การประยุกต์ใช้รายงาน A3 เพื่อลดการสูญเสียในกระบวนการ

ผู้แต่ง

  • ศุภพัชร พวงแก้ว สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
  • สนธินันท์ อินทสนธิ สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
  • ทัตพล กุลวงศ์ สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ

คำสำคัญ:

รายงาน A3, การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต, การบำรุงรักษา

บทคัดย่อ

การแข่งขันทางด้านธุรกิจในทุกวันนี้มีแนวโน้มที่สูงยิ่งขึ้น ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมต่างก็แข่งขันกันอยู่ตลอดเวลา เพื่อสู้กับการแข่งขันการวิจัยและพัฒนาเป็นสิ่งที่จำเป็น สำหรับในส่วนของระบบการผลิตก็ถูกพัฒนาให้มีประสิทธิภาพอย่างเต็มที่ ลดความสูญเสียในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เวลา วัตถุดิบ โอกาส เงินทุน และอื่นๆ เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ แต่การพัฒนาจำเป็นต้องใช้เงินทุน และทรัพยากรในการดำเนินการ ซึ่งองค์กรขนาดเล็กที่ยังไม่พร้อมในการลงทุนจึงประสบปัญหา ดังนั้นในการศึกษาครั้งนี้จึงนำเสนอการทำรายงาน A3 เพื่อใช้ในการพัฒนาระบบการผลิต โดยเป็นระบบที่ง่ายต่อการทำความเข้าใจ และยังไม่ต้องลงทุนมากในการดำเนินการ ในการศึกษาครั้งนี้ได้นำรายงาน A3 ไปทดลองใช้พัฒนาในโรงงานผลิตยาแผนปัจจุบัน โดยจุดประสงค์เพื่อลดร้อยละการเกิดการขัดข้องจากเวลาการทำงานทั้งหมดลง โดยเข้าไปศึกษาเพื่อหาจุดที่มีการเกิดการขัดข้องมากที่สุด ที่หน่วยบรรจุยาเม็ด – ยาซอง เข้าไปแก้ไขปัญหาที่ระบบเครื่องจักร SP 01 Sachet Packing Machine (Mucil) โดยมีร้อยละการเกิดการขัดข้องที่ร้อยละ 5.38 ดังนั้นจึงนำรายงาน A3 ไปใช้เพื่อจัดการปัญหาบนเครื่อง SP 01 Sachet Packing Machine (Mucil) ผลที่ได้จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าสามารถแก้ไขปัญหาการเกิดการขัดข้องในจุดที่เข้าไปศึกษาได้

References

Herzog, N. V., & Tonchia, S. (2014). An instrument for measuring the degree of lean implementation in manufacturing. Strojniški vestnik-Journal of Mechanical Engineering, 60(12), 797-803.

Womack, J. P., & Jones, D. T. (1996). Beyond Toyota: How to root out waste and pursue perfection. Harvard business review, 74(5), 140-151.

Thangarajoo, Y., & Smith, A. (2015). Lean thinking: An overview. Industrial Engineering & Management, 4(2), 2169-0316.

Rini, S. (2021). Implementation of lean thinking through A3 report in plastic injection company. International Journal of Industrial Optimization, 2(1), 63.

Tortorella, G., & Girardi, N. (2015). AVALIAÇÃO DAS OPORTUNIDADES DE MELHORIAS NA LOGÍSTICA INTERNA: O CASO DE UMA EMPRESA DE METAIS SANITÁRIOS. Iberoamerican Journal of Project Management, 6(2), 13-28.

Rodrigues, M. V. (2014). Entendendo e desenvolvendo sistemas de produção Lean Manufacturing. Rio de Janeiro.

Flinchbaugh, J. (2012). A3 problem solving: Applying lean thinking. Lean Learning Center, 533-538.

Sobek, D. K., & JIMMERSON, C. (2006). Relatório A3: ferramenta para melhorias de processos. Lean Institute.

Dennis, P. (2017). Lean production simplified: a plain-language guide to the world's most powerful production system. Crc press.

Bassuk, J. A., & Washington, I. M. (2013). The A3 problem solving report: a 10-step scientific method to execute performance improvements in an academic research vivarium. PloS one, 8(10), e76833.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-05

How to Cite

พวงแก้ว ศ. ., อินทสนธิ ส. ., & กุลวงศ์ ท. . (2023). การประยุกต์ใช้รายงาน A3 เพื่อลดการสูญเสียในกระบวนการ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธนบุรี, 7(1), 15–21. สืบค้น จาก https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/trusci/article/view/696