การรับรู้สิทธิการรักษาพยาบาลของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

ผู้แต่ง

  • วชากร นพนรินทร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
  • นเรศ ขำเจริญ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
  • ราตรี โพธิ์ระวัช คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
  • เกตุวรี สิมวิวัฒน์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
  • กรกนก สิมวิวัฒน์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

คำสำคัญ:

การรับรู้สิทธิ, การรักษาพยาบาล, นักศึกษา

บทคัดย่อ

      การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้สิทธิการรักษาพยาบาลของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร มีกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 367 คน คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างจากสูตรยามาเน่ ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด และค่าต่ำสุด

      ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 55.90 มีอายุเฉลี่ย 20.32±1.24 ปี   โดยกลุ่มตัวอย่างมีอายุ 19 ปี มากที่สุด ร้อยละ 35.10 ศึกษาอยู่คณะครุศาสตร์ ร้อยละ 31.60 อยู่ระดับชั้นปีที่ 1 ร้อยละ 27.50 มีความรู้เกี่ยวกับสิทธิการรักษาพยาบาล คือ สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) ร้อยละ 89.40 มีความรู้เกี่ยวกับบริการด้านสุขภาพของมหาวิทยาลัย คือ ประกันอุบัติเหตุ มากที่สุด ร้อยละ 36.10 และมีความรู้เกี่ยวสถานที่ใช้บริการสุขภาพของ คือ กองพัฒนาการศึกษา (SAC) ร้อยละ 80.40 และการรับรู้สิทธิการรักษาพยาบาลของนักศึกษา มหาลัยราชภัฏกำแพงเพชร อยู่ในระดับมาก (x = 3.77, S.D. = 1.74) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความคิดเห็นต่อการที่ทุกคนที่มีสัญชาติไทยจะได้รับสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) โดยอยู่ในระดับมากที่สุด (x = 4.82, S.D. = 0.85) รองลงมา คือ บัตรประชาชนเลข 13 หลักสามารถใช้ในการขอใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้ โดยอยู่ในระดับมากที่สุด (x = 4.63, S.D. = 1.40) และสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าครอบคลุมบริการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิตและการรักษาภาวะซึมเศร้า เป็นข้อที่มีความคิดเห็นน้อยที่สุดโดยอยู่ในระดับปานกลาง (x = 2.95, S.D. = 2.13) ตามลำดับ

References

World Health Organization. (2529). Ottawa charter for health promotion, (No. WHO/EURO: 1986-4044-43803-61677). World Health Organization. Regional Office for Europe. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2567 จาก World Health Organization. (2529). Ottawa charter for health promotion, (No. WHO/EURO: 1986-4044-43803-61677). World Health Organization. Regional Office for Europe. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2567 จาก https://iris.who.int/ bitstream/handle/10665/349652/WHO-EURO-1986-4044-43803-61677-eng.pdf.

กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ. (2561). แผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2562 - 2566). กรุงเทพฯ. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2567 จาก http://www.fio.co.th/fioWebdoc64/p640330.pdf.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560. (2561) ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 134 ตอนที่ 40ก, หน้า 1. ลงวันที่ 6 เมษายน 2561.

สิทธิพร เกษจ้อย. (2567). การรับรู้และการเข้าถึงสิทธิการรักษาพยาบาลของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน จังหวัดขอนแก่นตามหลักสังคหวัตถุ 4. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 13(2), 143-157.

พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2558. (2558). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 132 ตอนที่ 53 ก, น. 1-13. ลงวันที่ 22 สิงหาคม 2558.

กรมบัญชีกลาง. (2560). คู่มือสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ พ.ศ. 2560. สำนักงานคลังเขต และสำนักงานคลังในจังหวัดเขต 8. สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2567 จาก https://dmsic.moph.go.th/ index/detail/8352.

ขนิษฐา จิตรรักษ์. (2566). โครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า (30 บาท รักษา ทุกโรค). วารสารวิจัยและพัฒนาเพื่อท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 1(1), 11-15.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2566). การสำรวจอนามัยและสวัสดิการ พ.ศ. 2566. กองสถิติสังคมสำนักงานสถิติแห่งชาติ. กองสถิติพยากรณ์สำนักงานสถิติแห่งชาติศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษาฯ กรุงเทพมหานคร 10210สืบค้นเมื่อ 18 สิงหาคม 2567 จาก https://www.nso.go.th/nsoweb/ storage/survey_detail/2023/20230929131046_99194.pdf.

สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน. (2567). ฐานข้อมูลสถิติ

จำนวนนักศึกษาปริญญาตรี (ภาคปกติ). สืบค้นเมื่อ 18 สิงหาคม 2567 จาก https://tabian.kpru.ac.th/work1/no1.asp.

Yamane, T. (2516). Statistics: An introductory statistics, (Second Edition). New York: Harper & Row.

Best, J.W. (2524). Research in Education. New Jersey: Prentice -Hall.

Cronbach, L. J. (2565). Coefficient alpha and the internal structure of tests. psychometrika, 16(3), 297-334.

สง่า ไชยนา. (2565). ประสิทธิผลการดำเนินงานโครงการ 30 บาท รักษาทุกที่ จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อม และสุขภาพชุมชน, 7(2), 117-126.

ขนิษฐา จิตรรักษ์. (2566). โครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า(30 บาท รักษาทุกโรค). วารสารวิจัยและพัฒนาเพื่อท้องถิ่นมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 1(1), 11-15.

Kozier, Barbara ; Erb, Glenora Lea & Blais, Kathleen. (2535). Concepts and Issues in Nursing Practice. Addison-Wesley Publishing Company Medical/Nursing Division.

National Health Security Office. (2565). Medical Health Care Right. สืบค้นเมื่อ 21 สิงหาคม 2567 จาก https://www.nhso. go.th/page/coverage_rights_authentication.

พัทธมน กูลประสิทธิ์. (2560). การรับรู้สิทธิการรักษาพยาบาลของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ปริญญาบริหาร ธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการตลาด. คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี. มหาวิทยาลัยขอนแก่น. สืบค้นเมื่อ 27 สิงหาคม 2567 จาก http://mslib. kku.ac.th/elib/multim/books/Marketing2560/MISS%20PATTAMON%20KOOLPRASIT/pdf/02_abs.pdf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-13