ผลกระทบของอุณหภูมิอบแห้งในการอบแห้งข้าวเปลือกด้วยเครื่องอบแห้งแบบถังทรงกระบอกหมุน
DOI:
https://doi.org/10.14456/jeit.2024.15คำสำคัญ:
การอบแห้ง, ข้าวเปลือก, อัตราส่วนความชื้น, ถังทรงกระบอกหมุนบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของอุณหภูมิอบแห้งในการอบแห้งข้าวเปลือกที่อุณหภูมิอบแห้งต่ำโดยนำข้าวเปลือกพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ที่ความชื้นเริ่มต้นร้อยละ 30 – 35 มาอบแห้งด้วยลมร้อนในถังทรงกระบอกหมุนจนกระทั่งได้ความชื้นสุดท้ายข้าวเปลือกหลังอบแห้งไม่เกินร้อยละ 15 โดยน้ำหนักมาตรฐานแห้ง เพื่อศึกษาผลของอุณหภูมิอบแห้ง 3 ระดับ คือ 40, 50 และ 60 องศาเซลเซียส ที่ส่งผลต่อจลพลศาสตร์ของการอบแห้ง อัตราการอบแห้ง และความสิ้นเปลืองพลังงานจำเพาะข้าวเปลือก ผลการศึกษาพบว่า เมื่อเปลี่ยนอุณหภูมิอบแห้งเพิ่มสูงขึ้น ความชื้นและอัตราส่วนความชื้นของเมล็ดข้าวเปลือกจะลดลงเป็นเส้นโค้งแบบฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล โดยความชันของเส้นโค้งที่อุณหภูมิอบแห้งสูงมีความชันมากกว่าที่อุณหภูมิอบแห้งต่ำกว่า ทำให้การอบแห้งที่อุณหภูมิสูงจะใช้เวลาในการอบแห้งน้อยกว่าการอบแห้งที่อุณหภูมิต่ำ หากพิจารณาความชื้นสุดท้ายเดียวกัน ส่วนผลกระทบของอุณหภูมิอบแห้งต่ออัตราการอบแห้งและความสิ้นเปลืองพลังงานจำเพาะพบว่า มีค่าสูงสุดเท่ากับ 0.296 กิโลกรัมต่อชั่วโมง และ 11.90 เมกะจูลต่อกิโลกรัม ตามลำดับ ที่อุณหภูมิอบแห้ง 60 องศาเซลเซียส หากนำผลการศึกษานี้ไปสร้างระบบควบคุมเครื่องอบแห้งข้าวเปลือก จะทำให้ได้ข้าวเปลือกมีคุณภาพตามที่ต้องการและใช้พลังงานในการอบที่เหมาะสม
References
[1] ทรงพล วิจารณ์จักร, สุพรรณ ยั่งยืน และ จักรมาส เลาหวณิช, "การศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้เครื่องอบแห้งแบบถังทรงกระบอกหมุนด้วยรังสีอินฟราเรดร่วมลมร้อนปล่อยทิ้งในกระบวนการผลิตข้าวกล้องงอก," วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร, ปีที่ 48, ฉบับที่ 3, หน้า 51-54, 2560.
[2] สุรพงษ์ โซ่ทอง และไกรสร รวยป้อม, "การอบแห้งข้าวเปลือกงอกด้วยเทคนิคฟลูอิไดซ์เบดโดยใช้ไอน้ำร้อนยวดยิ่ง," วารสารวิจัยรำไพพรรณี, ปีที่ 10, ฉบับที่ 3, หน้า 88-97, 2559.
[3] สมพจน์ คำแก้ว, "อุณหภูมิการอบแห้งแบบหมุนเวียนของข้าวเปลือกมีผลต่อสารหอม," วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, ปีที่ 16, ฉบับที่ 3, หน้า 1-9, 2564.
[4] A. O. Adeodu, S. O. Akinola, and M. F. N. Abowei, "Theoretical model for predicting moisture ratio during drying of spherical particles in a rotary dryer," Journal of Physics: Conference Series, Association of Official Analytical Chemists (1995), Official Methods of Analysis of the Association of Official Analytical Chemists. Washington D.C., USA, 2019.
[5] A. Sitorus, Navrinaldi, S. A. Putra, I. S. Cebro, and R. Bulan, "Modelling drying kinetics of paddy in swirling fluidized bed drying," Case Studies in Thermal Engineering, vol. 28, p. 101572, 2021.
[6] H. Netkham, S. Tirawanichakul, S. Chindaruksa, and Y. Tirawanichakul, "Mathematic model of germinated paddy drying," Maejo International Journal of Energy and Environmental Communication, Maejo University, pp. 49-52, 2019.
[7] ศราวุธ รัตนวงษ์, วีรชัย แผ่นอุไร, พงษ์พันธ์ พรมพิพักต์ และเกยูร ดวงอุปมา, "การสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ในการอบแห้งข้าวเปลือกด้วยเครื่องอบ แบบถังทรงกระบอกหมุน," วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, ปีที่ 10, ฉบับที่ 1, หน้า 125-142, 2565.
[8] พระราชบัญญัติ มาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551, (2560, 8 กันยายน), ราชกิจจานุเบกษา, เล่มที่ 134 ตอนพิเศษ 221 ง, หน้า 42, 2560.
[9] AOAC, Official Methods of Analysis, 14th Edition, Association of Official Analytical Chemists, Washington DC, 1995.
[10] สมชาติ โสภณรณฤทธิ์, "การอบแห้งอาหารและเมล็ดพืช," พิมพ์ครั้งที่ 5, กรุงเทพมหานคร, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, 2537.
[11] ชุติมา วงษ์เสนา, สุวิทย์ เพชรห้วยลึก และ สุเจนต์ พรมเหมือน, "ศึกษาสภาวะที่เหมาะสมสำหรับการอบแห้งหมากสดโดยใช้ตู้อบไฟฟ้าลมร้อน," รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยทักษิณ ประจำปี 2562, มหาวิทยาลัยทักษิณ, หน้า 1339-1347.
[12] อนุสรา นาดี, ยุทธนา ฏิระวณิชย์กุล และ สุภวรรณ ฏิระวณิชย์กุล, "จลนพลศาสตร์การอบแห้งใบเตยด้วยรังสีอินฟราเรดร่วมกับลมร้อนและลมร้อน," วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา, ปีที่ 17, ฉบับที่ 2, หน้า 130-138, 2555.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิศวกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ของวารสาร
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยก่อนเท่านั้น