รูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายชุมชนในการขับเคลื่อนความปลอดภัยทางถนน ตำบลเหนือคลอง อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่

ผู้แต่ง

  • สกลวรรธน์ นะนวน นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ งานยุทธศาสตร์ กลุ่มงานประกันสุขภาพยุทธศาสตร์และสารสนเทศทางการแพทย์ โรงพยาบาลเหนือคลอง อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ 81130

DOI:

https://doi.org/10.55164/jgrdi.v1i2.1140

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, ภาคีเครือข่ายชุมชน, การขับเคลื่อนความปลอดภัยทางถนน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายชุมชนในการขับเคลื่อนความปลอดภัยทางถนนตำบลเหนือคลอง อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่  โดยดำเนินการแบบปฏิบัติการมีส่วนร่วมกับแกนนำภาคีเครือข่ายในชุมชน โดยใช้วงจร PAOR และเครื่องมือ 5 ชิ้น ในการขับเคลื่อนกลไก ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.) รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกผลกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การบันทึกภาคสนามและข้อมูลทุติยภูมิของชุมชน ระยะเวลาในการศึกษา กรกฎาคม 2562 – เมษายน 2563 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยจำแนกข้อมูลและสรุปแต่ละประเด็นย่อยจากผลกระบวนการและเทคนิคการเรียนรู้ในแต่ละขั้นตอนตามกรอบการวิจัยปฏิบัติการและเรียบเรียงเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า สาเหตุหลักของการเกิดอุบัติเหตุในตำบลเหนือคลอง คือ ผู้ขับขี่ไม่เคารพกฎจราจร ไม่ลดความเร็วในเขตชุมชน แซงบริเวณทางโค้ง ผู้ขับขี่ดื่มของมึนเมา และเด็กวัยรุ่นคึกคะนองขับรถเร็ว โดยรถจักรยานยนต์เป็นประเภทรถที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด และถ้าผู้ขับขี่บนท้องถนนปฏิบัติตามกฎจราจรทุกคนจะสามารถลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุลงได้มาก ส่วนการป้องกันอุบัติเหตุในชุมชนต้องปรับปรุง 1) คนต้องมีความรู้ด้านกฎจราจรและเคารพกฎกติกาสังคมในการใช้รถใช้ถนน ผู้ขับขี่ทุกคนต้องมีสติและศักยภาพของร่างกายที่พร้อมเสมอ 2) สภาพแวดล้อมของถนนไม่ชำรุดเสียหาย มีไฟส่องสว่างเพียงพอ มีป้ายบอกทางและป้ายเตือนจุดเสี่ยง และ 3) มีระบบที่เกี่ยวข้องที่สมบูรณ์และพร้อมใช้ เช่น กฎหมายระเบียบทางจราจร และการใช้คำสั่ง ศปถ. ในการขับเคลื่อนความปลอดภัยทางถนน ทำให้ได้แนวทางการบูรณาการเพื่อเชื่อมโยงการดำเนินการกับภาคีเครือข่ายในชุมชน มีการแต่งตั้งคณะทำงานการขับเคลื่อนถนนปลอดภัยในตำบล มีการร่วมกันวิเคราะห์สถานการณ์และปัญหา ร่วมกันแก้ไขปัญหาจุดเสี่ยง จุดอันตราย ควบคุมพฤติกรรมเสี่ยง (เมาแล้วขับ ขับรถเร็ว และขับรถไม่สวมหมวกนิรภัย) มีมาตราองค์กร สื่อสารประชาสัมพันธ์ ก่อให้เกิดสถานศึกษาปลอดภัย ชุมชนปลอดภัย และนำสถานการณ์ที่ได้มาติดตามประเมินผล เพื่อหารือปรับปรุงการทำงานให้ดียิ่งขึ้น ข้อเสนอแนะ ควรศึกษาปัจจัยที่ส่งผลให้การดำเนินงานประสบผลสำเร็จ และปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการจัดการความปลอดภัยทางถนน

References

Road Safety Thailand. (2018 - 2021). Study in the project to strengthening road Safety Programme in Thailand through cooperation between the Thai government and the World Health Organization (WHO-RTG CCS 2018 - 2021), Department of Disaster Prevention and Migitation, Ministry of Interior, Bangkok, Thailand.

Accident Information Center to Promote Road Safety Culture. (2019). Statistics including road accident statistics. https://www.thairsc.com/

Kemmis, S., & McTaggart, R. (1988). The action research planner (3rd ed.). Geelong: Deakin University.

Boonsu, T., Sonthichai, A. & Krongyuth, P. (2020). A participation model on road safety management with kindergarten people in Ubon Ratchathani. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 7(3), 309-321.

Road Safety Academic Center. (2018). Process driven mechanism for the establishment of 5 tools. http://www.roadsafetythai.org/

Iamtrakul, P., Simcharean, P. & Jantaworn, P. (2012). Participation of local communities in road safety through Participation Research Approach (PAR): a case study of Thakhlong municipality, Pathumthani. Journal of Architectural/Planning Research and Studies (JARS), 9(1), 61-81.

Deedard, N. & Worapattirakul, P. (2021). The involvement of government agencies and citizens in defense and reduce road accidents in Songkhla Province, UMT Poly Journal, 18(1), 233-246.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

03/05/2024

How to Cite

นะนวน ส. (2024). รูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายชุมชนในการขับเคลื่อนความปลอดภัยทางถนน ตำบลเหนือคลอง อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่. วารสารบัณฑิตวิจัย พัฒนาและนวัตกรรม, 1(2), 15–28. https://doi.org/10.55164/jgrdi.v1i2.1140