การศึกษาเวลามาตรฐานเพื่อเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานและการจ่ายค่าตอบแทน ของแผนกทดสอบวัตถุดิบ กรณีศึกษาบริษัทผลิตชุดชั้นใน

ผู้แต่ง

  • กวิน พินสำราญ สาขาการจัดการโลจิสติกส์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธนบุรี
  • จิรวดี อินทกาญจน์ สาขาการจัดการโลจิสติกส์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาลัยราชภัฏพระนคร
  • รุ่งรวิน ตั้งชัย สาขาการจัดการโลจิสติกส์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธนบุรี
  • สรินยา ศรีอินทร์กิจ สาขาการจัดการโลจิสติกส์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธนบุรี
  • อุทุมพร อยู่สุข สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์

คำสำคัญ:

การศึกษางาน, เวลามาตรฐาน, ประเมินผลการปฎิบัติงาน, การจ่ายค่าตอบแทน

บทคัดย่อ

วิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาเวลามาตรฐานในแผนกทดสอบวัตถุดิบ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการ ปฏิบัติงานและการจ่ายค่าตอบแทนในแผนกทดสอบวัตถุดิบ กรณีศึกษาบริษัทผลิตชุดชั้นใน ผลการศึกษา พบว่า กระบวนการ ทดสอบวัตถุดิบมีเวลามาตรฐาน ดังนี้ 1) กระบวนการทดสอบผ้า 61.84 นาทีต่อชิ้น กระบวนการทดสอบลูกไม้ 40.90 นาทต่อชิ้น และกระบวนการทดสอบอุปกรณ์ 25.54 นาทีต่อชิ้น เมื่อเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานและการจ่ายค่าตอบแทนของแผนก ทดสอบวัตถุดิบย้อนหลัง 1 เดือน พบว่า มีประสิทธิภาพการปฏิบัติงานร้อยละ 97.27 และประสิทธิภาพการจ่ายค่าตอบแทน ตามผลการปฏิบัติงานต่ำกว่าค่าตอบแทนที่จ่ายจริง ร้อยละ 2.73 จากผลการศึกษาทำให้บริษัทกรณีศึกษาสามารถประเมินผลการปฏิบัติงาน และการจ่ายค่าตอบแทนของพนักงาน ซึ่งจะใช้ประโยชน์ในการจัดตารางการผลิต การวางแผนการผลิต การประเมินต้นทุน การควบคุมต้นทุนแรงงานได้

References

กิตติชัย อธิกุลรัตน์. (2562). การศึกษาเวลามาตรฐานการติดตั้งแม่พิมพ์ กรณีศึกษา หจก.แมกเนติค แอนเนกซ์ ซัพพลาย. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ ราชมงคลธัญบุรี. 17(1), 77-90.

จิตติมา อัครธิติพงศ์. (2556). การประเมินผลการปฏิบัติงาน [เอกสาร ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

ธัญวรรณ มาศวิวัฒน์. (2559). การกําหนดเวลามาตรฐานในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนเลนส์โดยใช้เทคนิค MOST สาขาวิชาการพัฒนางานอุตสาหกรรม. [การค้นคว้าอิสระ ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ธนะรัตน์ รัตนกูล กันต์ธมน สุขกระจ่าง วันเพ็ญ ลับแสง และ อัญชลีพร ด้วงเจริญ. (20 กรกฎาคม 2561). เวลามาตรฐานการปฏิบัติงานของพนักงานบริการ. [เอกสารนำเสนอ]. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 9. จังหวัดสงขลา, ประเทศไทย.

นุชสรา เกรียงกรกฎ. (2549). การคำนวณหาเวลามาตรฐานการทำงานของพนักงานในโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้า กรณีศึกษา แผนกเย็บกำงเกง รุ่น A1314. วารสารวิชาการ ม.อบ. 8(1), 79-88.

รัชต์วรรณ กาญจนปัญญาคม. (2552). INDUSTRIAL WORK STUDY การศึกษางานอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ.

ลักขณา โกรธา และ ชาญชัย จารุภาชน์. (2559). การศึกษาเวลามาตรฐานและการเปรียบเทียบการจ่ายค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน : กรณีศึกษาหน่วยงานบริการและบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยนอกกลุ่มงานเภสัชโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน. 11(ฉบับพิเศษ), 144-155.

เสนาะ ติเยาว์. (2543). หลักบริหาร. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Barnes, Ralph M. (1980). Motion and Time Study : Design and Measurement of Work (7th ed.). NY: John Wiley & Sons.

Salvendy, G. (Ed.). (2001). Handbook of industrial engineering: technology and operations management. John Wiley & Sons.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30