การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อประชาสัมพันธ์หลักสูตรเทคโนโลยีมัลติมีเดีย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • สิรวิชญ์ สงวนศรี สาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
  • ธนกร เพ็งกระจ่าง สาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
  • นวัฒกร โพธิสาร สาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
  • วินิต ยืนยิ่ง สาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์

DOI:

https://doi.org/10.14456/jeit.2024.18

คำสำคัญ:

การพัฒนาเว็บไซต์, การประชาสัมพันธ์, เทคโนโลยีมัลติมีเดีย

บทคัดย่อ

การบริหารจัดการหลักสูตรในยุคปัจจุบันจำเป็นต้องนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาช่วยในการสื่อสารไปยังผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีประสิทธิภาพ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินคุณภาพของเว็บไซต์ที่ออกแบบเพื่อประชาสัมพันธ์หลักสูตรเทคโนโลยีมัลติมีเดีย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ โดยใช้โมเดล ADDIE ในการพัฒนาเกม กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษา สังกัดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบประเมินคุณภาพเว็บไซต์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า เว็บไซต์ที่พัฒนาขึ้นมีการออกแบบมีความสวยงาม ทันสมัย และใช้งานง่าย โดยมีการใช้สีและตัวอักษรที่เหมาะสม ช่วยให้การเข้าถึงข้อมูลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เนื้อหามีความชัดเจน ถูกต้อง และน่าเชื่อถือ จัดระเบียบในรูปแบบที่เป็นมิตรกับผู้ใช้ ภาพประกอบที่ใช้ในเว็บไซต์มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับเนื้อหา เพิ่มความน่าสนใจและความเข้าใจโดยรวม เมื่อประเมินคุณภาพของเว็บไซต์ พบว่า ค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับดี ค่าเฉลี่ย 4.24 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.57 กล่าวโดยสรุปการวิจัยนี้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการออกแบบที่ดี เนื้อหาที่ชัดเจน และการใช้ภาพประกอบที่เหมาะสมในการสร้างเว็บไซต์ที่มีประสิทธิภาพและเป็นมิตรกับผู้ใช้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพไปยังผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของหลักสูตรได้

References

[1] วิพงษ์ชัย ร้องขันแก้ว, "การพัฒนาวีดิทัศน์บนอินเทอร์เน็ตเพื่อการประชาสัมพันธ์แหล่งนันทนาการในจังหวัดนครนายก," วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, ปีที่ 10, ฉบับที่ 2, หน้า 40-56, 2022.

[2] ทาลินี แตรรูปวิไล, "รูปแบบการบริหารการประชาสัมพันธ์ของวิทยาลัยเทคโนโลยีธุรกิจการอาหารไทยและนานาชาติ," วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, ปีที่ 13, ฉบับที่ 1, หน้า 164–178, 2019.

[3] เอกสิทธิ์ จันทร์สด, รัตนากร กิ่งมาลา, จันทร์ดารา สุขสาม, และ วินิต ยืนยิ่ง, "การพัฒนาเว็บไซต์สถานที่ท่องเที่ยวตำบลแนงมุด อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์," วารสารคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสร้างสรรค์, ปี 1, ฉบับที่ 1, หน้า 14–20, 2023. DOI: https://doi.org/10.14456/jcct.2023.3.

[4] สุคนธ์ทิพย์ คำจันทร์ และ ประภาพร กุลลิ้มรัตน์ชัย, “การประยุกต์ใช้ User Interface (UI) และ User Experience (UX) ในการออกแบบแพลตฟอร์ม,” วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, ปี 16, ฉบับที่ 2, หน้า 63–77, 2022.

[5] ปัณณทัต ผิวอินทร์, กฤษณะ หุ่มสม, และ พรทิพย์ เหลียวตระกูล, “การออกแบบและพัฒนาแอปพลิเคชันสนับสนุนการตัดสินใจเลือกเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ,” วารสารวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, ปี 2, ฉบับที่ 1, หน้า 54–69, 2021.

[6] ภูมิภัทร อิ่มสำราญ, "คู่มือเริ่มต้นสู่การเป็น UX/UI Designer รวมทุกแง่มุมของสายอาชีพ และทักษะที่สำคัญ," [ออนไลน์]. Available: https://blog.skooldio.com/ux-ui-designer-ultimate-guide. [เข้าถึงเมื่อ: 10 ส.ค. 2023].

[7] บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น, 2554.

[8] วีรสิทธิ์ จันทนา และ ชุติมา เกศดายุรัตน์, “ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 4Es ที่ส่งผลให้ผู้บริโภคสั่งอาหารประเภทชาบูผ่านโมบายแอปพลิเคชัน Food Delivery,” วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์, ปี 17, ฉบับที่ 2, หน้า 60-85, 2021.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-08-2024

How to Cite

[1]
สงวนศรี ส., เพ็งกระจ่าง ธ., โพธิสาร น., และ ยืนยิ่ง ว., “การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อประชาสัมพันธ์หลักสูตรเทคโนโลยีมัลติมีเดีย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์”, JEIT, ปี 2, ฉบับที่ 4, น. 35–43, ส.ค. 2024.