ข้อมูลสำหรับผู้แต่ง

ภาษาไทย :

1. ความยาวของบทความไม่เกิน 12 หน้ากระดาษ ขนาด A4

2. ชื่อเรื่อง : มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษขนาดตัวอักษร 20 พอยต์. (ตัวหนา) ชิดซ้าย หน้ากระดาษ

3. ชื่อผู้นิพนธ์ : ระบุชื่อเต็มของผู้เขียน ทั้งชื่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาดตัวอักษร 15 พอยต์ (อักษรปกติ) จัดชิดช้าย

4. ชื่อสังกัดหน่วยงาน : ระบุชื่อเต็มของผู้เขียนทั้งชื่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และ Corresponding Author, E-mail ใช้ขนาดตัวอักษร 11พอยต์. (ตัวอักษรปกติ) จัดชิดซ้าย

5. บทคัดย่อ : บทคัดย่อทางวิทยาศาสตร์ ควรสรุปงานวิจัยทั้งหมดไว้ในย่อหน้าเดียว บทคัดย่อที่รัดกุมและมุ่งเน้นข้อเท็จจริง จำเป็นต้องมีความยาวไม่เกิน 300 คำ บทคัดย่อควรระบุความสำคัญของหัวข้อวิจัย วัตถุประสงค์ของงานวิจัย อธิบายวิธีการวิจัยแบบย่อ ๆ ผลลัพธ์สำคัญ และข้อสรุปหลัก บทคัดย่อมักจะนำเสนอแยกจากเนื้อหาหลักของบทความ ดังนั้นบทคัดย่อควรสามารถสื่อความได้ด้วยตัวเอง นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงการใช้คำย่อที่ไม่เป็นมาตรฐานหรือไม่ค่อยพบเห็น แต่ถ้าหากจำเป็นต้องใช้คำย่อดังกล่าว จะต้องนิยามความหมายของคำย่อเหล่านั้นไว้ตั้งแต่ครั้งแรกที่ปรากฏในบทคัดย่อ (และนิยามอีกครั้งในเนื้อหาหลัก บริเวณที่ใช้คำย่อ) และหลีกเลี่ยงการอ้างแหล่งข้อมูล รูปภาพ และตาราง

6. บทนํา: บทนำควรดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน โดยเน้นความสำคัญของงานวิจัย ควรให้บริบทด้วยการสร้างพื้นฐานความรู้ และพาผู้อ่านไปสู่ส่วนที่เหลือของงานวิจัยอย่างมีเหตุผล ควรใช้ภาษาที่ชัดเจน เนื้อหาไหลลื่น และอ้างอิงแหล่งที่มาอย่างถูกต้อง งานวิจัยที่จะได้รับการตีพิมพ์ต้องตรงตามวัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร เป็นงานวิจัยที่ยังไม่เคยเผยแพร่ที่ใดมาก่อน บทความวิจัยควรกระชับโดยควรมีจำนวนคำไม่เกิน 6,500 คำ (ไม่รวมอ้างอิง) รูปแบบการจัดพิมพ์สามารถใช้เทมเพลตสำหรับวารสารได้ตามต้นฉบับนี้

เนื้อหาหลักใช้แบบตัวอักษร DilleniaUPC ขนาด 13 pt แบบคอลัมน์คู่ ส่วนตารางหรือรูปภาพสามารถเลือกใช้คอลัมน์เดี่ยวหรือคู่ได้ตามความเหมาะสม โดยทางวารสารจะมีฝ่ายผลิตเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของรูปแบบอีกครั้ง ผู้แต่งควรตรวจสอบคำสะกด (Spell checked) และไวยากรณ์ (Grammar checked) ของต้นฉบับ ตรวจสอบว่าแหล่งอ้างอิงทั้งหมดที่กล่าวถึงในรายการอ้างอิง (Reference List) ได้มีการอ้างอิงในเนื้อหา และแหล่งอ้างอิงในเนื้อหาทั้งหมดมีอยู่จริงในรายการอ้างอิง

การอ้างอิงควรใช้แหล่งที่น่าเชื่อถือโดยเฉพาะบทความวิจัย บทความวิชาการ อย่าใช้แหล่งอ้างอิงที่ไม่มีการเผยแพร่ที่สามารถสืบค้นได้ทั่วไปการอ้างอิงในเนื้อหาใช้ระบบตัวเลขในวงเล็บ เช่น กกกก [1] ขขขข [1-2] หรือ คคคค [1,3] Kramer et al. (2010) [4] ได้แสดง..... สมศรี และคณะ(2567) [5] ได้กล่าว.......... และโปรดเรียงลำดับการอ้างอิงให้ถูกต้องทั้งบทความ ส่วนรายการอ้างอิงท้ายบทความยึดระบบ APA โดยเรียงลำดับตามหมายเลข ตัวอย่างอยู่ในหัวข้อ “เอกสารอ้างอิง”

7. วิธีดําเนินการวิจัย : หากเป็นการวิจัยที่มีการทดลองในห้องปฏิบัติการควรมีรายละเอียดเพียงพอเพื่อให้นักวิจัยอิสระสามารถนำไปทดลองซ้ำได้ เช่น รายละเอียดอุปกรณ์ สารเคมี เครื่องมือ เป็นต้น วิธีการที่เคยตีพิมพ์แล้วควรสรุปเนื้อหาโดยสังเขปและอ้างอิงแหล่งที่มา หากมีการวิธีการจากงานวิจัยที่เผยแพร่ไปแล้ว ควรใส่เครื่องหมายอัญประกาศและอ้างอิงแหล่งที่มาด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ควรมีการอธิบายการปรับเปลี่ยนวิธีการที่มีอยู่แล้วด้วย หากเป็นงานวิจัยที่ใช้วิธีการรวบรวมข้อมูล (แบบสอบถาม บทสัมภาษณ์ ฯลฯ) ควรบอกแนวทางการวิจัยโดยรวม (เชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ ฯลฯ) และเทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูล (สถิติเชิงพรรณนาสำหรับตัวเลข การวิเคราะห์เชิงธีมสำหรับข้อความ)

8. ผลการวิจัยและอภิปรายผล : ผลการวิจัยควรชัดเจนและกระชับ ส่วนการอภิปรายผลควรวิเคราะห์ความสำคัญของผลการวิจัย ไม่ใช่การนำเสนอผลซ้ำ หลีกเลี่ยงการอ้างอิงงานวิจัยอื่น ๆ มากเกินไป (ควรใส่เหตุผลจากผู้นิพนธ์ลงไปบ้าง) และไม่ควรแย้งหรืออภิปรายวรรณกรรมที่ตีพิมพ์ไปแล้ว หัวข้อ พิมพ์ด้วยอักษรหนา 15 พอยต์ ระยะห่างหลัง 6 พอยต์ หัวข้อรอง ตัวอักษร ขนาด 13 พอยต์ ระยะห่างหลัง 6 พอยต์

9. สรุปผล : ข้อสรุปที่สำคัญของงานวิจัยสามารถนำเสนอในส่วน "สรุปผล" (Conclusions) แบบย่อหน้าเดียว พิมพ์ด้วยตัวอักษร 15 ระยะห่างหลัง 6 พอยต์

10. กิตติกรรมประกาศ : ในส่วนนี้ท่านสามารถกล่าวขอบคุณแหล่งทุนวิจัย หรือกล่าวขอบคุณบุคคลต่างๆ ที่ให้ความช่วยเหลือระหว่างการวิจัย เช่น ให้ความช่วยเหลือด้านภาษา ช่วยเหลือการเขียน หรือ บรรณาธิการตรวจสอบบทความ เป็นต้น พิมพ์ด้วยอักษรหนา 15 พอยต์ ระยะห่างหลัง 6 พอยต์ หัวข้อรอง ตัวอักษร ขนาด 13 พอยต์ ระยะห่างหลัง 6 พอยต์

11. เอกสารอ้างอิงในเนื้อหา : วารสารใช้รูปแบบการเขียนเอกสารอ้างอิงแบบแวนคูเวอร์ (Vancouver Style) โดยกำหนดเป็นตัวเลข แหล่งอ้างอิงก่อนหลัง ด้วยรูปแบบ [1] แทนแหล่งอ้างอิงลำดับที่ 1 ในกาการกล่าวอ้างอิง