ระบบรับส่งพัสดุอัตโนมัติควบคุมด้วยพีแอลซี

ผู้แต่ง

  • ธนวัฒน์ ฉลาดสกุล -
  • บุญศวร โนนศรี

คำสำคัญ:

อัตโนมัติ, พีแอลซี, บาร์โค้ด, สเต็ปมอเตอร์, สายพานลำเลียง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและสร้างต้นแบบระบบรับส่งพัสดุอัตโนมัติที่ควบคุมด้วยโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์โดยนำบาร์โค้ดหรือรหัสแท่งมาประยุกต์ในการใช้งานร่วมกับระบบควบคุม ตัวเครื่องมีชั้นวางพัสดุขนาด 300 x 900 x 900 มิลลิเมตร และมีช่องเก็บพัสดุทั้งหมดจำนวน 12 ช่อง ระบบขับเคลื่อนจะใช้ สเต็ปเปอร์มอเตอร์จำนวน 5 ตัว ในการขับเคลื่อนสายพานในแต่ละแกนสำหรับขนส่งพัสดุที่จะจัดเก็บไว้บนชั้นวางแต่ละชั้น มอเตอร์ไฟฟ้าเกียร์ใช้ขับเคลื่อนสายพานลำเลียงของระบบลำเลียง  ใช้แหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับขนาด 220 โวลต์ และแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสตรงขนาด 24 โวลต์ เป็นตัวจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับมอเตอร์ไฟฟ้า สายพานสามารถรองรับน้ำหนักพัสดุได้ไม่เกิน 400 กรัม เวลาเฉลี่ยในการเคลื่อนย้ายไปรับและส่งพัสดุจะอยู่ในช่วงเวลาที่กำหนด การทดลองเวลา จากจุดเริ่มต้นไปยังช่องเก็บแต่ละช่อง มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานไม่เกิน 0.25 นาที การทดลองจุดเริ่มต้นไปยังช่องเก็บพัสดุเพื่อนำพัสดุออกแต่ละช่อง มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานไม่เกิน 0.20 นาที และเวลาเฉลี่ยกระบวนการในระบบ พบว่าในแต่ละช่อง มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานไม่เกิน 0.28 นาที ตามลำดับ งานวิจัยนี้สามารถใช้เป็นต้นแบบในการพัฒนาใช้งานจริงและเป็นชุดสาธิตในการเรียนการสอนได้ เครื่องต้นแบบนี้มีต้นทุนการผลิตต่อเครื่อง 38,500 บาท และใช้พลังงานไฟฟ้า 0.4 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมงต่อเครื่อง

References

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2564. เศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สองของปี 2564 และแนวโน้มปี 2564. เข้าถึงจาก https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=11736

ธนาคารแห่งประเทศไทย.2561. รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย 2561.

โอฬาร กิตติธีรพรชัย, นระเกณฑ์ พุ่มชูศรี 2013. ระบบการจัดการคลังสินค้า. เข้าถึงจาก http://www.ej.eng.chula.ac.th/thai/index.php/ej/article/view/260/122. (8 มีนาคม 2564).

R. L. Harmon, Reinventing the Warehouse, Word-Class Distribution Logistics. New York, NY: The Free Press, 2001.

ไพรฑูรย์ พูลสุขโข. 2447. การจัดเก็บคลังสินค้าอัตโนมัติ. (ม.ป.ท.).

นพพร ดีทุม. 2550. การศึกษากระบวนการในการจัดการคลังสินค้า. (ม.ป.ท.)

ปริญวัฒน์ บุญสิงห์. 2559. การออกแบบและสร้างต้นแบบระบบจัดเก็บและค้นคืนอัตโนมัตินครราชสีมา : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

ทิวากร แก้วศรี. 2556. ระบบจัดเก็บและเรียกคืนวัสดุอัตโนมัติ. เข้าถึงได้จาก: http://thiwakorn29.blogspot.com/2013/03/blog-post_8684.html (6 มกราคม 2564).

จิณห์นิภา แสงสุข 2565. เทคโนโลยีคิวอาร์โค้ดกับการประยุกต์ใช้ในชีวิตวิถีใหม่. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง.ปีที่ 6 ฉบับที่ 2.

นิกร ศรีสุนทร และ รัชพลปิ่นน้อย. 2553.การออกแบบจำลองคลังสินค้าแบบกึ่งอัตโนมัติ กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ประภาส สุวรรณเพชร, เรียนรู้และลองเล่น Arduino. พิมพ์ครั้งที่ 1. ชัยภูมิ : วิทยาลัยเทคนิคชัยภูมิ, 2559.

กิตติชัย ชีวาสุขถาวร. 2550. ภาษาซี ทีละก้าว. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: เคทีพี คอม แอนด์ คอลซัล.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-29

How to Cite

ฉลาดสกุล ธนวัฒน์, และ โนนศรี บุญศวร. 2024. “ระบบรับส่งพัสดุอัตโนมัติควบคุมด้วยพีแอลซี”. วารสารวิศวกรรมศาสตร์และการวิจัยเชิงนวัตกรรม 2 (1). Khon Kaen, Thailand:16-24. https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JEIRKKC/article/view/1977.