การศึกษาปัจจัยต่อการให้บริการของศูนย์บริการผลิตภัณฑ์สุขภาพเบ็ดเสร็จระดับอำเภอ กรณีศึกษา เขตพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม
DOI:
https://doi.org/10.14456/jeit.2023.26คำสำคัญ:
โปรแกรม Expert Choice กระบวนการวิเคราะห์แบบลำดับขั้น ศูนย์บริการผลิตภัณฑ์สุขภาพเบ็ดเสร็จบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยต่อการให้บริการของศูนย์บริการผลิตภัณฑ์สุขภาพเบ็ดเสร็จระดับอำเภอ กรณีศึกษา เขตพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม โดยมีขั้นตอนการดำเนินงานวิจัยประกอบด้วย 1) สำรวจข้อมูลเบื้องต้นและการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อการให้บริการของศูนย์บริการผลิตภัณฑ์สุขภาพเบ็ดเสร็จ (OSSC) จำนวน 13 แห่ง ในจังหวัดมหาสารคาม 2) กำหนดค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ของปัจจัยที่ได้จากการสำรวจในข้อ1.นำมาให้ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในงานคุ้มครองผู้บริโภคระดับจังหวัด ที่มีประสบการณ์ทำงานมากกว่า 5 ปี จำนวน 5 ท่าน ทำการประเมินปัจจัยแต่ละปัจจัยด้วยมาตรประมาณค่า 1-9 โดยใช้โปรแกรม Expert Choice ในการประมวลผลด้วยวิธีการตัดสินใจหลายเกณฑ์ด้วยวิธีกระบวนการวิเคราะห์แบบลำดับขั้น (Analytic Hierarchy Process: AHP) และ 3) ค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ของแต่ละปัจจัยที่ส่งผลต่อการให้บริการของศูนย์บริการผลิตภัณฑ์สุขภาพเบ็ดเสร็จ (OSSC) ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีความสำคัญมากที่สุดเรียงตามลำดับ จำนวน 5 ปัจจัย ได้แก่ C3: ความสะดวกในการเข้าถึงบริการบนแพลตฟอร์มดิจิทัล (3E: E-service, E-learning, E-document) มีค่าน้ำหนักของปัจจัยอยู่ที่ 0.606 C1: ความรวดเร็วในการให้บริการและการเข้าถึงข้อมูลที่ทันสมัย มีค่าน้ำหนักของปัจจัยอยู่ที่ 0.191 C4: ความเป็นกันเองและความเป็นมืออาชีพของเจ้าหน้าที่ มีค่าน้ำหนักของปัจจัยอยู่ที่ 0.119 C5: ความสะอาดและความเรียบร้อยของสถานที่ให้บริการ มีค่าน้ำหนักของปัจจัยอยู่ที่ 0.049 และ C2: ความชัดเจนและความถูกต้องของข้อมูลที่ให้บริการ มีค่าน้ำหนักของปัจจัยอยู่ที่ 0.036 ตามลำดับ และปัจจัยดังกล่าวนำมาใช้เป็นเกณฑ์การประเมินให้กับศูนย์บริการในแต่ละแห่งต่อการพัฒนาคุณภาพการให้บริการของศูนย์บริการผลิตภัณฑ์สุขภาพเบ็ดเสร็จต่อไป
References
[1] I. Alessio and L. Ashraf, “Analytic Hierarchy Process and Expert Choice: Benefits and Limitations,” OR Insight, vol. 22, pp.201-210, 2009.
[2] Saaty, T.L. and Mitra, G., What is the analytic hierarchy process?, Mathematical models for decision support. 1988. Springer Berlin Heidelberg. pp. 109-121.
[3] มัลลิกา อุทรักษ์ และอามิณฑ์ หล้าวงศ์, "การตัดสินใจเลือกรูปแบบการจัดการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์ โดยใช้กระบวนการวิเคราะห์ลำดับชั้น กรณีศึกษาโรงเรียนอนุกูลนารี," วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, ปีที่ 1, ฉบับที่ 2, หน้า 44-51, 2023.
[4] ชาญณรงค์ ภุชงควาริน และกสิณ รังสิกรรพุม, "การวิเคราะห์ปัจจัยและการจัดเส้นทางสำหรับการเดินรถสาธารณะในจังหวัดอุบลราชธานี,"วิศวกรรมสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร, ปีที่ 15, ฉบับที่ 1, หน้า 6-16, 2020.
[5] กมลชนก วงศ์เครือ, ก้องภู นิมานันท์ และวรัทยา แจ้งกระจ่าง, " การคัดเลือกปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะโซ่อุปทานของผู้ประกอบการธุรกิจการท่องเที่ยวและกิจกรรมในจังหวัดเชียงใหม่," วารสารข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการไทย, ปีที่ 6, ฉบับที่ 1, หน้า 29-47, 2563.
[6] S. Katharina, et al., “Applying the Analytic Hierarchy Process in healthcare research: A systematic literature review and evaluation of reporting,” BMC Med Inform Decis Mak, vol. 15, no. 1, pp. 1-27, 2015.
[7] ณฐมน เสมือนคิด, “การศึกษาระดับค่าน้ำหนักของปัจจัยในการเลือกทำเลที่ตั้งแฟรนไชส์เครื่องดื่ม,” ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติ และนานาชาติ ครั้งที่ 13, 12 พ.ค. 2565.
[8] ยุวลักษณ์จุลปาน, กมลชนกสุทธิวาทนฤพุฒิ และอรัญญา ศรียัพ, "การประยุกต์ใช้กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์เพื่อเลือกวิธีการที่ช่วยในการลาดตระเวนตรวจการณ์ทางทะเลของกองทัพเรือ," วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนายเรืออากาศ, ปีที่ 15, หน้า 30-41, 2019.
[9] W. Ying, W. Ntapat and P.Manoch, "Route Selection of Thai Fruit Maritime Logistics between Thailand andsouthern China," Journal of Administrative and Management Innovation, vol. 8, no. 2, pp.101-115, 2020.
[10] H. Dhian, S. Sudarmi, S. Sakir, A. Asriani, and La Ode Midi, “Analytical hierarchy process (AHP) in Expert Choice for determining superior plantation commodities: A case in East Kolaka Regency, Indonesia,” Songklanakarin J. Sci. Technol, vol. 44, no. 4, pp.923-928, 2022.
[11] A. Ahmad and P. S. Danial, “Using Analytic Hierarchy Process for Exploring Prioritization of Functional Strategies in Auto Parts Manufacturing SMEs of Pakistan,” SAGE Publications, vol. 4, no. 4, pp.1-12, 2014.
[12] A. Mohamed and D. Mahfoudh, “Use of a multi-criteria decision support model based on the AHP method for the selection of health infrastructure projects,” International Journal of the Analytic Hierarchy Process, vol. 15, no. 1, pp.1-26, 2023.
[13] D. Mehran and Y. Azizah, “Hierarchies Consistency Analysis for Quality Performance Assessment: A study of the criterion weights,” in Proceedings of the International Conference on Industrial Engineering and Operations Management Bandung, Indonesia, March 6-8, pp. 2529-2539, 2018.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิศวกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ของวารสาร
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยก่อนเท่านั้น