การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
DOI:
https://doi.org/10.14456/jeit.2025.10คำสำคัญ:
สื่อมัลติมีเดีย, หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ , การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพสื่อมัลติมีเดียที่พัฒนา และ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจสื่อมัลติมีเดีย ที่พัฒนา รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพกลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ 5 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และกลุ่มผู้ใช้งานทั่วไป จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) สื่อมัลติมีเดียเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 2) แบบประเมินประสิทธิภาพสื่อมัลติมีเดีย และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจจากผู้ใช้ที่มีต่อสื่อมัลติมีเดียฯ ผลการวิจัยที่ได้ คือ หนังสือท่องเที่ยวอิเล็กทรอนิกส์ ผลการประเมินประสิทธิภาพสื่อจากผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับดีมาก ( = 4.69, S.D.= 0.49) ผลการประเมินความพึงพอใจสื่อจากผู้ใช้งานทั่วไป อยู่ในระดับดีมาก (
= 4.51, S.D. = 0.47) สรุปได้ว่าสื่อมัลติมีเดียที่พัฒนาขึ้นนั้นสามารถเพิ่มประสบการณ์การท่องเที่ยวและส่งเสริมคุณค่าทางวัฒนธรรมในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ได้เป็นอย่างดี และสามารถนำไปเป็นตัวอย่างเพื่อปรับใช้ในการพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในด้านอื่น ๆ ต่อไป
References
[1] ยุชิตา กันหามิ่ง และ ฉัตรชัย อินทรประพันธ์, "การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ ชุมชนนครไตรตรึงษ์ จังหวัดกำแพงเพชร," ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 8 และนานาชาติ ครั้งที่ 1, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, จังหวัดนครสวรรค์, 2562, หน้า 836–846.
[2] บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา และ เพ็ญศิริ ศรีคำภา, การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน, กรุงเทพฯ: บริษัทธรรมสาร จำกัด, 2557.
[3] นุชนารถ รัตนสุวงศ์ชัย, "กลยุทธ์การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม," วารสารมนุษยศาสตร์, ปีที่ 18, ฉบับที่ 1, หน้า 31–50, 2554.
[4] ชิตาวีร์ สุขคร, "การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในประเทศไทย," วารสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน, ปีที่ 1, ฉบับที่ 2, หน้า 1–7, 2562.
[5] เสาวพร วรสินธพ, "การศึกษาพฤติกรรมการเดินทางในการท่องเที่ยว กรณีศึกษา: เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร," สารนิพนธ์หลักสูตรการผังเมืองบัณฑิต, สาขาวิชาการผังเมือง, คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2558.
[6] พงษ์ศักดิ์ ดรพินิจ, สุวรรณี ฮามพิทักษ์ และ กชพร ท้าวกลาง, "พัฒนาสื่อดิจิทัลในการนำเสนอเพื่อประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมท้องถิ่น อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น," วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ, ปีที่ 4, ฉบับที่ 1, หน้า 823–834, 2567.
[7] เฌอมินทร์ เศรษฐ์ธีราธัญ และคณะ, "การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์คู่มือการท่องเที่ยวเกาะลัดอีแท่น จังหวัดนครปฐม," ใน การประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 13, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 2564, หน้า 1366–1376.
[8] พิบูล ไวจิตรกรรม, "การออกแบบสื่อมัลติมีเดียเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดระนอง," วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล., ปีที่ 34, ฉบับที่ 1, หน้า 102–113, 2565.
[9] ขัตติยา วงค์ษาแก่นจันทร์, "การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) เรื่อง การใช้โปรแกรม Paint.Net สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2," วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563.
[10] R. T. Vidyarattne and E. A. G. Sumanasiri, "Foreign missions’ role in promoting international trade: Empirical evidence of Sri Lankan foreign missions promoting electronic exports in Germany," Int. Bus. Res., vol. 13, no. 7, pp. 173–188, 2020.
[11] ศิริรักษ์ บุญพร้อมรักษา, "รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษา การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตลาดร้อยปี บ้านใหม่ จังหวัดฉะเชิงเทรา," วารสารธุรกิจปริทัศน์, ปีที่ 5, ฉบับที่ 1, หน้า 79–96, 2556.
[12] กนกวรรณ แก้วเกาะสะบ้า และ ถนอม ห่อวงศ์สกุล, "การพัฒนามัลติมีเดียแบบสื่อประสมเพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันและประชาสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยวชุมชนโซนเขาจังหวัดสุราษฎร์ธานี," วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี, ปีที่ 10, ฉบับที่ 2, หน้า 61–96, 2566.
[13] อุดม และคณะ, "การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการท่องเที่ยววิถีพุทธในเมืองหลัก 15 จังหวัดของประเทศไทย," วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์, ปีที่ 10, ฉบับที่ 1, หน้า 97–111, 2567.
[14] Taro Yamane. Statistics: an introductory analysis. New York: New York: Harper & Row; 1973.
[15] M. Mason, "Sample size and saturation in PhD studies using qualitative interviews," Forum Qual. Soc. Res., vol. 11, no. 3, 2010.
[16] สิรวิชญ์ สงวนศรี, ธนกร เพ็งกระจ่าง, นวัตรกร โพธิสาร และ วินิต ยืนยิ่ง, "การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อประชาสัมพันธ์หลักสูตรเทคโนโลยีมัลติมีเดีย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์," วารสารวิศวกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, ปีที่ 2, ฉบับที่ 4, หน้า 35–43, 2567.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2025 วารสารวิศวกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ของวารสาร
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยก่อนเท่านั้น