การเลือกที่ตั้งที่เหมาะสมสำหรับติดตั้งเตาเผามูลฝอยติดเชื้อสำหรับกลุ่มโรงพยาบาลในจังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • อนุชา ศรีบุรัมย์ สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • วราภรณ์ วโรรส สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • ชนภรณ์ ณ กาฬสินธุ์ สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • วรรณรพ ขันธิรัตน์ สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • ประสิทธิ์ ไกรลมสม สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี

DOI:

https://doi.org/10.14456/jeit.2023.3

คำสำคัญ:

โปรแกรมเชิงเส้น, การเลือกตำแหน่งที่ตั้ง, เตาเผามูลฝอยติดเชื้อ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเลือกตำแหน่งที่ตั้งเตาเผามูลฝอยติดเชื้อที่เหมาะสมสำหรับการให้บริการโรงพยาบาลในจังหวัดกาฬสินธุ์ โดยพิจารณาโครงข่ายของสถานที่ตั้งที่ให้ต้นทุนรวมต่ำสุด โดยต้นทุนรวมคือต้นทุนดำเนินการและต้นทุนการขนส่ง เริ่มจากการสร้างแบบจำลองโปรแกรมเชิงเส้นสำหรับปัญหาการเลือกสถานที่ตั้งของเตาเผามูลฝอยติดเชื้อ หลังจากนั้นทำการเขียนโค๊ดตัวแบบโปรแกรมเชิงเส้นที่นำเสนอโดยใช้ซอฟต์แวร์ LINGO ลำดับต่อมาทดสอบแบบจำลองโปรแกรมเชิงเส้นที่นำเสนอด้วยกรณีศึกษาโรงพยาบาลในจังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 18 แห่ง ผลการทดลองพบว่า ตำแหน่งที่ตั้งและขนาดของเตาเผามูลฝอยติดเชื้อที่ทำให้ต้นทุนรวมต่ำสุดมีจำนวน 2 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ติดตั้งเตาเผาขนาด 1,200 กิโลกรัมต่อวัน และโรงพยาบาลห้วยผึ้งติดตั้งเตาขนาด 400 กิโลกรัมต่อวัน ตามลำดับ โดยมีต้นทุนรวมต่ำสุดเท่ากับ 12,500.50 บาทต่อวัน ลดลงจากการใช้บริการกำจัดของเอกชน (14,707.40 บาทต่อวัน) เป็น 2,206.9 บาทต่อวัน คิดเป็น 15%

References

[1] N. Singh, O. A. Ogunseitan, and Y. Tang, "Medical waste: Current challenges and future opportunities for sustainable management," Critical Reviews in Environmental Science and Technology, vol. 52, no. 11, pp. 2000-2022, 2022.

[2] C.-W. Yoon, et al., "A review of medical waste management systems in the Republic of Korea for hospital and medical waste generated from the COVID-19 pandemic," Sustainability, vol. 14, no. 6, p. 3678, 2022.

[3] กองอนามัยสิ่งแวดล้อมกระทรวงสาธารณสุข, "แนวทางการจัดการขยะติดเชื้อ," [ออนไลน์]. 2539. Available: https://env.anamai.moph.go.th/webupload/migrated/files/env/n722_d50370459_253e3fd1ef8d6f0a817cf76_f011.pdf. [เข้าถึงเมื่อ: 10 มกราคม 2566].

[4] อรรถพล เจริญชันษา, "ขยะมูลฝอยลดลง ขยะติดเชื้อและขยะอันตรายเพิ่มขึ้นแนะจัดการอย่างถูกวิธี," [ออนไลน์]. 2565. Available: https://www.pcd.go.th/pcd_news/20802/. [เข้าถึงเมื่อ: 10 มกราคม 2566].

[5] N. Wichapa and P. Khokhajaikiat, "Solving multi-objective facility location problem using the fuzzy analytical hierarchy process and goal programming: a case study on infectious waste disposal centers," Operations Research Perspectives, vol. 4, pp. 39-48, 2017.

[6] อนุชา ศรีบุรัมย์ และ สมบัติ สินธุเชาวน์, "วิธีแก้ปัญหาการเลือกเตาเผาขยะติดเชื้อสำหรับโรงพยาบาลชุมชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนบนของประเทศไทย," วารสารไทยการวิจัยดำเนินงาน, ปีที่ 1, ฉบับที่ 2, หน้า 51-59, 2556.

[7] บุษบา สมีแจ่ม, พัชรี แก้วทอง และ โรจนี หอมชาลี, "การหาตำแหน่งที่ตั้งเตาเผาขยะติดเชื้อของโรงพยาบาลในจังหวัดมหาสารคาม," วารสารไทยการวิจัยดำเนินงาน, ปีที่ 7, ฉบับที่ 2, 2562.

[8] T. Srisuwandee and S. Sindhuchao, "The Differential Evolution Algorithm for Solving the Problem of Size Selection and Location of Infectious Waste Incinerator," Computation, vol. 11, no. 1, p. 10, 2023.

[9] S. Suksee and S. Sindhuchao, "GRASP with ALNS for solving the location routing problem of infectious waste collection in the Northeast of Thailand," International Journal of Industrial Engineering Computations, 2021.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-04-2023

How to Cite

[1]
ศรีบุรัมย์ อ., วโรรส ว., ณ กาฬสินธุ์ ช., ขันธิรัตน์ ว., และ ไกรลมสม ป., “การเลือกที่ตั้งที่เหมาะสมสำหรับติดตั้งเตาเผามูลฝอยติดเชื้อสำหรับกลุ่มโรงพยาบาลในจังหวัดกาฬสินธุ์”, JEIT, ปี 1, ฉบับที่ 2, น. 18–30, เม.ย. 2023.