ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองด้านความรู้และพฤติกรรมการออกกำลังกายชนิดต้านยางยืด ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในโรงพยาบาลนครปฐม

ผู้แต่ง

  • จุฑามาส พรมใจมั่น พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลนครปฐม อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม 73000

DOI:

https://doi.org/10.55164/jgrdi.v1i1.610

คำสำคัญ:

การจัดการตนเอง, ออกกำลังกายชนิดต้านยางยืด, ฮีโมโกลบินเอวันซี, ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการตนเองด้านความรู้ และพฤติกรรมการออกกำลังกายชนิดต้านยางยืด ของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 แบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 29 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ โปรแกรมการจัดการตนเองด้านความรู้ และพฤติกรรมการออกกำลังกายชนิดต้านยางยืด ประเมินผลการศึกษาโดยใช้แบบประเมินการจัดการตนเองด้านความรู้ ด้านพฤติกรรมการออกกำลังกายชนิดต้านยางยืด และระดับฮีโมโกลบินเอวันซี นำข้อมูลมาวิเคราะห์ เพื่อเปรียบเทียบผลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Chi-square Test, Fisher’s Exact Test, Paired T-test และ Independent T-test ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มทดลอง มีการจัดการตนเองด้านความรู้สูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มควบคุมและมีพฤติกรรมการออกกำลังกายชนิดต้านยางยืดสูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p < 0.001 และระดับฮีโมโกลบินเอวันซีน้อยกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p < 0.001 ข้อเสนอแนะ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องประยุกต์ใช้ผลการศึกษาวิจัยเพื่อการดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ต่อไป

References

Division of Non Communicable Diseases, Department of Disease Control, Ministry of Public Health (2022, November13). Situation of patients with diabetes. https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/02/181256

Health Data Center (HDC) Report. (2023, May 6). Data of diabetic patients in Nakhon Pathom Province. https://npt.hdc.moph.go.th/hdc/admin/login.php

Nakhon Pathom Hospital Information Center. (2023, May 11). Data of diabetic patients type 2 in Nakhon Pathom. Hospital https://www.nkpthospital.go.th

Phothi, P., Teerakulchai, C., Khanobdee, C. & Panburana, P. (2016). The effect of a resistance exercise program on glycemic control of pregnant women with gestational diabetes mellitus class A1. Vajira Nursing Journal, 18(2), 12-24.

Gunggu, A., Thon, C. C., & Lian, C.W. (2016). Predictors of diabetes self-management among type 2 diabetes patients. Journal of Diabetes Research. 2016, 9158943. doi: 10.1155/2016/9158943.

Wang, T., Liu, Y., Zhong, R., Xu, D., Wang, H. & Fu, B. S. C. (2018). Benefit effects of aerobic exercise and resistance training on the management of type 2 diabetes. International Journal of Clinical and Experimental Medicine, 11(10), 10433-10445.

Singnoy, C., Julamet, P. & Tungthonchai, O. (2016). The development of apply elastic tube exercise program for chronically ill older adults. (Research report), Chonburi: Burapha University.

Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences (2nd ed.). Lawrence Erlbaum Associates, Publishers.

Creer, T. L. (2000). Self-management of chronic illness. In M. Boekaerts, P.R. Pintrich & M. Zeidner (Eds.), Handbook of Self-Regulation (pp. 601-629). Academic Press.

Duangklad, K., Lapvongwatana, P. & Chansatitporn, N. (2020). Improvement of self-management program in uncontrolled type II diabetes patients. Journal of Health and Nursing Research, 36(1). 66-83.

Phungdee, T., Sirisopon, N., Kainakha, P., Nititham, A. & Chaleoykitti, S. (2017). Effectiveness of exercise behaviors promotion program of diabetes mellitus type 2 patients. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 18 (Suppl. 1) 291-298.

Phuangchumpa, S., Piboon, K., Jaidee, W. & Chaiklongkit, K. (2020). The effects of self-management support program on knowledge, exercise behavior, number of steps, and hemoglobin A1C among type 2 diabetes patients. Royal Thai Navy Medical Journal, 47(2), 275-300.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

08/18/2023

How to Cite

พรมใจมั่น จ. (2023). ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองด้านความรู้และพฤติกรรมการออกกำลังกายชนิดต้านยางยืด ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในโรงพยาบาลนครปฐม. วารสารบัณฑิตวิจัย พัฒนาและนวัตกรรม, 1(1), 8–20. https://doi.org/10.55164/jgrdi.v1i1.610