การพัฒนากระบวนการผลิตผ้าคลุมไหล่ทอมือพิมพ์สีธรรมชาติเพื่อเพิ่มมูลค่าและลดความสูญเปล่าด้วยการประยุกต์แผนผังสายธารแห่งคุณค่า
คำสำคัญ:
ผ้าทอมือ, พิมพ์สีจากธรรมชาติ , การวิเคราะห์คุณค่ากิจกรรม , การวิเคราะห์สายธารแห่งคุณค่า , การลดความสูญเปล่าบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มุ่งเน้นการศึกษากระบวนการผลิตผ้าคลุมไหล่ทอมือพิมพ์สีธรรมชาติ (ECO PRINT) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ขั้นตอนการผลิตและพัฒนาแนวทางในการลดความสูญเปล่า รวมถึงการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ การดำเนินการวิจัยประกอบด้วยการเก็บข้อมูลภาคสนาม ณ บ้านดงน้อย หมู่ 5 ตำบลห้วยโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยใช้แผนภูมิกระบวนการผลิตและแผนผังสายธารแห่งคุณค่าเป็นเครื่องมือหลักในการวิเคราะห์ข้อมูล กระบวนการผลิตแบ่งออกเป็นสองส่วนสำคัญ ได้แก่ การทอผ้าฝ้าย 7 ขั้นตอน ใช้เวลารวมเฉลี่ย 761 นาทีต่อรอบ และการพิมพ์ลวดลายสีธรรมชาติ 24 ขั้นตอน ใช้เวลารวมเฉลี่ย 405.6 นาทีต่อรอบ การจับเวลาและวิเคราะห์ข้อมูลในแต่ละขั้นตอนดำเนินการผ่านการวิเคราะห์รอบการผลิต 5 รอบ ผลการวิเคราะห์ระบุถึงความสูญเปล่าหลักที่พบในกระบวนการ ได้แก่ การเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็น และการรอคอย ซึ่งสามารถปรับปรุงได้โดยการจัดการพื้นที่ทำงาน การใช้เทคโนโลยีสนับสนุน เช่น เครื่องมือจัดเก็บและระบบอัตโนมัติ และการจัดการเวลาในกระบวนการผลิต แนวทางเหล่านี้ช่วยลดเวลาการผลิตได้ถึงร้อยละ 5.2 และลดระยะทางการเคลื่อนไหวลงร้อยละ 40 ส่งผลให้กระบวนการผลิตมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดความสูญเปล่า และเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ ECO PRINT อย่างยั่งยืน
References
[1] Ministry of Commerce, Thailand, OTOP strategic development plan 2022–2026. Ministry of Commerce, 2022.
[2] UNESCO, Creative economy report: Cultural times. United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization, 2021.
[3] European Commission, Green economy and the role of circularity in crafts and design. European Union, 2021.
[4] K. Fletcher, Sustainable fashion and textiles: Design journeys. Earthscan, 2008.
[5] J. P. Womack and D. T. Jones, Lean thinking: Banish waste and create wealth in your corporation. Simon & Schuster, 1996.
[6] สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง, รายงานภาวะเศรษฐกิจเศรษฐกิจฐานรากและการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น, กระทรวงการคลัง, 2564.
[7] Institute of Industrial Engineers, Lean tools for process improvement: Value stream mapping and beyond. Industrial Engineering Press, 2010.
[8] United Nations, Sustainable development goals: A decade of action. United Nations, 2020.
[9] Institute of Industrial Engineers, Lean tools for process improvement: Value stream mapping and beyond. Industrial Engineering Press, 2010.
[10] J. P. Womack and D. T. Jones, Lean thinking: Banish waste and create wealth in your corporation. Simon & Schuster, 1996.
[11] S. G. Naik and R. Kodali, "Value stream mapping: A recent literature review," Benchmarking: An International Journal, vol. 17, no. 4, pp. 536–559, 2010.
[12] วีระศักดิ์ ศรีลารัตน์, สุจาริณี สังข์วรรณะ, ภัทรภร พุฒพันธ์, ธิติรัตน์ วงษ์กาฬสินธุ์, ณรัช พรนิธิบุญ และ ธนัง ชาญกิจชัญโญ, "การพิมพ์สีธรรมชาติจากใบเพกาด้วยเทคนิคการถ่ายโอนสีสู่ผ้าฝ้าย," วารสารวิจัยวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์, ปีที่ 1, ฉบับที่ 1, หน้า 45–55, 2565.
[13] รมิตา มุสิกพงศ์, "การประยุกต์ใช้แผนภูมิสายธารแห่งคุณค่าในการปรับปรุงกระบวนการผลิตของธุรกิจพลาสติกฟิล์ม: กรณีศึกษาบริษัท TPK," วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยบูรพา, 2558.
[14] โสรญา รอดประเสริฐ, "การพัฒนากระบวนการผลิตผ้าทอมือและเส้นใยย้อมสีธรรมชาติ (กลุ่มแม่บ้านทอผ้าบ้านหนองสังข์)," กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 2566.
[15] วรดา พรมหนู, "การจัดการสายธารแห่งคุณค่าและการจัดสมดุลสายการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการผลิต: กรณีศึกษากระบวนการผลิต 4Q00 บริษัท AUTOMOTIVE จำกัด," วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559.
[16] ธนาภรณ์ สุทธิโพธิ์, ชฎาพร อินหลี, ธีราภรณ์ ลักขณาอำไพ และ สุธิดา ทับทิมศรี, "การจัดการซัพพลายเชนการผลิตผ้าทอ: กรณีศึกษาผ้าทอจอมป่า ตำบลแม่จัน อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก," รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติ สำหรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ครั้งที่ 1, 22 กุมภาพันธ์ 2564, หน้า 651–658.
[17] P. Srithiphan, "Study of process cotton fabric tie-dye with natural dyes from nipa palm: A case study of cotton fabric tie-dye with natural dyes group Wat Prasittaram School," ResearchGate, 2020.
[18] ชัยวัฒน์ แก้วคล้ายขจรศิริ, "การศึกษากระบวนการผ้าย้อมครามและพืชชนิดอื่น เพื่อพัฒนาผ้าทอมือจากสีธรรมชาติ," วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 2555.
[19] กาสัก เต๊ะขันหมาก, พนิตสุภา ธรรมประมวง และ กานดา เต๊ะขันหมาก, "การพัฒนาผ้าฝ้ายมัดหมี่ทอมือย้อมสีธรรมชาติต่อยอดภูมิปัญญาสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ตำบลโคกเจริญ อำเภอโคกเจริญ จังหวัดลพบุรี," วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 2564, หน้า 84–99.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิศวกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ของวารสาร
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยก่อนเท่านั้น