การศึกษาต้นทุนโลจิสติกส์โดยใช้ระบบต้นทุนฐานกิจกรรมของเกษตรกรผู้เพาะปลูกแตงโมพันธุ์ตอร์ปิโด

ผู้แต่ง

  • เจษฎาภรณ์ บุญจงรัก สาขาวิชาวิศวกรรมโลจิสติกส์และเทคโนโลยีขนส่ง คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • พรสุดา ภูลิ้นลาย สาขาวิชาวิศวกรรมโลจิสติกส์และเทคโนโลยีขนส่ง คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • รัชฎา แต่งภูเขียว คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

DOI:

https://doi.org/10.14456/jeit.2024.17

คำสำคัญ:

โซ่อุปทาน, ต้นทุนฐานกิจกรรม, ต้นทุนโลจิสติกส์, แตงโมพันธุ์ตอร์ปิโด

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะโซ่อุปทานและการวิเคราะห์ต้นทุนโลจิสติกส์ในการเพาะปลูกแตงโม พันธุ์ตอร์ปิโด พื้นที่ทำการศึกษา คือ กลุ่มเกษตรกรบ้านดอนยานาง ที่มีพื้นที่เพาะปลูกในอำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยใช้วิธีการเลือกแบบจำเพาะเจาะจงจำนวนทั้งหมด 37 ราย ผลการศึกษาพบว่า กิจกรรมในการเพาะปลูกประกอบไปด้วย 7 กิจกรรมหลัก คือ การจัดซื้อจัดหา การเตรียมแปลงปลูก การปลูก การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว การขนส่ง และการดูแลสินค้าคงคลัง สำหรับต้นทุนโลจิสติกส์ตามระบบต้นทุนฐานกิจกรรมในภาพรวม เท่ากับ 2,671,700 บาทต่อฤดูกาลเพาะปลูก โดยต้นทุนที่สูงที่สุดอยู่ในการดูแลรักษา มีต้นทุนทั้งสิ้น 875,820 บาท คิดเป็นร้อยละ 32.81 ในการใช้ทรัพยากรด้านวัสดุใช้งาน/วัสดุสิ้นเปลืองมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 38.05 ของต้นทุนรวม แนวทางปฏิบัติในการลดต้นทุนโลจิสติกส์ของเกษตรกร คือ ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยชีวภาพควบคู่กับการใช้ปุ๋ยเคมีและใช้น้ำหมักชีวภาพควบคู่กับยาฆ่าแมลง จะช่วยลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง ซึ่งจะทำให้ลดต้นทุนลงได้ และควรรวมกลุ่มเกษตรกรในการสั่งซื้อเมล็ดพันธุ์ เพื่อให้ได้ราคาที่ถูกลงกว่าราคาปกติ สั่งซื้อเมล็ดพันธุ์ในปริมาณที่เหมาะสมกับพื้นที่เพาะปลูก เพื่อลดการใช้ทรัพยากรที่ไม่จำเป็น

References

[1] กรมส่งเสริมการเกษตร. “แตงโมเนื้อ”. [ออนไลน์]. Available: http://production.doae.go.th. [เข้าถึงเมื่อ: 29 สิงหาคม 2567].

[2] ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา. “ข้อมูลน่ารู้เกี่ยวกับแตงโม”. 2565. [ออนไลน์]. Available: https://sciplanet.org/content/10596. [เข้าถึงเมื่อ: 29 สิงหาคม 2567].

[3] กรุงเทพธุรกิจ. “ตลาดแตงโมกาฬสินธุ์คึกคัก. เกษตรกรระบุแม้ราคาตกยังดีกว่าทำนาขาดทุน”. [ออนไลน์]. Available: https://www.bangkokbiznews.com. [เข้าถึงเมื่อ: 15 มกราคม 2562].

[4] สมพงษ์ ปัญญายิ่งยง. “การวิเคราะห์ระบบต้นทุนฐานกิจกรรม: กรณีศึกษาผู้ให้บริการรับจ้างขนส่ง”. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2553.

[5] I. J. Chen and A. Paulraj. "Understanding supply chain management: critical research and a theoretical framework," International Journal of Production Research, vol. 42, no. 1, pp. 131-163, 2004. DOI: 10.1080/00207540310001602865.

[6] Lorraine Bond. “ห่วงโซ่คุณค่าและห่วงโซ่อุปทาน”. [ออนไลน์]. Available: https://slideplayer.in.th/slide/15287882. [เข้าถึงเมื่อ: 12 ตุลาคม 2562].

[7] กมลชนก สุทธิวาทนฤพุฒิ และคณะ. “กิจกรรมโลจิสติกส์”. [ออนไลน์]. Available: http://www.lopburi.go.th/logistic.htm. [เข้าถึงเมื่อ: 22 สิงหาคม 2562].

[8] ดยธนิตศักดิ์ พุฒิพัฒน์โฆษิต. “กิจกรรมโลจิสติกส์”. [ออนไลน์]. Available: http://www.logisticdru.blofspot.com/2015/09.blogpost.html. [เข้าถึงเมื่อ: 22 สิงหาคม 2562].

[9] กิตติชัย เจริญชัย. “การศึกษาระบบจัดการโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ของมันสำปะหลังในจังหวัดมหาสารคาม”. รายงานการวิจัย. คณะวิทยาการจัดการ. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม; 2562.

[10] สารนิพนธ์ บีบีอิลฮาม. “ทฤษฎีต้นทุนฐานกิจกรรม”. [ออนไลน์]. Available: http://mim12bibiilham.blogspot.com. [เข้าถึงเมื่อ: 9 มกราคม 2562].

[11] รุธิร์ พนมยงค์ และคณะ. “ข้อดี-ข้อเสียของเครื่องมือ”. [ออนไลน์]. Available: https://techno56.wordpress.com. [เข้าถึงเมื่อ: 12 ตุลาคม 2562].

[12] จินตนา จันทนนท์, ศักดาเดช กุลากุล และ นิรมล เนื่องสิทธะ. “การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนจากการลงทุนปลูกแตงโมเกษตรกรกรณีศึกษา ตำบลท่าก้อน อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร”, Journal of Management and Development Ubon Ratchathani Rajabhat University, vol. 10, no. 1, pp. January – June 2023.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-08-2024

How to Cite

[1]
บุญจงรัก เ., ภูลิ้นลาย พ. ., และ แต่งภูเขียว ร., “การศึกษาต้นทุนโลจิสติกส์โดยใช้ระบบต้นทุนฐานกิจกรรมของเกษตรกรผู้เพาะปลูกแตงโมพันธุ์ตอร์ปิโด”, JEIT, ปี 2, ฉบับที่ 4, น. 22–34, ส.ค. 2024.