การศึกษาสมบัติทางความร้อนของถ่านไม้มังคุดอัดแท่งผสมคาร์บอนแบล็ค

ผู้แต่ง

  • ธนพัฒน์ ถิระวุฒิ สาขาวิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
  • ชีวะ ทัศนา สาขาวิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

DOI:

https://doi.org/10.14456/jeit.2023.19

คำสำคัญ:

ถ่านไม้มังคุดอัดแท่ง, คาร์บอนแบล็ค, ค่าความร้อน, ปริมาณความชื้นและปริมาณเถ้า

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาค่าความร้อน ปริมาณความชื้นและปริมาณเถ้าของถ่านอัดแท่งที่ทำจากถ่าน  ไม้มังคุดผสมคาร์บอนแบล็คในปริมาณ 20 30 และ 40 กรัม โดยผสมผงคาร์บอนแบล็คลงในถ่านไม้มังคุดบดละเอียดปริมาณ 3.0 กิโลกรัม โดยใช้แป้งมันสำปะหลัง 0.25 กิโลกรัมและน้ำ 2.0 ลิตร เป็นตัวประสาน แล้วอัดแท่งด้วยวิธีอัดเย็น จากนั้นทำการศึกษา ทางความร้อนตามมาตรฐาน ASTM ผลการศึกษาพบว่า การเพิ่มปริมาณคาร์บอนแบล็คในถ่านไม้มังคุดอัดแท่งส่งผลให้ถ่านอัดแท่งมีค่าความร้อนเพิ่มขึ้น แต่ปริมาณความชื้นและปริมาณเถ้ามีค่าลดลง โดยถ่านไม้มังคุดอัดแท่งและถ่านไม้มังคุดอัดแท่งผสมคาร์บอนแบล็คมีค่าความร้อน 25,477- 25,699 กิโลจูลต่อกิโลกรัม ซึ่งมีค่าสูงกว่าค่าตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนถ่านอัดแท่ง (มผช.238/2547) ในขณะที่ถ่านอัดแท่งไม้มังคุดผสมคาร์บอนแบล็คปริมาณ มีปริมาณความชื้นและปริมาณเถ้าร้อยละ 9.44 – 6.94และ 9.10 - 3.88 ตามลำดับ ซึ่งต่ำกว่าค่ามาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ถ่านไม้ (มผช. 657/2547) ที่กำหนดปริมาณความชื้นและปริมาณเถ้าไว้ไม่เกินร้อยละ 10 และ 8.0 ตามลำดับ ดังนั้นสรุปได้ว่าการเติมคาร์บอนแบล็คลงในถ่านอัดแท่งไม้มังคุดสามารถปรับปรุงทางความร้อนได้ทําให้เป็นแหล่งเชื้อเพลิงที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นอย่างไรก็ตามการเติมคาร์บอนแบล็คในปริมาณที่มากเกินไปอาจทำให้ถ่านอัดแท่งมีเนื้อแน่นเกินไปซึ่งส่งผลให้ถ่านอัดแท่งแตกหักง่าย ดังนั้น อาจศึกษาปริมาณคาร์บอนแบล็คที่เหมาะสมในการปรับปรุงสมบัติทางความร้อนของถ่านไม้มังคุดอัดแท่งผสมคาร์บอนแบล็คให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

References

[1] สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, "สถิติการเกษตรของประเทศไทย," กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, 2561.

[2] ธเนศ ไชยชนะ, จอมภพ แววศักดิ์, จตุพร แก้วอ่อน, และ อุษา อ้นทอง รุ่งโรจน์, "สมบัติความเป็นเชื้อเพลิงของถ่านเปลือกมังคุด," วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ, ปีที่ 17, ฉบับที่ 3, หน้า 29–36, 2557.

[3] กานต์ วิรุณพันธ์, ธนารักษ์ สายเปลี่ยน, และ ภาคภูมิ ใจชมพู, "การผลิตเชื้อเพลิงถ่านอัดแท่งจากเศษวัสดุเหลือใช้ในการผลิตข้าวหลาม," วารสารวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา, ปีที่ 2, ฉบับที่ 1, หน้า 1-15, 2560.

[4] วัชราภรณ์ ยุบลเขต และ ดาริวรรณ เศรษฐีธรรม, "เปรียบเทียบสมบัติของเชื้อเพลิงอัดแท่งจากเศษขยะใบไม้ที่ได้จากการอัดด้วยเครื่องอัดและอัดด้วยมือ," วารสารมหาวิทยาลัยขอนแก่น. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), ปีที่ 17, ฉบับที่ 4, หน้า 85-96, 2560.

[5] C. Thassana and W. Nuleg, "Effect of carbon black on thermal properties of charcoal and salacca leafstalk briquettes," in AIP Conference Proceedings 1868, 2017, pp. 060002-1-060002-5.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-10-2023

How to Cite

[1]
ถิระวุฒิ ธ. . และ ทัศนา ช. ., “การศึกษาสมบัติทางความร้อนของถ่านไม้มังคุดอัดแท่งผสมคาร์บอนแบล็ค”, JEIT, ปี 1, ฉบับที่ 5, น. 1–7, ต.ค. 2023.