การจัดการกิจกรรมการท่องเที่ยวเกษตรเชิงอนุรักษ์อย่างยั่งยืน อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

udom phunlarp
Chutidaj Munkongtum

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการการจัดการกิจกรรมการท่องเที่ยวเกษตรเชิงอนุรักษ์อย่างยั่งยืน อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการการบริหารจัดการการจัดการกิจกรรมการท่องเที่ยวเกษตรเชิงอนุรักษ์อย่างยั่งยืน อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสัมภาษณ์แบบสนทนากลุ่ม จากการสังเกตพื้นที่จากคนในชุมชนอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา มีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ประกอบการแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร จำนวน 31 ราย โดยใช้แบบสัมภาษณ์ชนิดกึ่งโครงสร้าง ใช้เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา รวบรวมประเด็นข้อมูลที่ค้นพบวิเคราะห์สรุปผลตอบขอบเขตของเนื้อหา หาข้อสรุปและนำเสนอในรูปแบบการบรรยาย ผลการศึกษาสามารถสรุปได้ดังนี้


จากผลการศึกษา พบว่า ศักยภาพด้านทรัพยากรการท่องเที่ยว พบว่า อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา มีสถานที่ท่องเที่ยวและศูนย์เรียนรู้เกษตรพอเพียงเพื่อพึ่งพาตนเองที่มีศักยภาพดึงดูดใจสูง ส่วนด้านการบริการและการให้ประสบการณ์ที่มีคุณภาพแก่นักท่องเที่ยว พบว่า มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิถีชีวิตเกษตร วิถีชาวบ้านแต่ละหมู่บ้านมีเอกลักษณ์ ซึ่งการดำเนินงานคำนึงถึงการอนุรักษ์วัฒนธรรมวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมและมีการเผยแพร่ความรู้ให้กับนักท่องเที่ยว ในส่วนของศักยภาพทางการท่องเที่ยว พบว่า การมีส่วนร่วมของคนในชุมชนอยู่ในระดับที่ต่ำ แต่มีจุดเด่นในเรื่องทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ และด้านการเกษตร ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ซึ่งเป็นแรงดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เกิดความประทับใจ โดยปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นที่เด่นชัด คือ ขาดแคลนงบประมาณ เงินลงทุนในการดำเนินงาน และด้านการตลาดที่ยังไม่แข็งแรง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2566). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2566 – 2570). กรุงเทพมหานคร.

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2566). เอกสารวิชาการ การท่องเที่ยวเชิงเกษตร. กรุงเทพมหานคร.

ชูสิทธิ์ ชูชาติ. (2553). คู่มือการท่องเที่ยวในมิติเศรษฐกิจพอเพียง. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัย ราชภัฏเชียงใหม่.

นาฏสุดา เชมนะสิริ. (2555). การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร. มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.กรุงเทพมหานคร.

นิศา ชัชกุล. (2566). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพมหานคร. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เทิดชาย ช่วยบารุง. (2553). การท่องเที่ยวเชิงเกษตรสุราษฎร์ธานี: การวิจัยฐานทรัพยากรเกษตรสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร. สานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ธนกฤต สังข์เฉย. (2550). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ. กรุงเทพมหานคร. คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร. ศูนย์วิชาการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

วรพงศ์ ผูกภู่. (2562). ปรัชญาแห่งการท่องเที่ยวโดยชุมชน. สืบค้นจาก https://www.randdcreation.comสำนักงานจังหวัดนครราชสีมา. (2567). ข้อมูลทั่วไปอำเภอปากช่อง (Online). http://www.nakhonratchasima.go.th, เข้าค้นข้อมูลเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2567.

สำนักงานเกษตรอำเภอปากช่อง. (2567). ข้อมูลอำเภอปากช่อง (Online). http://pakchong.khorat.doae.go.th, เข้าค้นข้อมูลเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2567.

Indaratna, K. (2013). Sufficiency economy: A happiness development approach. Asian Social Science, 10(2), 102-111.

Kusumawali, S. (2010). Human resource management for adequacy in an organization. Bangkok: National Institute of Development Administration.

Marks, E., Polucha, I., Jaszczak, A. and Marks, M. (2009). Agritourism in sustainable devel-opment: case of Mazury in north-eastern Poland. Rural Development: Inte-grated and Sustainable Rural Development. 90-95.

Maneerat, P., & Pasunon, P. (2022). Factor of Cultural Heritage Values that Effecting to Gastronomy Tourism Experience in Phuket Old Town Community. Journal of Multidisciplinary in Humanities and Social Sciences, 5(2), 687–703. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jmhs1_s/article/view/257213

Marques, H. (2006). Research report: Searching for complementarities between agriculture and tourism: The demarcated wine-producing regions of northern Portugal. Tourism Economics, 12(1), 147–155.

Poung-ngamchuen, J., Supa-udomlerk, S., & Leerattanakorn, N. (2015). A Study on people’ssustainability of quality of Life in accordance with philosophy of sufficiency economy in Aomkoi District, Chiang Mai, Thailand. Journal of Marketing and Management. 6(2), 1-10.

Prasongthan, S., Thanandornsuk, K. ., & Charoenbunprasert, S. . (2021). Thai Senior tourists: Explore of Travel Constraints, Recreational Activities and Travel Intention . Rajamangala University of Technology Tawan-Ok Social Science Journal, 10(1), 119–131. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SocialJournal2rmutto/article/view/243108

Pruetipibultham, O. (2010). The sufficiency economy philosophy and strategic HRD: A sustainable development for Thailand. Human Resource Development International, 13(1), 99-110.

Tiyapunjanit, P. (2022). Strategic Management and Customer Relationship Building Strategies to Enhance Business Potential Case Study: A Modern Boutique Hotel in the Eastern Region. Journal of Multidisciplinary in Humanities and Social Sciences, 5(1), 50–62. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jmhs1_s/article/view/255424

The National Economic and Social Development Board (NESDB). (2007). Sufficiency economy implications and applications. Retrieved from https://sep.nesdc.go.th/Book/2557/Sufficiency%20Economy%20Implication%20and%20Application. pdfRichards (2010).