ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดวางเวชภัณฑ์โดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีจัดลำดับความสำคัญของสินค้า คงคลังและการควบคุมด้วยการมองเห็น คลังเวชภัณฑ์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดชลบุรี

Main Article Content

Patcharaporn Jumpasri
Sirirat Kanjanawachirakul

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินสิทธิภาพรูปแบบการจัดวางเวชภัณฑ์โดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีจัดลำดับความสำคัญของสินค้าคงคลังและการควบคุมด้วยการมองเห็นในคลังเวชภัณฑ์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดชลบุรี ด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) ประชากรเป็นเจ้าหน้าที่บริหารเวชภัณฑ์สังกัดงานเภสัชกรรม จำนวน 3 คน และเวชภัณฑ์ จำนวน 60 รายการ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ตามวงจรการพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle: SDLC cycle) ได้แก่ 1) ศึกษาขั้นต้นด้วยการระดมสมอง 2) วิเคราะห์ระบบด้วยเทคนิค 5 Whys ร่วมกับแผนผังก้างปลา 3) ออกแบบด้วยการวิเคราะห์จัดลำดับความสำคัญของสินค้าและการควบคุมด้วยการมองเห็น 4) ทดสอบด้วยการทดลองค้นหาและหยิบสินค้า และ 5) ประเมินระบบด้วยการวิเคราะห์เปรียบเทียบระยะเวลาและระยะทางก่อนและหลังปรับปรุง โดยใช้สถิติ Paired t – test  ผลการศึกษาพบว่า ระบบที่พัฒนาขึ้นช่วยลดระยะเวลาและระยะทางรวมในทุกขั้นตอนลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเป็นเวลา 1.01 นาที (ร้อยละ 36) และระยะทาง 42.81 เมตร (ร้อยละ 12) ตามลำดับ เมื่อเทียบกับก่อนปรับปรุง โดยระยะเวลาที่ใช้ในการค้นหาและหยิบเวชภัณฑ์กลุ่ม N ลดลงมากที่สุด (ร้อยละ 67) รองลงมาคือกลุ่ม F (ร้อยละ 60) และ S (ร้อยละ 53) ตามลำดับ และระยะทางที่ใช้ในการค้นหาและหยิบเวชภัณฑ์กลุ่ม F ลดลงมากที่สุด (ร้อยละ 30) รองลงมาคือกลุ่ม N (ร้อยละ 27) และ S (ร้อยละ 9) ตามลำดับ นอกจากนี้เมื่อคำนวณระยะเวลาและระยะทางที่ลดลงได้ต่อปี พบว่า ระบบที่พัฒนามีประสิทธิภาพลดระยะเวลาได้เฉลี่ย 1,058 ชั่วโมง หรือประมาณ 151 วันทำการต่อปี (7 ชั่วโมงต่อวันทำการ) และลดระยะทางได้เฉลี่ย 18,669.18 เมตร หรือประมาณ 18 กิโลเมตรต่อปี ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย