ปัจจัยที่มีผลต่อการหมักก๊าซชีวภาพแบบไร้ออกซิเจนจากกากมันสำปะหลังและน้ำเสีย

ผู้แต่ง

  • นพดล ยุบลชู สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • ภากร งามแสง สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • ไทยทัศน์ สุดสวนสี สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

การหมักแบบไม่ใช้ออกซิเจน , ก๊าซชีวภาพ , กากมันสำปะหลัง , น้ำเสีย , สัดส่วนที่เหมาะสม

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการหมักก๊าซชีวภาพจากกากมันสำปะหลังและน้ำเสีย โดยดำเนินการทดลองด้วยอัตราส่วนของกากมันสำปะหลังต่อน้ำเสีย 5 แบบ ได้แก่ 1:1, 2:1, 3:1, 1:2 และ 1:3 ผลการวิเคราะห์ ANOVA แสดงให้เห็นว่าสัดส่วนดังกล่าวมีผลต่อปริมาณก๊าซชีวภาพที่เกิดขึ้น โดยพบว่าอัตราส่วน 1:3 ให้ผลผลิตก๊าซสูงสุด โดยมีปริมาณการผลิตเฉลี่ย 8.81 ลิตรในวันที่ 13 ในขณะที่อัตราส่วน 1:2 มีปริมาณการผลิต 6.17 ลิตร ส่วนอัตราส่วน 1:1, 2:1 และ 3:1 มีปริมาณการผลิตต่ำกว่าอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ ได้ทำการทดลองเพิ่มเติมในถังหมักขนาด 80 ลิตร ด้วยการใช้สัดส่วน 1:3 โดยศึกษาผลกระทบของความเร็วรอบการกวน 45 และ 110 รอบต่อนาที พบว่าความเร็วรอบ 110 รอบต่อนาทีช่วยเพิ่มการกระจายตัวของจุลินทรีย์และสารอาหารในถังหมัก ทำให้จุลินทรีย์สามารถเข้าถึงสารอาหารได้อย่างทั่วถึง และลดการสะสมของสารยับยั้ง เช่น กรดไขมันที่เกิดขึ้นในกระบวนการหมัก ส่งผลให้การผลิตก๊าซเริ่มต้นในวันที่ 5 และเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงวันที่ 13 โดยมีปริมาณสะสมสูงสุด 45.14 ลิตร ขณะที่ความเร็วรอบ 45 รอบต่อนาทีเริ่มผลิตก๊าซในวันที่ 7 และมีปริมาณสะสมสูงสุดเพียง 21.58 ลิตร ซึ่งสามารถสรุปได้ว่าอัตราส่วน 1:3 และความเร็วรอบ 110 รอบต่อนาทีเหมาะสมที่สุดสำหรับการผลิตก๊าซชีวภาพจากกากมันสำปะหลังและน้ำเสีย ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตก๊าซชีวภาพในอนาคต

References

[1] A. M. P. Santos, A. L. S. Castro, K. R. Salonon, T. S. O. Souza, and D. Vich, "Global research trends on anaerobic digestion and biogas production from cassava wastewater: A bibliometric analysis," J. Chem. Technol. Biotechnol., vol. 96, no. 11, pp. 3035–3050, Nov. 2021, doi: 10.1002/jctb.6976.

[2] P. Kohmuean, N. Boonrod, and A. Wongkoblap, "Biogas production from cassava waste: effect of concentration," in Proc. Int. Conf. Mater. Sci. Eng., vol. 778, May 2020, pp. 1–9, doi: 10.1088/1757-899X/778/1/012115.

[3] I. A. Cruz, L. R. S. Andrade, A. A. Jesus, B. Vasconcelos, R. Bharagava, M. Bilal, R. T. Figueiredo, and R. L. Souza, "Potential of eggshell waste derived calcium for sustainable production of biogas from cassava wastewater," SSRN Electron. J., Aug. 2022, doi: 10.2139/ssrn.4163678.

[4] N. Sawyerr, C. Trois, and T. Workneh, "Optimization of biogas yield through co-digestion of cassava biomass and vegetable & fruits waste at mesophilic temperatures," Int. J. Renew. Energy Res., vol. 9, no. 2, pp. 915–926, Jun. 2019, doi: 10.20508/ijrer.v9i2.9151.g7665.

[5] E. M. Aznury, M. T. Endang, and I. Yudanto, "The influence of stirring speed on biogas production from cow dung using an anaerobic batch digester," MATEC Web of Conferences, vol. 268, p. 06001, 2019, doi: 10.1051/matecconf/201926806001.

[6] Y. S. Ahou, J. B. B. Angeli, S. Awad, L. Baba-Moussa, and Y. Andrés, "Lab-scale anaerobic digestion of cassava peels: The first step of energy recovery from cassava waste and water hyacinth," Environ. Technol., vol. 41, no. 22, pp. 2916–2926, Oct. 2019, doi: 10.1080/09593330.2019.1670266.

[7] C. G. Achi, A. Hassanein, and S. Lansing, "Enhanced biogas production of cassava wastewater using zeolite and biochar additives and manure co-digestion," Energies, vol. 13, no. 2, pp. 491–508, Jan. 2020, doi: 10.3390/en13020491.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2024

How to Cite

[1]
ยุบลชู น. ., งามแสง ภ. ., และ สุดสวนสี ไ., “ปัจจัยที่มีผลต่อการหมักก๊าซชีวภาพแบบไร้ออกซิเจนจากกากมันสำปะหลังและน้ำเสีย”, JEIT, ปี 2, ฉบับที่ 6, น. 50–65, ธ.ค. 2024.