การหาค่าปัจจัยที่เหมาะสมในการเชื่อมความต้านทานแบบจุดสำหรับเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี ด้วยการออกแบบการทดลองแบบแฟกทอเรียลแบบสามระดับ

ผู้แต่ง

  • ศุภกิจ เศิกศิริ สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • อามิณฑ์ หล้าวงศ์ สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • วิชยุทธ จันทะรี สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • อุทัย ธารพรศรี สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • ไทยทัศน์ สุดสวนสี สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • ปิยณัฐ โตอ่อน สาขาวิชาวิศวกรรมโลจิสติกส์และเทคโนโลยีขนส่ง คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

DOI:

https://doi.org/10.14456/jeit.2024.22

คำสำคัญ:

การเชื่อมความต้านทานแบบจุด, เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี, การออกแบบการทดลองแฟกทอเรียลแบบสามระดับ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่เหมาะสมต่อค่าแรงดึงของการเชื่อมความต้านทานแบบจุดสำหรับเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี โดยใช้วิธีการออกแบบการทดลองแบบแฟกทอเรียลสามระดับ ในการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อค่าแรงดึง ประกอบด้วยกระแสไฟฟ้าและระยะการเชื่อมจุดแบบในระยะแกน Dy เป็นการทดลองรูปแบบที่ 1 และกระแสไฟฟ้าและระยะการเชื่อมจุดแบบในระยะแกน Dx เป็นการทดลองรูปแบบที่ 2 ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าค่ากระแสไฟฟ้าและระยะการเชื่อมมีผลกระทบต่อค่าแรงดึงของชิ้นงานทดสอบและมีความแข็งแรงของจุดเชื่อมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ด้วยการทดสอบความเป็นปกติและการวิเคราะห์ความแปรปรวน โดยใช้โปรแกรมทางสถิติ (Minitab Version 18) และพบว่าค่าที่เหมาะสมที่สุดที่ทำให้แรงดึงมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รูปแบบที่ 1 มีค่ากระแสไฟฟ้า 600 แอมป์ และระยะเชื่อมที่ 5 มิลลิเมตร มีค่าแรงดึง 72.6852 กิโลนิวตันต่อตารางมิลลิเมตร และรูปแบบที่ 2 มีค่ากระแสไฟฟ้า 1800 แอมป์ และระยะเชื่อมที่ 15 มิลลิเมตร มีค่าแรงดึง 44.7037 กิโลนิวตันต่อตารางมิลลิเมตร วิธีการนี้สามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการหาปัจจัยที่เหมาะสมกรณีที่มีผลตอบสนองเพียงค่าเดียว และช่วยลดการลองผิดลองถูกจากการปรับตั้งค่าของปัจจัย

References

[1] C. Rajarajan, T. Sonar, P. Sivaraj, S. Raja, and N. Mathiazhagan, "The effect of resistance spot welding parameters on microstructure and strength of DP800 steel joints using response surface methodology," Advances in Materials Science, vol. 22, no. 3, Walter de Gruyter GmbH, pp. 53–78, Sep. 01, 2022. doi: 10.2478/adms-2022-0013.

[2] M. Ramdani, M. Benachour, and M. Rahou, "The effects of resistance spot welding parameters on the mechanical behavior of stainless steel," Engineering, Technology & Applied Science Research, vol. 13, no. 2, pp. 10501–10504, Apr. 02, 2023. doi: 10.48084/etasr.5019.

[3] T. Arunchai, K. Sonthipermpoon, P. Apichayakul, and K. Tamee, "Resistance spot welding optimization based on artificial neural network," International Journal of Manufacturing Engineering, vol. 2014, Hindawi Limited, pp. 1–6, Nov. 09, 2014. doi: 10.1155/2014/154784.

[4] Y. He, K. Yang, X. Wang, H. Huang, and J. Chen, "Quality prediction and parameter optimisation of resistance spot welding using machine learning," Applied Sciences, vol. 12, no. 19, MDPI AG, p. 9625, Sep. 25, 2022. doi: 10.3390/app12199625.

[5] กวิน สนธิเพิ่มพูน, ชลลดา เรือนอินทร์, เดชฤทธิ์ กิติเดช, และปริญญา ดวงจิตร, "การหาค่าตัวแปรที่เหมาะสมในการเชื่อมจุดของอลูมิเนียมอลัลอย 6061-T6 ในอุตสาหกรรมยานยนต์," วารสารวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, ปีที่ 18, ฉบับที่ 2, หน้า 96-110, 2566.

[6] ภูเมศวร์ แสงระยับ และ นิวัฒน์ มูเก็ม, "อิทธิพลของตัวแปรในการเชื่อมความต้านทานแบบจุดที่มีผลต่อความแข็งแรงของรอยต่อแผ่นเหล็กกล้าไร้สนิม 316L," วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, ปีที่ 14, ฉบับที่ 3, หน้า 705-721, 2565.

[7] วรญา วัฒนจิตสิริ, สุรัตน์ ตรัยวนพงศ์, และกิตติพงษ์ กิมะพงศ์, "การหาค่าตัวแปรการเชื่อมเสียดทานกวนแบบจุดรอยต่อเกยระหว่างอะลูมิเนียมและเหล็กกล้าเคลือบสังกะสี," วิศวกรรมสารฉบับวิจัยและพัฒนา, ปีที่ 28, ฉบับที่ 4, หน้า 59-68, 2560.

[8] มูหามัด เต๊ะยอ, อามีณา เมฆารัฐ และประภาศ เมืองจันทร์บุรี, "การเชื่อมอะลูมิเนียมหล่อกึ่งแข็งระหว่าง SSM356 กับ SSM6061โดยกรรมวิธีการเชื่อมทิกและการเชื่อมเสียดทานแบบกวน," Naresuan University Journal: Science and Technology, ปีที่ 3, ฉบับที่ 26, หน้า 113-132, 2018.

[9] สิทธิชัย เจริญราช, ยอดเปรม ภูกำเนิด และสุริยา ประสมทอง, "การพิจารณาสภาวะที่เหมาะสมในการเชื่อมพอกผิวต่อการต้านทานการสึกหรอด้วยกระบวนการเชื่อมแก๊สทังสเตนอาร์คแบบลวดร้อนโดยวิธีพื้นผิวตอบสนอง," วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, ปีที่ 17, ฉบับที่ 2, หน้า 87-102, 2564.

[10] สุชาดา มะโนชัย และสมเกียรติ จงประสิทธิ์พร, "การพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตในกระบวนการเชื่อมแบบจุดโดยวิธีการออกแบบการทดลอง กรณีศึกษาฐานโช๊คอัพ," ใน การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 13, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2555, หน้า 194-202.

[11] E. Hazir, K. Hüseyin Koc, and S. Hiziroglu, "Optimization of sanding parameters using response surface methodology," Maderas. Ciencia y tecnología, no. ahead, Universidad del Bio Bio, pp. 0-0, 2017. doi: 10.4067/s0718-221x2017005000101.

[12] ณัฐวดี มหานิล, บุญเกื้อ หวังรายกลาง, สมพร จงอร่ามเรือง, วิรัชชัย วินิจฉัย และวัชรินทร์ จัตุกูล, "การประยุกต์ใช้หลักการ DMAIC ตามแนวคิดของซิกซ์ ซิกม่าเพื่อลดของเสียในกระบวนการเชื่อมประกอบรถยนต์," JSCI-SBU, ปีที่ 4, ฉบับที่ 1, หน้า 68–81, 2024.

[13] วราภรณ์ แก้วศิริ, อานุภาพ วงษ์แก้ว, และนรงค์ วิชาผา, "การประยุกต์ใช้วิธี TOPSIS สำหรับการแก้ปัญหาการหาค่าเหมาะสมที่สุดที่มีตอบสนองหลายค่า," วารสารวิศวกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, JEIT, ปีที่ 2, ฉบับที่ 4, หน้า 12–21, 2024.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-10-2024

How to Cite

[1]
เศิกศิริ ศ., หล้าวงศ์ อ., จันทะรี ว. ., ธารพรศรี อ., สุดสวนสี ไ., และ โตอ่อน ป., “การหาค่าปัจจัยที่เหมาะสมในการเชื่อมความต้านทานแบบจุดสำหรับเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี ด้วยการออกแบบการทดลองแบบแฟกทอเรียลแบบสามระดับ”, JEIT, ปี 2, ฉบับที่ 5, น. 34–43, ต.ค. 2024.