การพัฒนาโมชันกราฟิกเพื่อสร้างการรับรู้และจดจํา เรื่อง ผลกระทบจากการใช้สมาร์ทดีไวซ์ในเด็กปฐมวัย

ผู้แต่ง

  • จิรวดี โยยรัมย์ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • เปรม อิงคเวชชากุล สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • จุฑามาส ดวงศรี สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • กิตติคุณ บุญเกตุ สาขาวิชาสถิติ และวิทยาการสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

DOI:

https://doi.org/10.14456/jeit.2023.15

คำสำคัญ:

โมชั่นกราฟิก, สมาร์ทดีไวซ์, ปฐมวัย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโมชันกราฟิกเพื่อสร้างการรับรู้และจดจํา เรื่อง ผลกระทบจากการใช้สมาร์ทดีไวซ์ในเด็กปฐมวัย 2) ประเมินคุณภาพของโมชันกราฟิกเพื่อสร้างการรับรู้และจดจํา เรื่อง ผลกระทบจากการใช้สมาร์ทดีไวซ์ในเด็กปฐมวัย 3) ประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อโมชันกราฟิกเพื่อสร้างการรับรู้และจดจํา เรื่อง ผลกระทบจากการใช้สมาร์ทดีไวซ์ในเด็กปฐมวัย โดยมีกระบวนการออกแบบโดยใช้ ADDIE Model กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในประเมินคุณภาพ คือ ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในประเมินความพึงพอใจ คือ ผู้ใช้งานสื่อ  ซึ่งประกอบด้วย ครูที่สอนในระดับชั้นปฐมวัยและพนักงานฝ่ายสื่อการสอนของโรงเรียน จำนวน 30 คน ใช้วิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย สื่อโมชันกราฟิกเพื่อสร้างการรับรู้และจดจํา เรื่อง ผลกระทบจากการใช้สมาร์ทดีไวซ์ในเด็กปฐมวัย แบบประเมินคุณภาพของโมชันกราฟิกเพื่อสร้างการรับรู้และจดจํา เรื่อง ผลกระทบจากการใช้สมาร์ทดีไวซ์ในเด็กปฐมวัย และแบบประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อโมชันกราฟิกเพื่อสร้างการรับรู้และจดจํา ในรูปแบบแบบประเมินออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า มีสื่อโมชันอินโฟกราฟิกเพื่อสร้างการรับรู้และจดจํา เรื่อง ผลกระทบจากการใช้สมาร์ทดีไวซ์ในเด็กปฐมวัยที่มีผลการประเมินคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญอยู่ในเกณฑ์คุณภาพมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.60 และมีความพึงพอใจของผู้ใช้อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.63

Downloads

Download data is not yet available.

References

[1] จีระวรรณ ศรีจันทร์ไชย, "บทบาทของพยาบาลในการกระตุ้นพัฒนาการด้านภาษาล่าช้าของเด็กปฐมวัยในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด–19," วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, vol. 9, no. 8, pp. 1-16, 2565.

[2] ภาสวัฒน์ เนตรสุวรรณ และ จิรพันธุ์ ศรีสมพันธุ์, "การพัฒนาสื่อโมชันกราฟิก เรื่อง พื้นฐานคอมพิวเตอร์ กราฟิกสำหรับหลักสูตรฝึกอบรมของบริษัท ที สแควร์ครีเอทีฟ จำกัด," in รายงานสืบเนื่องจากการประชุมสัมมนาวิชาการนำเสนองานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ (Proceedings) เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 15, 2557, pp. 1033-1046.

[3] สุนิตย์ตา เย็นทั่ว, นที ยงยุทธ์, และ ญาณิศา บุญพิมพ์, "สื่อโมชันกราฟิก ชุด ของเล่นภูมิปัญญาพลับพลาบ้านฉัน ร่วมกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสตีม เพื่อส่งเสริมพัฒนาการ 4 ด้าน สำหรับเด็กปฐมวัย," วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, vol. 19, no. 3, pp. 106-116, 2566.

[4] พิมภัสสร เด็ดขาด, "การพัฒนาคลังสื่อออนไลน์วิชาสังคมศึกษาสำหรับครู โรงเรียนพระปริยัติธรรม จังหวัดเชียงใหม่," วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการศึกษา (สังคมศึกษา), มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2561.

[5] จงรัก เทศนา. "อินโฟกราฟิกส์ (Infogarphics)." https://Chachoengsao.cdd.go.th/wp-content/uploads/sites/9/2019/01/infographics_information.pdf (accessed 5/02/65.

[6] อังคณา จัตตามาศ และ มณฑิชา รัตนภิรมย์, "การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัยเรื่อง อาหารในฤดูร้อน ด้วยวิดีโอโมชันกราฟิกกรณีศึกษา มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม," in การประชุมวิชาการ การยกระดับงานวิจัยเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน ครั้งที่ 4, มหาวิทยาลับราชมงคลรัตนโกสินทร์, 26-28 มิ.ย. 2562 ,2562.

[7] อัญชริกา จันจุฬา, สกล สมจิตต์, และ สุภาพร จันทรคีรี, "การพัฒนาสื่ออินโฟกราฟิก เพื่อสร้างการรับรู้และจดจํา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย จังหวัดยะลา," มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 2563.

[8] สุชารัตน์ จันทาพูนธยาน์ และ ณัฐพงษ์ บุญมี, "การพัฒนาสื่อโมชันกราฟิกเสริมความรู้ เรื่อง การป้องกันโรคอาร์เอสวี," วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, vol. 7, no. 2, pp. 1-11, 2564.

[9] ราตรี เอี่ยมประดิษฐ์, กาญจนา ส่งสวัสดิ์, และ กนกพร ยิ้มนิล, "การพัฒนาสื่อโมชันกราฟิกส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดอ่างทอง," มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์พระนครศรี อยุธยา วาสุกร, คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ, 2565.

[10] ศวิตา ทองสง. "แนวคิดเรื่อง ADDIE MODEL." https://sites.google.com/site/prae8311/hlak-kar-xxkbaeb-khxng-addie-model (accessed 10/07/65.

[11] พิสุทธา อารีราษฎร์., การพัฒนาซอฟท์แวร์ทางการศึกษา. มหาสารคาม: อภิชาตการพิมพ์, 2550.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-08-2023

How to Cite

[1]
โยยรัมย์ จ. . ., อิงคเวชชากุล เ., ดวงศรี จ., และ บุญเกตุ ก., “การพัฒนาโมชันกราฟิกเพื่อสร้างการรับรู้และจดจํา เรื่อง ผลกระทบจากการใช้สมาร์ทดีไวซ์ในเด็กปฐมวัย”, jeit, ปี 1, ฉบับที่ 4, น. 8–15, ส.ค. 2023.