การศึกษาปัจจัยส่วนผสมที่มีผลต่อคุณสมบัติความต้านทานแรงอัดของปูนมอร์ต้าร์

ผู้แต่ง

  • ทินนภัทร มณีวงษ์ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • มณฑลี ศาสนนันทน์ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

DOI:

https://doi.org/10.14456/jeit.2023.17

คำสำคัญ:

อัตราส่วนผสมของขนาดหินปูน, ความต้านทานแรงอัด, ปูนมอร์ต้าร์, การทดลองแบบแฟคทอเรียลเต็มรูปแบบ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยอัตราส่วนผสมหินปูนที่มีผลต่อความต้านทานแรงอัดของปูนมอร์ต้าร์ และศึกษาระดับที่เหมาะสมของอัตราส่วนผสมหินปูนที่ทำให้ปูนมอร์ต้าร์มีความต้านทานแรงอัดตามค่าที่กำหนด เป็นการวิจัยที่ใช้การทดลองแบบแฟคทอเรียลเต็มรูปแบบชนิด 42 กลุ่มตัวอย่าง 48 การทดลอง ผลการวิจัย พบว่า อันตรกิริยาระหว่างหินปูน 4 ประเภท ( X1*X2*X3*X4) ไม่ส่งผลต่อความต้านทานแรงอัดของปูนมอร์ต้าร์ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ปัจจัยส่วนผสม X1 (Limestone 0-0.1 mm), X2 (Limestone 0.1-0.6 mm), X3 (Limestone 0.6-1.15 mm) และ X4 (Limestone 1.15-2.5 mm) มีอิทธิพลต่อความต้านทานแรงอัดของปูนมอร์ต้าร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (R2=99.95%) และมีระดับที่เหมาะสมของอัตราส่วนผสมหินปูนที่ทำให้ปูนมอร์ต้าร์มีความต้านทานแรงอัดตามค่าที่กำหนด (44-54 MPa) คือ X1 = 0 กรัม X2 = 250 กรัม X3= 250.127 กรัม และ X4 = 817.978 กรัม ทั้งนี้ ในการนำไปใช้งานหรือเริ่มการผลิตจริงควรทำการทดลองเพื่อยืนยันผลก่อนรวมถึงมีการปรับสภาพบริบทและปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องให้มีความเหมาะสมกับการผลิตจริง

References

[1] E. Luga and C. D. Atis, "Optimization of heat cured fly ash/slag blend geopolymer mortars designed by “Combined Design” method: Part 1," Construction and Building materials, vol. 178, pp. 393-404, 2018.

[2] S. Jin, J. Zhang, and B. Huang, "Fractal analysis of effect of air void on freeze–thaw resistance of concrete," Construction and Building Materials, vol. 47, pp. 126-130, 2013.

[3] R. Sugrañez, J. I. Álvarez, M. Cruz-Yusta, I. Mármol, J. Morales, and L. Sánchez, "Controlling microstructure in cement based mortars by adjusting the particle size distribution of the raw materials," Construction and building materials, vol. 41, pp. 139-145, 2013.

[4] A. M. Matos, L. Maia, S. Nunes, and P. Milheiro-Oliveira, "Design of self-compacting high-performance concrete: Study of mortar phase," Construction and Building Materials, vol. 167, pp. 617-630, 2018.

[5] B. B. Mukharjee and S. V. Barai, "Statistical techniques to analyze properties of nano-engineered concrete using Recycled Coarse Aggregates," Journal of cleaner production, vol. 83, pp. 273-285, 2014.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-08-2023

How to Cite

[1]
มณีวงษ์ ท. . และ ศาสนนันทน์ ม. ., “การศึกษาปัจจัยส่วนผสมที่มีผลต่อคุณสมบัติความต้านทานแรงอัดของปูนมอร์ต้าร์”, JEIT, ปี 1, ฉบับที่ 4, น. 25–32, ส.ค. 2023.