฤนาท ทิพย์นาง, กาญจนา เศรษฐนันท์, ฐิติพงศ์ จำรัส และกานต์ มูลศรี. (2566). การจัดเส้นทางการขนส่งของรถบรรทุกโดยพิจารณาการขนส่งแบบหลายเที่ยวภายใต้กรอบเวลาแบบยืดหยุ่นกรณีศึกษาอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายในประเทศไทย. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น. 23(2): 78-91.

ปาณิสรา นันดี, วรญา เนื่องมัจฉา และอธิวัฒน์ บุญมี. การหาจำนวนรถบรรทุกอ้อยที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานรถตัดอ้อยด้วยการประยุกต์ใช้แบบจำลองสถานการณ์. วารสารไทยการวิจัยดำเนินงาน. 6(1): 22-30.

ศรายุทธ แสนแก้ว, กาญจนา เศรษฐนันท์, ฐิติพงศ์ จำรัส และศิโรรัตน์ พัฒนไพโรจน์. (2564). เมตะฮิวริสติกส์สำหรับการจัดสรรรถตัดในระบบโลจิสติกส์ขาเข้าของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย ภายใต้ข้อจำกัดทางด้านกรอบเวลาของเครื่องจักรและแปลงอ้อย. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น. 21(4): 11-23.

สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย. (2565). รายงานประจำปี 2565. ค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2567 https://www.ocsb.go.th/wp-content/uploads/2024/02/ebook-รายงานประจำปี-2565-สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย.pdf

Berbeglia, G., Cordeau J. F. and Laporte G. (2010). Dynamic pickup and delivery problems. European Journal of Operational Research. 202(1): 8-15.

Robertson, M.J.; Muchow, R.C., Wood, A.W. and Campbell J.A. (1996). Accumulation of reducing sugars by sugarcane: effects of crop age, nitrogen supply and cultivar. Field Crops Research. 49(1): 39-50.

Zhang R., Yun W. Y., and Kopfer H. (2010). Heuristic-based truck scheduling for inland container transportation. OR Spectrum. 32(1): 787-808.