การเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการโลจิสติกส์ของธุรกิจแก๊สอุตสาหกรรม: กรณีศึกษา บริษัท แก๊สอุตสาหกรรม แห่งหนึ่ง

Authors

  • ธนากร รอดเจริญ คณะบริหารธุรกิจ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120
  • บุญเลิศ วงศ์เจริญแสงสิริ คณะบริหารธุรกิจ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120

Keywords:

Vehicle Routing Problem, Clarke & Wright's Savings Algorithm, Industrial Gas, ปัญหาการจัดเส้นทาง, อัลกอริธึมแบบประหยัดของ Clarke-Wright, แก๊สอุตสาหกรรม

Abstract

              The main objective of this research is to study an enhance of the efficiency of transportation using theories related to the Capacitated Vehicle Routing Problem (CVRP) by conducting experiments that involve changing the truck types and adjusting the delivery time window. The Clarke & Wright's Savings Algorithm was employed to find the most suitable and efficient routes, and the results of the experiments were analyzed and compared with the current operational processes.

              The research findings indicate that increasing the sizes of the trucks, which lead to reduced transportation costs per delivered quantity over shorter distances can result in cost savings of up to 20%. This is achieved under the condition that all customers permit the use of larger trucks for safe delivery.

              Furthermore, expanding the delivery time window is a factor that contributes to increased transportation efficiency. By extending the delivery time to 3, 5, and 7 days, it is possible to achieve overall cost savings of up to 30%, 41%, and 46% respectively. These savings are achieved under the condition that the product level on the delivery date must not fall below the level that can be maintained in the gas supply system at the customers’ location.

              The main practice of this research is to maintain the product level on the day of refueling at a minimum of 30% of the maximum tank capacity. This is achieved by adjusting the delivery time to achieve greater long-term cost savings and improve transportation efficiency in the short term. Therefore, this research enhances the management of vehicle routing and delivery planning, allowing for potential improvements to the current operational processes.

บทคัดย่อ

              งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์หลักเพื่อศึกษาและเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งโดยใช้ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเส้นทางเดินรถบรรทุกแบบระบุน้ำหนัก (Capacitated Vehicle Routing Problem, CVRP) โดยการทดลองเปลี่ยนประเภทของรถบรรทุกและปรับช่วงเวลาในการส่งมอบสินค้า เพื่อหาเส้นทางที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยมีการนำแนวคิดแบบประหยัดของ Clarke-Wright (Clarke & Wright's Savings Algorithm) มาใช้ร่วมกับการวิเคราะห์และเปรียบเทียบผลการทดลองกับกระบวนการที่ใช้ปัจจุบัน

              ผลการวิจัยพบว่าการเปลี่ยนชนิดของรถบรรทุกให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งมีค่าใช้จ่ายต่อปริมาณสินค้าที่ส่งต่อระยะทางขนส่งที่น้อยลงสามารถลดค่าใช้จ่ายในการส่งสินค้าได้ถึง 20% ภายใต้เงื่อนไขที่ลูกค้าทุกรายอนุญาตให้รถบรรทุกขนาดใหญ่เข้าส่งสินค้าได้อย่างปลอดภัย

              นอกจากนี้การขยายช่วงเวลาในการส่งสินค้า (Time Window) เป็นปัจจัยที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่งสินค้า เนื่องจากสามารถมีเวลาในการรับคำสั่งซื้อจากลูกค้ามากขึ้น และใช้หลักการจัดเส้นทางเดินรถโดยใช้แนวคิดแบบประหยัดของ Clarke-Wright โดยการขยายระยะเวลาการส่งสินค้าให้เป็น 3 วัน, 5 วัน, และ 7 วัน สามารถประหยัดค่าขนส่งโดยรวมได้ถึง 30%, 41%, และ 46% ตามลำดับ ภายใต้เงื่อนไขที่ระดับสินค้าในวันส่งมอบต้องไม่ต่ำกว่าระดับสินค้าที่สามารถรักษาได้ในระบบจ่ายแก๊สที่ลูกค้า

            หลักการปฏิบัติของงานวิจัยนี้คือรักษาระดับสินค้าในวันที่ไปเติมสินค้าให้ไม่ต่ำกว่า 30% ของความจุสูงสุดของถัง โดยการปรับเวลาการส่งสินค้าเพื่อให้สามารถประหยัดค่าขนส่งโดยรวมได้มากขึ้นในระยะยาว และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าได้ในระยะสั้นๆ ดังนั้นผลงานวิจัยนี้ช่วยให้การจัดการเส้นทางเดินรถบรรทุกและการวางแผนการส่งสินค้ามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยสามารถปรับปรุงกระบวนการที่ใช้อยู่ในปัจจุบันให้ดียิ่งขึ้น

Downloads

Published

2024-04-26

Issue

Section

สาขาวิศวกรรมศาสตร์ (Engineering)