การปรับปรุงการให้บริการร้านค้าสะดวกซื้อด้วยระบบแถวคอยในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ศูนย์การศึกษาสามพร้าว
DOI:
https://doi.org/10.14456/jeit.2023.20คำสำคัญ:
ร้านค้าสะดวกซื้อ, ระบบแถวคอย, ความพึงพอใจบทคัดย่อ
ในงานวิจัยนี้การปรับปรุงการให้บริการลูกค้าที่มาใช้บริการร้านค้าสะดวกภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ศูนย์การศึกษาสามพร้าว โดยมีวัตถุประสงค์ คือ การวิเคราะห์จำนวนจุดชำระเงินที่เหมาะสมของร้านค้าและปรับปรุงการประสิทธิภาพในเรื่องการให้บริการและความพึงพอใจของลูกค้า ซึ่งมีผลการดำเนินการดังนี้ คือ 1) การวิเคราะห์ระบบแถวคอยเพื่อความเหมาะสมของจำนวนช่องบริการ พบว่าร้านค้าสะดวกซื้อ หอพักชายและหอพักหญิง เสนอแนะให้เพิ่มพนักงานช่วงเวลา 11.30 น. – 13.00 น. เพราะเป็นช่วงเวลาที่มีลูกค้าเข้ามารับบริการมากที่สุด และหอพักหญิง เสนอแนะให้เพิ่มพนักงานและช่องบริการ 1 ช่อง สามารถลดระยะเวลาเฉลี่ย ร้อยละ 23 และ 50 ตามลำดับ เพื่อเหมาะสมต่อความพึงพอใจของลูกค้า 2) การศึกษาความพึงพอใจของลูกค้า 3 ด้าน พบว่าในด้านบริหารจัดการภายในร้านค้าค่าความพึงพอใจระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.67 ด้านการให้บริการของพนักงานมีค่าความพึงพอใจระดับมาก 4.37 และด้านสถานที่ ค่าความพึงพอใจระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.46
References
[1] ฉัตรชัย ตวงรัตนพันธ์, "สมาคมผู้ค้าปลีกไทย," กองบรรณาธิการ Positioning, [ออนไลน์]. Available: http://www.positioningmag.com/59221. [เข้าถึงเมื่อ: 21 มกราคม 2564].
[2] กัลยา วานิชย์บัญชา, การวิเคราะห์เชิงปริมาณ, กรุงเทพฯ: คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545.
[3] วุฒิชัย วงษ์ทัศนีย์กร, การวิเคราะห์แบบจำลอง, กรุงเทพฯ: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต, 2555.
[4] C. D. Pegden, R. E. Shannon, และ R. P. Sadowski, Introduction to Simulation Using SIMAN (2nd ed.), New York: McGraw-Hill, 1995.
[5] ปิยพร สุวรรณรัตน์, "การวิเคราะห์ระบบแถวคอยของผู้ใช้บริการทางพิเศษ กรณีศึกษา ด่านประชาชื่น," วิทยานิพนธ์ปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การจัดการ, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2555.
[6] พิมพิมล สิทธิยุโณ, "การพัฒนาระบบแถวคอย กรณีศึกษาคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลท่าศาลา," มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 2555.
[7] T. Yamane, Statistics, An Introductory Analysis, 2nd ed., New York: Harper and Row, 1967.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิศวกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ของวารสาร
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยก่อนเท่านั้น