การพัฒนากระบวนการผลิตกระดาษจากฟางข้าวด้วยวิธีทางกลร่วมกับวิธีทางชีวภาพ
DOI:
https://doi.org/10.14456/jeit.2025.1คำสำคัญ:
กระดาษ, ฟางข้าว , วิธีทางกล , ชีวภาพบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัยในครั้งนี้เพื่อศึกษาขั้นตอนการผลิตกระดาษจากฟางข้าวโดยใช้วิธีทางกลร่วมกับวิธีทางชีวภาพ และศึกษาคุณสมบัติกระดาษจากฟางข้าวที่ได้มาจากกระบวนการผลิต โดยจะมีการเลือกฟางข้าวของต้นข้าวสองชนิดคือข้าวหอมมะลิ กข15 และข้าวเหนียวเขี้ยวงู มาทดสอบทำเยื่อกระดาษด้วยวิธีทางกล ได้แก่ การบดสับด้วยเครื่องจักร และการต้มในถังแรงควบคุมแรงดันที่มีการออกแบบและสร้างขึ้นมาให้เหมาะสมกับการใช้งาน โดยใช้อุณหภูมิในการต้ม 140 องศาเซลเซียส ความดัน 361 กิโลปาสคาล เพื่อลดเวลาและประหยัดเชื้อเพลิงในการต้มเยื่อกระดาษในส่วนวิธีทางชีวภาพจะนำฟางข้าวมาหมักกับน้ำที่มีสารจุลินทรีย์ย่อยสลาย พด.2 จากนั้นนำเยื่อฟางที่ได้ไปขึ้นรูปเป็นกระดาษและนำไปทดสอบหาคุณสมบัติ หลังการทดสอบพบว่า ฟางข้าวจากข้าวหอมมะลิ กข15 สามารถนำไปผลิตเป็นกระดาษจากฟางได้ดีกว่า เนื่องจากให้ปริมาณเยื่อกระดาษได้มากกว่า เมื่อนำฟางข้าวไปผ่านขั้นตอนทางกลและนำไปแช่ ในน้ำที่มีเชื้อจุลินทรีย์ พด2. เป็นเวลา 30 วัน จะสามารถนำไปต้มในถังควบคุมแรงดันเป็นเวลา 30 นาที ซึ่งวิธีดังกล่าวสามารถลดเวลาการต้มเยื่อฟางได้ดีกว่าวิธีการผลิตด้วยสารโซดาไฟจึงทำให้ประหยัดพลังงานได้มากกว่า โดยที่ความยาวของเส้นใยเยื่อฟางข้าวที่เหมาะจะใช้ที่ขนาด 33.4 มิลลิเมตร น้ำหนักเยื่อกระดาษ 45 กรัม ความหนากระดาษ 0.33 มิลลิเมตร และใช้แป้งข้าวเจ้าเป็นตัวปรับปรุงคุณภาพกระดาษจะทำให้ความต้านทานแรงดึงของกระดาษมากที่สุด 142.1 นิวตัน มีดัชนีต้านทานแรงดึง 58.42 นิวตันเมตรต่อกรัม เพิ่มมากขึ้นแต่การซับน้ำลดลงเหลือร้อยละ 75.58 ซึ่งมีคุณสมบัติเพียงพอต่อการนำไปพัฒนาอัดขึ้นรูปไปเป็นบรรจุภัณฑ์ใส่อาหารได้
References
[1] มูลนิธิเกษตรรักษ์สิ่งแวดล้อม (ประเทศไทย), "ข้าว," [ออนไลน์]. Available: http://www.aecth.org/upload/13823/Yg2qaxoQyg.pdf. [เข้าถึงเมื่อ: 2 ธันวาคม 2566].
[2] ชัยพร สามพุ่มพวง, รังสินี โสธรวิทย์, วุฒินันท์ คงทัด และ วารณี ธนะแพสย์, "การพัฒนากระบวนการผลิตกระดาษฟางข้าวแบบพื้นบ้าน," ใน การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 45, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2550, หน้า 332-337.
[3] ชนากานต์ แย้มฎีกา, ผานิตย์ นาขยัน, สาวิกา กอนแสง, ภาวิณี อารีศรีสม และ วีณา นิลวงศ์, "อิทธิพลของน้ำหมักชีวภาพต่อการย่อยสลายและการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีของฟางข้าว," วารสารแก่นเกษตร, ปีที่ 50, ฉบับที่ 6, หน้า 1797-1807, 2565.
[4] อุดมเดชา พลเยี่ยม และ นิภาพร ปัญญา, "การพัฒนากระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษจากเศษของป่านศรนารายณ์ของชุมชนหุบกระพง จังหวัดเพชรบุรี เพื่อส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน," รายงานการวิจัย, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, กรุงเทพฯ, 2563.
[5] พินิจกานต์ อารีวงษ์ และ วรรณิษา นาคแกมทอง, "การผลิตเยื่อกระดาษจากฟางข้าวด้วยวิธีทางชีวภาพร่วมกับกรรมวิธีโซดาไฟ," วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต, ภาควิชาชีววิทยา, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 2555.
[6] กัลยวัต พรสุรัตน์, "การใช้ราย่อยลิกนินในการผลิตเยื่อกระดาษจากชานอ้อยใบสับปะรดและปอสา โดยวิธีทางชีวภาพ," วิทยานิพนธ์ปริญญาพฤกษ์เศรษฐกิจมหาบัณฑิต, ภาควิชาวิทยาศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2546.
[7] กรกนก กอวงค์, นริศรา ศรีเมฆ และ อภิญญา เจ๊กภู่, "การใช้ราย่อยลิกนินในการผลิตเยื่อกระดาษจากกาบกล้วยน้ำว้าโดยวิธีทางชีวภาพ," วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต, ภาควิชาวิทยาศาสตร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 2554.
[8] จารุกร สุวรรณเมือง, "การกำจัดลิกนินโดยวิธีทางชีวภาพออกจากฟางข้าวเพื่อพัฒนาการผลิตเยื่อกระดาษจากฟางข้าวโดยเชื้อราไวท์ร็อท," รายงานการวิจัย, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2547.
[9] L. Nortoualee, "การเพิ่มมูลค่าฟางข้าวโดยการผลิตเป็นกระดาษบรรจุภัณฑ์," วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาสิ่งแวดล้อม, มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 2564.
[10] สำนักนิเทศและการถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน, "การขยายเชื้อผลิตโดยร่วมกับกากน้ำตาล," กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ, 2550.
[11] กรมพัฒนาที่ดิน, "การใช้จุลินทรีย์โดยเลือกสารเร่งซุปเปอร์ พด.2," กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ, 2558.
[12] โสฬส แซ่ลิ้ม, "ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย," รายงานผลการวิจัย, กรมพัฒนาที่ดิน, กรุงเทพฯ, 2559.
[13] วีณารัตน์ มูลรัตน์, สมชาย โชคตระการ และ อัญชลี จาละ, "ประสิทธิภาพของน้ำหมักชีวภาพจากเศษปลาที่ใช้น้ำกากส่าเหล้าทดแทนกากน้ำตาลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักกวางตุ้งฮ่องเต้," ใน การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 48, กรุงเทพฯ, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2553, หน้า 82-88.
[14] นวลจันทร์ ชบา, "ศึกษาการใช้น้ำหมักชีวภาพและจุลินทรีย์ต่อการย่อยสลายตอซังข้าว การปลดปล่อยไนโตรเจนที่เป็นประโยชน์และการปลูกข้าวสุพรรณบุรี 1 ในชุดดินเดิมบาง," กรมพัฒนาที่ดิน, กรุงเทพฯ, 2557.
[15] อมรัตน์ ชุมทอง และ ภัทรพร ภักดีฉนวน, "ผลของน้ำหมักชีวภาพต่อการย่อยสลายฟางข้าวและการเจริญเติบโตของข้าวพื้นเมืองพันธุ์รวงรี," วารสารพืชศาสตร์สงขลานครินทร์, ปีที่ 6, ฉบับที่ 1, หน้า 82-90, 2562.
[16] กระทรวงอุตสาหกรรม, "มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก. 170-2550 กระดาษเหนียว," ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3688, พ.ศ. 2550, สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม, กรุงเทพฯ, 2550.
[17] นพมาส เยื่อมสวัสดิ์, "ผลของการฉาบภายนอกของสารละลายแป้งต่อคุณสมบัติของผิวกระดาษ," วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2025 วารสารวิศวกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ของวารสาร
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยก่อนเท่านั้น