การศึกษาห่วงโซ่ธุรกิจส่งอาหารออนไลน์ในจังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • ชลลดา วิชาชัย สาขาวิชาวิศวกรรมโลจิสติกส์และเทคโนโลยีขนส่ง คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • อริสา นาริโส สาขาวิชาวิศวกรรมโลจิสติกส์และเทคโนโลยีขนส่ง คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • รัชฎา แต่งภูเขียว สาขาวิชาวิศวกรรมโลจิสติกส์และเทคโนโลยีขนส่ง คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

DOI:

https://doi.org/10.14456/jeit.2024.7

คำสำคัญ:

ห่วงโซ่ธุรกิจ, กิจกรรมโลจิสติกส์, พนักงานส่งอาหาร, แฟลตฟอร์มออนไลน์

บทคัดย่อ

งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาห่วงโซ่ธุรกิจส่งอาหารออนไลน์ และเพื่อวิเคราะห์กิจกรรมโลจิสติกส์ของธุรกิจส่งอาหารออนไลน์ในจังหวัดกาฬสินธุ์ ผลของการศึกษาพบว่า ห่วงโซ่ธุรกิจส่งอาหารออนไลน์ประกอบด้วย 4 กลุ่มหลัก ได้แก่ แพลตฟอร์ม ร้านอาหาร ผู้ใช้บริการหรือลูกค้า และพนักงานส่งอาหารหรือไรเดอร์ โดยแพลตฟอร์มจะทำหน้าที่บริหารจัดการเครือข่าย เพื่อช่วยให้ธุรกิจดำเนินการได้อย่างเป็นระบบ เกิดการไหลเวียนของข้อมูล เงิน สินค้า และข้อมูลย้อนกลับจากการใช้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ การศึกษาต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ของห่วงโซ่ธุรกิจส่งอาหารออนไลน์ พบว่า ต้นน้ำได้แก่ ร้านอาหาร กลางน้ำได้แก่ แพลตฟอร์มและพนักงานส่งอาหารหรือไรเดอร์ ปลายน้ำได้แก่ ลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ ผลการวิเคราะห์กิจกรรมโลจิสติกส์ 13 กิจกรรมพบว่า ต้นน้ำ คือ ร้านอาหาร มีความเกี่ยวข้องกับทุกกิจกรรมของโลจิสติกส์ทั้ง 13 กิจกรรม กลางน้ำ คือ แพลตฟอร์มและพนักงานส่งอาหาร/ไรเดอร์ มีความเกี่ยวข้อง 10 กิจกรรม ในขณะที่ปลายน้ำ ซึ่งคือ ลูกค้า มีความเกี่ยวข้อง 3 กิจกรรม กิจกรรมที่สามารถเป็นทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ประกอบด้วย การบริการลูกค้า การดำเนินการตามคำสั่งซื้อของลูกค้า โลจิสติกส์ย้อนกลับ และการติดต่อสื่อสารทางด้านโลจิสติกส์ ซึ่งเป็นศูนย์กลางหลักของห่วงโซ่อุปทานธุรกิจส่งอาหารออนไลน์

References

[1] C GENERATION, "คุ้มจริงไหม? เป็นไรเดอร์," [ออนไลน์]. Available: https://www.ananda.co.th/blog/thegenc/rider-delivery/. [เข้าถึงเมื่อ: 10 มีนาคม 2567].

[2] ธนิต โสรัตน์, การประยุกต์ใช้โลจิสติกส์และโซ่อุปทาน, กรุงเทพฯ: ประชุมทอง พริ้นติ๊ง กรุ๊ป จำกัด, 2550, หน้า 68-72.

[3] กมลชนก สุทธิวาทนฤพุฒิ และคณะ, การจัดการโซ่อุปทานและโลจิสติกส์, กรุงเทพฯ: ฟิสิกส์เซนเตอร์, 2546.

[4] ชเนศ ลักษณ์พันธุ์ภักดิ์, "ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล," คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2560.

[5] ณัฐกฤษ เชาว์ชาญกิจ, "การตัดสินใจเลือกใช้บริการแอปพลิเคชันสั่งอาหารออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล," หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2564.

[6] ธัญลักษณ์ เพชรประดับสุข, "ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้บริการสั่งอาหารผ่านแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน," บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, คณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม, 2563.

[7] นุช สิงห์แก้ว, "ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการสั่งอาหารผ่านสื่อออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร," มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2563.

[8] กันหา พฤทธิ์พงศกร และคณะ, "ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการธุรกิจส่งอาหารออนไลน์ในยุคสังคมความปกติใหม่," วารสารวิชาการราชภัฏนครสวรรค์, ปีที่ 8, ฉบับที่ 2, หน้า 76-84, 2564.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-04-2024

How to Cite

[1]
วิชาชัย ช. . ., นาริโส อ., และ แต่งภูเขียว ร., “การศึกษาห่วงโซ่ธุรกิจส่งอาหารออนไลน์ในจังหวัดกาฬสินธุ์”, JEIT, ปี 2, ฉบับที่ 2, น. 11–21, เม.ย. 2024.