การปรับปรุงกระบวนการผลิตคาลิปเปอร์เบรกด้วยการศึกษาเวลาและการเคลื่อนไหว กรณีศึกษา บริษัท แอดวิคส แมนูแฟคเจอริ่ง (ไทยแลนด์) จำกัด

ผู้แต่ง

  • นิติศักดิ์ ศรีวัฒนา สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิต วิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ด สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3
  • ศุภชัย แสงบัวท้าว สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิต วิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ด สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3
  • พิศาล คำยา สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิต วิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ด สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3

DOI:

https://doi.org/10.14456/jeit.2024.2

คำสำคัญ:

การศึกษาเวลา, คาลิปเปอร์เบรก

บทคัดย่อ

บริษัท แอดวิคส แมนูแฟคเจอริ่ง (ไทยแลนด์) จำกัด ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายระบบเบรคและชิ้นส่วนรถยนต์ เป็นอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ที่มีการจัดการดำเนินงานด้านการผลิตที่มีประสิทธิภาพและผลิตผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพสูงสุด ปัจจุบันพบว่าปัญหาของการผลิตระบบการผลิตคาลิปเปอร์เบรก ใช้เวลาการผลิตมากกว่าเวลามาตรฐานที่บริษัทฯ กำหนด ทำให้ปริมาณการผลิตผลิตคาลิปเปอร์เบรก ไม่ได้ตามเป้าหมายที่บริษัทกำหนด เนื่องจากการเคลื่อนไหวของพนักงานในสายการผลิตคาลิปเปอร์เบรกใช้เวลาในการเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็น เกิดเวลาการทำงานที่สูญเปล่า ผู้วิจัยได้คิดค้นแนวทางการลดการเคลื่อนไหวและลดเวลาในการผลิตมาช่วยแก้ปัญหาในการผลิตคาลิปเปอร์เบรก งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อลดเวลาการผลิตคาลิปเปอร์เบรก 2) เพื่อเพิ่มปริมาณการผลิตคาลิปเปอร์เบรก ทำการศึกษาขั้นตอนในการผลิตคาลิปเปอร์เบรก โดยใช้แบบการบันทึกเวลา (Check Sheet) การศึกษาการเคลื่อนไหว (Motion study) การศึกษาเวลา (Time study) เก็บรวบรวมข้อมูลเดือนตุลาคม – พฤศจิกายน พ.ศ.2565 และเปรียบเทียบก่อนและหลัง ผลการวิจัยพบว่าสามารถลดการเคลื่อนไหวของพนักงานในสายการผลิตคาลิปเปอร์เบรก จากเดิม 50 วินาที ลดลง เหลือ 47 วินาที คิดเป็นร้อยละ 6 และสามารถเพิ่มปริมาณการผลิตจาก 122 ชิ้นต่อชั่วโมงต่อเดือน เป็น 130 ชิ้นต่อชั่วโมงต่อเดือน คิดเป็นร้อยละ 6.15

References

[1] เกียรติขจร โฆมานะสิน, LEAN: วิถีแห่งการสร้างคุณค่าสู่องค์กรที่เป็นเลิศ, กรุงเทพฯ: สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ, 2550.

[2] คมสัน จิระภัทรศิลป, "การใช้เทคนิคการศึกษาการเคลื่อนไหวและเวลา," ภาควิชาครุศาสตร์อุตสาหการ, คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี, กรุงเทพฯ, 2548.

[3] โชติกา โตมาซา, "การจัดทำมาตรฐานการทำงานของพนักงานเติมงาน กรณีศึกษา สายการผลิต Register 650A บริษัท ไดวา คาเซอิ (ไทยแลนด์) จำกัด," [ออนไลน์]. Available: http://library.tni.ac.th/thesis/upload/files/CRT%20IM%202015/ChotKa%20ToMa%20Sa%2CRT%20IM%202015.pdf. [เข้าถึงเมื่อ: 17 กุมภาพันธ์ 2566].

[4] ชาญฉจิต วรรณนุรักษ์ และ ณัฐกฤช อัสนี, "การศึกษาเวลาและการเคลื่อนไหวสำหรับกระบวนการประกอบขวดนม," [ออนไลน์]. Available: https://kukrdb.lib.ku.ac.th/proceedings/index.php?/KUCON/search_detail/result/315513. [เข้าถึงเมื่อ: 18 กุมภาพันธ์ 2566].

[5] ธีรศักดิ์ มงคลสวัสดิ์, "การจัดส่งชิ้นส่วนเพื่อลดความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นในกระบวนการประกอบรถยนต์ตามแนวทางการผลิตแบบลีน," งานนิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการจัดการการขนส่งและโลจิสติกส์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา, 2551.

[6] นันทิยากร ลักษณะแก้ว, "การเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการเอกสารและการไหลของข้อมูลในองค์กร," [ออนไลน์]. Available: https://searchlib.utcc.ac.th/library/onlinethesis/300921.pdf. [เข้าถึงเมื่อ: 18 กุมภาพันธ์ 2566].

[7] รัชต์วรรณ กาญจนปัญญาคม และ เนื้อโสม ติงสันชลี, "การศึกษาการเคลื่อนไหวและเวลา," [ออนไลน์]. Available: https://kukr.lib.ku.ac. th/kukr_es/index.php?/kukr/search_detail/result/190327. [เข้าถึงเมื่อ: 18 กุมภาพันธ์ 2566].

[8] วิจิตร ตัณฑสุทธิ์, การลดความสูญเปล่าในสายการผลิต, กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547.

[9] วิโรจน์ ลักขณาอดิศร, "ลีน (Lean) เป็นแนวคิดในการบริหารกระบวนการผลิต," งานนิพนธ์วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลยานยนต์, บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552.

[10] วิทยา สุหฤทดำรง, มุ่งสู่ “ลีน” ด้วยการจัดการสายธารคุณค่า, กรุงเทพฯ: ส.เอเชียเพรส, 2548.

[11] สุวัฒน์ จานแก้ว และ รุ่งเรือง ดียิ่ง, "การนำเอาการศึกษาการเคลื่อนไหวและเวลามาใช้ได้แก่การหาเวลามาตรฐานและการปรับปรุงคุณภาพการผลิตรองเท้าหนัง," บริษัท ยูทากา (ประเทศไทย), 2546.

[12] โสภณ ประทุมมา และ สัญชัย โตสุนทร, "การศึกษาการเพิ่มผลผลิตในอุตสาหกรรมทอกระสอบปอ," ปริญญานิพนธ์วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิต คณะเทคโนโลยีและการจัดการ, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2547.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-02-2024

How to Cite

[1]
ศรีวัฒนา น. . ., แสงบัวท้าว ศ. . ., และ คำยา พ. . ., “การปรับปรุงกระบวนการผลิตคาลิปเปอร์เบรกด้วยการศึกษาเวลาและการเคลื่อนไหว กรณีศึกษา บริษัท แอดวิคส แมนูแฟคเจอริ่ง (ไทยแลนด์) จำกัด”, JEIT, ปี 2, ฉบับที่ 1, น. 11–21, ก.พ. 2024.