การประยุกต์ใช้ชุดอุปกรณ์ตรวจจับการเคลื่อนไหวเชิงแม่เหล็กไฟฟ้าสู่การสร้างแอนิเมชัน แบบสามมิติในภาคอุตสาหกรรม

ผู้แต่ง

  • นวัฒกร โพธิสาร สาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์

DOI:

https://doi.org/10.14456/jeit.2023.27

คำสำคัญ:

ชุดอุปกรณ์ตรวจจับการเคลื่อนไหว, เชิงแม่เหล็กไฟฟ้า , แอนิเมชันแบบสามมิติ , ภาคอุตสาหกรรม

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้ชุดอุปกรณ์ตรวจจับการเคลื่อนไหวสู่การสร้างแอนิเมชันแบบสามมิติในภาคอุตสาหกรรมโดยใช้ชุดอุปกรณ์ตรวจจับการเคลื่อนไหวเชิงแม่เหล็กไฟฟ้าแบบวัดค่าความเฉื่อย ซึ่งมีข้อดี คือ ราคาที่สามารถเข้าถึงได้ในระดับสตูโอขนาดเล็ก มีขั้นตอนการใช้งานไม่ซับซ้อน แต่มีข้อจำกัด คือ ระบบจะมีความอ่อนไหวเกี่ยวกับสนามแม่เหล็กและโลหะ ซึ่งมีผลต่อการทำงานของเซนเซอร์ ชุดอุปกรณ์ตรวจจับการเคลื่อนไหว ประกอบด้วย เคสสำหรับชาร์ตไฟตัวเซนเซอร์ อุปกรณ์รับส่งสัญญาณ ชุดสายรัดทั้งตัว ตัวเซนเซอร์ติดตามตัวนักแสดง และถุงมือสำหรับติดตามนิ้ว ผลการศึกษาการประยุกต์ใช้งาน ดังนี้ 1. เชื่อมต่อระบบโมชันแคปเจอร์กับชุดอุปกรณ์ 2. เปิดเครื่องใช้งานเซนเซอร์ 3. เชื่อมต่อตัวรับส่งสัญญาณกับซอฟต์แวร์ 4. คาลิเบรทเซนเซอร์กับสภาพแวดล้อม 5. ตั้งค่าอีเทอร์เน็ต และ 6. วางตำแหน่งสายรัดเซนเซอร์ให้กับนักแสดง สำหรับความสมบูรณ์ของข้อมูลการเคลื่อนไหวมีความจำเป็นต้องตกแต่งข้อมูลก่อนนำไปใช้งาน กล่าวโดยสรุปการพัฒนาแอนิเมชันแบบสามมิติในภาคอุตสาหกรรมสามารถใช้ชุดอุปกรณ์ตรวจจับการเคลื่อนไหวเชิงแม่เหล็กไฟฟ้าแบบวัดค่าความเฉื่อยได้ เนื่องจากชุดอุปกรณ์มีศักยภาพในการตรวจจับการเคลื่อนไหวและมีราคาไม่สูงมาก ผู้ประกอบการหรือสถาบันการศึกษาสามารถจัดซื้อจัดหาได้

References

[1] ดัชกรณ์ ตันเจริญ, "เทคโนโลยีการตรวจจับการเคลื่อนไหวและการประยุกต์ใช้งาน," วารสารปัญญาภิวัฒน์, ปีที่ 3, ฉบับที่ 1, หน้า 113-122, 2554.

[2] นันท์นภัส สุจิมา, "คอมพิวเตอร์กราฟิกส์ในงานภาพยนตร์โดยเทคนิค Motion Capture," วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, ปีที่ 1, ฉบับที่ 2, หน้า 41-44, 2551.

[3] เบญนภา พัฒนาพิภัทร, "การพัฒนาภาพเคลื่อนไหว 3 มิติ ด้วยเทคโนโลยีตรวจจับการเคลื่อนไหวสำหรับฝึกท่ามวยไทยพื้นฐาน," วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, ปีที่ 9, ฉบับที่ 2, หน้า 52-63, 2564.

[4] Motion Analysis, "Motion Capture for Broadcast," [Online]. Available: https://motionanalysis.com/broadcast. [Accessed: 15 May 2022].

[5] Noitom, "Perception Neuron Studio System," [Online]. Available: https://neuronmocap.com/perception-neuron-studio-system. [Accessed: 15 May 2022].

[6] G. Rogez, P. Weinzaepfel and C. Schmid, "LCR-Net++: Multi-Person 2D and 3D Pose Detection in Natural Images," IEEE Transactions on Pattern Analysis and Machine Intelligence, vol. 42, no. 5, pp. 1146-1161, 2020.

[7] Z. Cao, G. Hidalgo, T. Simon, S. E. Wei and Y. Sheikh, "OpenPose: Realtime Multi-Person 2D Pose Estimation Using Part Affinity Fields," IEEE Transactions on Pattern Analysis and Machine Intelligence, vol. 43, no. 1, pp. 172-186, 2021.

[8] M. Menolotto, D. S. Komaris, S. Tedesco, B. O'Flynn and M. Walsh, "Motion Capture Technology in Industrial Applications: A Systematic Review," Sensors (Basel), vol. 20, no. 19, 5687, 2020.

[9] S. Park and S. Yoon, "Validity Evaluation of an Inertial Measurement Unit (IMU) in Gait Analysis Using Statistical Parametric Mapping (SPM)," Sensors, vol. 21, no. 11, 3667, 2021.

[10] B. Chakravarthi, A. K. Patil, J. Y. Ryu, A. Balasubramanyam and Y. H. Chai, "Scenario-Based Sensed Human Motion Editing and Validation Through the Motion-Sphere," IEEE Access, vol. 10, pp. 28295-28307, 2022.

[11] H. L. Bartlett and M. Goldfarb, "A Phase Variable Approach for IMU-Based Locomotion Activity Recognition," IEEE Transactions on Biomedical Engineering, vol. 65, no. 6, pp. 1330-1338, 2018.

[12] N. Pantuwong, "A Novel Direct Manipulation Technique for Motion-Editing Using a Timeline-Based Interface," ECTI Transactions on Computer and Information Technology, vol. 12, no. 2, pp. 165-175, 2018.

[13] U. A. Urbanczyk, A. Bonfiglio, A. H. McGregor and A. M. J. Bull, "Comparing Optical and Electromagnetic Tracking Systems to Facilitate Compatibility in Sports Kinematics Data," International Biomechanics, vol. 8, no. 1, pp. 75-84, 2021.

[14] Q. Nian and J. Liu, "Motion Capture Based on Intelligent Sensor in Snow and Ice Sports," Wireless Communications and Mobile Computing, pp. 1-12, 2021.

[15] นวัฒกร โพธิสาร และเนติรัฐ วีระนาคินทร์, "การพัฒนาชุดการเคลื่อนไหวด้วยโมชันแคปเจอร์สำหรับการสอนนาฏศิลป์ ในรูปแบบออนไลน์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี," วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, ปีที่ 7, ฉบับที่ 2, หน้า 28-41, 2565.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-04-2023

How to Cite

[1]
โพธิสาร น., “การประยุกต์ใช้ชุดอุปกรณ์ตรวจจับการเคลื่อนไหวเชิงแม่เหล็กไฟฟ้าสู่การสร้างแอนิเมชัน แบบสามมิติในภาคอุตสาหกรรม”, JEIT, ปี 1, ฉบับที่ 1, น. 1–9, เม.ย. 2023.