การป้องกันความผิดพลาดในกระบวนการผลิตชิ้นส่วนเบาะรถยนต์
DOI:
https://doi.org/10.14456/jeit.2024.5คำสำคัญ:
ประสิทธิภาพ, เครื่องตรวจสอบรูเจาะบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาการป้องกันความผิดพลาดในกระบวนการผลิตชิ้นส่วนเบาะรถยนต์ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนาการตรวจจับของเสียป้องกันความผิดพลาดในกระบวนการผลิตชิ้นส่วนเบาะรถยนต์ 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพเครื่องตรวจสอบรูเจาะป้องกันความผิดพลาดในกระบวนการผลิตชิ้นส่วนเบาะรถยนต์ ดำเนินการเพื่อค้นหาปัญหาโดยเทคนิคการระดมสมองเพื่อหาสาเหตุของปัญหา แผนภาพก้างปลาเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขสาเหตุปัญหา และใช้เทคนิค Poka-Yoke พัฒนาการตรวจจับของเสียป้องกันความผิดพลาดในกระบวนการผลิตชิ้นส่วนเบาะ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเดือนกรกฎาคม-พฤศจิกายน 2565 เปรียบเทียบข้อมูลก่อนและหลัง สถิติที่ใช้ร้อยละ จากการศึกษาพบว่า ก่อนการสร้างเครื่องตรวจสอบรูเจาะ ปริมาณผลิตทั้งหมด 22,000 ชิ้น งานที่ส่งมอบไปยังลูกค้า 22,000 ชิ้น พบงานเสียที่ส่งมอบไปยังลูกค้า 295 ชิ้น คิดเป็นร้อยละ 1.34 ของงานเสียที่ส่งมอบไปยังลูกค้า หลังการใช้เครื่องตรวจสอบรูเจาะ พบว่า มีปริมาณผลิต 36,000 ชิ้น พบงานเสียที่ส่งมอบไปยังลูกค้า 321 ชิ้น คิดเป็นร้อยละ 0.89
References
[1] เกรียงไกร ศรีเลิส, "การลดของเสียของการป้อนชิ้นงานในกระบวนการชุบแข็ง กรณีศึกษา : บริษัทชุบแข็งตัวอย่าง," วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี, 2558.
[2] จักรวาล คุณะดิลก และ ศุภชัย เจียบเกาะ, "การปรับปรุงคุณภาพการผลิตชุดเฟืองท้ายรถยนต์ โดยใช้แนวทาง ซิกซ์ ซิกม่า," วิทยานิพนธ์, วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี, 2560.
[3] ธนิตศักดิ์ พุฒิพัฒน์โฆษิต และคณะ, "การลดของเสียในกระบวนการผลิตอุปกรณ์โครงเหล็กคุ้มกันความปลอดภัยของรถยนต์," วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.), ปีที่ 9, ฉบับที่ 2, หน้า 45-54, 2563.
[4] ลัคนา กวินกิจจาพร, "การนำเทคนิคการผลิตแบบลีนมาประยุกต์ใช้ : กรณีศึกษาบริษัท จอย สปอร์ต จำกัด," วิทยานิพนธ์, บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, กรุงเทพมหานคร, 2555.
[5] วราพงษ์ สีจำปา, "การลดของเสียจากกระบวนการผลิตปะคำทองแดง: กรณีศึกษาโรงงานผลิตเครื่องประดับ," สารนิพนธ์ วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสยาม, กรุงเทพมหานคร, 2561.
[6] วีระชัย มัฎฐารักษ์, "การออกแบบเพื่อป้องกันความผิดพลาดและการลดความสูญเสียในกระบวนการผลิตกรอบรูปโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีโพคา-โยเกาะ," ใน การประชุมวิชาการข่วยงานวิศวกรรมอุตสาหการ, 2555, หน้า 247-252.
[7] ศุภักษร พรมสาร, "การลดความผิดพลาดในกระบวรการบรรจุสินค้าของซัพพลายเออร์และลดต้นทุนในการบวนการผลิต กรณีศึกษา บริษัทโตโยต้าโชคุ เอเชีย จำกัด," ปริญญาบริหารธุรกิจบัณฑิต, สถาบันเทคโนโลยี ไทย-ญี่ปุ่น, กรุงเทพมหานคร, 2559.
[8] สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ, "ระบบป้องกันความผิดพลาด (POKA YOKE)," ออนไลน์. Available: https://www.ftpi.or.th/course/73380. [เข้าถึงเมื่อ: 10 พ.ค., 2565].
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิศวกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ของวารสาร
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยก่อนเท่านั้น