การสกัดเอนไซม์เพอร์ออกซิเดสและทำให้บริสุทธิ์จากผักกระเฉดน้ำ

ผู้แต่ง

  • ภัสราวดี เผ่าจินดา สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • เกวลิน วงศ์โถง สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • นันทวดี เนียมนุ้ย สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • ปราณปริยา สุนีย์ สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • แพร สายบัวแดง สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • วชรพร เชื้อบุญ สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • สุดารัตน์ ช้างสาร สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • อัฐพันธ์ หมอช้าง สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • วรัญญา อิ่มประสิทธิชัย ภาควิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

คำสำคัญ:

การสกัด, การทำให้บริสุทธิ์, เพอร์ออกซิเดส, ผักกระเฉดน้ำ, กิจกรรมของเอนไซม์สูงสุด

บทคัดย่อ

เอนไซม์เพอร์ออกซิเดสเป็นเอนไซม์ที่มีการนำมาใช้ประโยชน์ในหลากหลายด้านไม่ว่าเป็นด้านการแพทย์ เกษตรกรรม หรืออุตสาหกรรม ซึ่งเอนไซม์เพอร์ออกซิเดสสามารถพบได้ทั้งในสัตว์ พืช และจุลินทรีย์ ปัจจุบันมีการประยุกต์ใช้เอนไซม์
เพอร์ออกซิเดสจากรากของฮอร์ทเรดิชที่นําเข้าจากต่างประเทศทำให้มีค่าใช้จ่ายสูง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาเอนไซม์เพอร์ออกซิเดสจากผักกระเฉดน้ำ ผักท้องถิ่นของประเทศไทย โดยแยกส่วนในการศึกษา 4 ส่วน (ใบ ลำต้น นมและราก) สกัดโดยใช้ 20 mM Tris-HCl buffer, pH 7.2 ที่ 4 องศาเซลเซียส  หลังจากนั้นนำเอนไซม์มาแยกหาความบริสุทธิ์โดยใช้ความเข้มข้นของ NaCl ที่ 0.0 M และ 0.1 M ใน 20 mM Tris-HCl pH 7.2 ด้วย DEAE-Sepharose column และหาน้ำหนักโมเลกุล โดยวิธี SDS-PAGE ผลการศึกษาพบว่า มีเพียงส่วนประกอบของผักกระเฉดน้ำบริเวณใบและลำต้นเท่านั้นที่พบ activity ของเอนไซม์เพอร์ออกซิเดส โดยจะพบกิจกรรมของเอนไซม์เพอร์ออกซิเดสมากที่สุด ที่ 0.0 M NaCl และพบว่าน้ำหนักโมเลกุลของเพอร์ออกซิเดสในรูปแบบซับยูนิตเดี่ยวเท่ากับ 32.3 ± 2 kDa (n=5) นอกจากนี้ยังพบเอนไซม์แสดงออกถึงกิจกรรมของเอนไซม์สูงสุด เมื่อเปรียบเทียบกับเอนไซม์จากเงาะ ต้อยติ่ง และผักบุ้งไทย ในปริมาณ 5 กรัมเท่ากันที่ตีพิมพ์เผยแพร่มาก่อนหน้านี้ถึง 50-5,000 เท่า เอนไซม์เพอร์ออกซิเดสที่สกัดได้จากผักกระเฉดน้ำเป็นการพบ “กิจกรรมของเอนไซม์สูงสุด” (perfect total activity enzyme)

Downloads

Download data is not yet available.

References

ฐิติกร พรหมบรรจง, ธนากรณ์ ดำสุด, และ สุวรรณา ผลใหม่. (2562). การศึกษาและทำบริสุทธิ์เอนไซม์เปอร์ออกซิเดสบาง

ส่วนที่สกัดจากเปลือกแตงโม และการทดสอบประสิทธิภาพในการสลายสีย้อม. วิจัยทุนสนับสนุน มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.

Chauhan V., Kumari V., & Kanwa. (2020). Comparative Analysis of Amino acid Sequence Diversity and Physiochemical Properties of Peroxidase Superfamily. Journal of Protein Research & Bioinformatics, 2(1), 1-8.

ปนัดดา แย้มเกตุ. (2530). การศึกษาความแตกต่างระหว่าง peroxidase isozyme ของสายพันธุ์ถั่วเขียวที่คัดเลือกจาก สายพันธุ์ VC 1973 A. (วิทยานิพนธ์ปริญญาตรี). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

พัชรากร รัตนภูมี. (2542). เอนไซม์เปอร์ออกซิเดสในใบยางพารา. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.

Alyas, F., & Zia, M. A. (2002). Extraction and Purification of Peroxidase from Soybean Seeds. Pakistan Journal of Agricultural Sciences (Pakistan), 39(4), 326-329.

ชื่นสุมณ ยิ้มถิน และ สาโรจน์ ยิ้มถิน. (2555). การเปรียบเทียบปริมาณเอนไซม์เปอร์ออกซิเดสจากต้อยติ่งและผักบุ้งไทย. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.

Zia, M. A., Kousar, M., Ahmed, I., Iqbal, H. M. N., & Abbas, R. Z. (2011). Comparative Study of PeroxidasePurification from Apple and Orange Seeds. African Journal of Biotechnology, 10(33), 6300-6303.

พืชเกษตร. (2559). ผักกระเฉด (water mimosa). สืบค้นจาก https://link.bsru.ac.th/ioq

วีระ ปิยธีรวงศ์. (2563). หลักการและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเอนไซม์. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Sambrook, J., Fritsch, E. F., & Maniatis, T. (1989). Sodium dodecyl sulphate-polyacrylamide gel electrophoresis (SDS-PAGE) (2 ed., Vol. 3). Cold spring harbor laboratory press.

Desjardins, P., Hansen, J. B., & Allen M. (2009). Microvolume Protein Concentration Determination Using the NanoDrop 2000c Spectrophotometer. Journal of Visualized Experiments, 33, 1-14.

Miranda, V. M., Lahore, F. H., & Cascone O. (1995). Horseradish peroxidase extraction and purification by aqueous two-phase partition. Applied Biochemistry and Biotechnology, 53(2), 147-154.

Mohamed, I., Khonezy, E., Ahmed M. A., Mahmoud, F. D., Afaf, S. F., & Saleh A. M. (2020). Purification and Characterization of Cationic Peroxidase from Ginger (Zingiber Officinale). Bulletin of the National Research Centre, 44(11), 2-9.

Khatun, S., Ashraduzzaman, M., Karim, M. R., Pervin, F., Absar, N., & Rosma, A. (2012). Purification and Characterization of Peroxidase from Moringa Oleifera L. Leaves. Bioresources, 7(3), 3237-3251.

Hu, Y., Wu, J., Luo, P., & Mo, Y. (2012). Purification and Partial Characterization of Peroxidase from Lettuce Stems. African Journal of Biotechnology, 11(11), 2752-2756.

Nadaroglu, H., Çelebi, N., Demir, N., & Demir, Y. (2013). Purification and Characterization of a Plant Peroxidase from Rocket (Eruca vesicaria sbsp. Sativa) (Mill.) (syn. E. sativa) and Effects of Some Chemicals on Peroxidase Activity in Vitro. African Journal of Agricultural Research, 8(21), 2520-2528.

Kvaratskhelia, M., Winkel, C., & Thorneley, R. N. (1997). Purification and Characterization of a Novel Class III Peroxidase Isoenzyme from Tea Leaves. Plant physiology, 114(4), 1237-1245.

สมบัติ คงวิทยา, อริสรา อรกุล, เบญจวรรณ ช่อชู, ปณิตา วงษ์คำ, ชัยศาสตร์ คเชนทร์สุวรรณ, สมเกียรติ พรพิสุทธิมาศ, และคณะ. (2553). การตรวจหาแอคทิวิทีของเอนไซม์เพอร์ออกซิเดสในผลเงาะ. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้, 2(2), 97-101.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-05