การออกแบบและสร้างเครื่องอัดขึ้นรูปกระถางด้วยฟางข้าว

ผู้แต่ง

  • อติศักดิ์ ไสวอมร สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
  • วิทฤทธิ์ โคตรมณี สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
  • สุประวิทย์ เมืองเจริญ สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

คำสำคัญ:

เครื่องอัดขึ้นรูปกระถาง, ฟางข้าว, ความพึงพอใจ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและสร้างเครื่องอัดขึ้นรูปกระถางด้วยฟางข้าว คณะผู้วิจัยได้ทำการออกแบบเครื่องอัดขึ้นรูป ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป ที่มีขนาด ดังนี้ 65x65x130 ซม. จากนั้นทำการสร้างเครื่องอัดขึ้นรูปขึ้นมา เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์ความแปรผัน

            ผลการวิจัยพบว่า 1) การทดลองเครื่องอัดขึ้นรูปกระถางด้วยฟางข้าว จำนวน 9 ครั้ง พบว่าขนาดของปากกระถาง มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 149.67 มม. ขนาดของก้นกระถางมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 109.22 มม. ขนาดความสูงของกระถางมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 109.72 มม. และขนาดความหนาของกระถางมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 2.74 มม. 2) การวิเคราะห์ค่าคืนตัวของกระถางที่ขึ้นรูปโดยใช้เครื่องอัดขึ้นรูปกระถางด้วยฟางข้าว พบว่ากระถางที่ขึ้นรูปโดยใช้เครื่องอัดขึ้นรูปกระถางด้วยฟางข้าวไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยตรวจสอบจากการวัดขนาดของกระถางที่ขึ้นรูปโดยใช้เครื่องอัดขึ้นรูปกระถางด้วยฟางข้าว และ 3) ค่าความพึงพอใจของชาวบ้านหนองหญ้าไซ ต.หนองหญ้าไซ อ.หนองหญ้าไซ จ.สุพรรณบุรี จำนวน 10 คนที่มีต่อเครื่องอัดขึ้นรูปกระถางด้วยฟางข้าว พบว่ามีความพึงพอใจอยู่ในระดับดีมาก ( = 4.7, S.D. = 0.49)

References

ธนกฤต ดิษฐบรรจง, วุฒิชัย สมยา, และ เอนก นารีจันทร์ (2020). แผ่นห่อไบโอจากเปลือกกล้วย. AsianInvent Singapore (AiSG) 2020.

วรรณวิภา ไกรพิทยากร, และ เอนก สาวะอินทร์. (2559). ความเป็นไปได้ของการผลิตกระถางย่อยสลายได้จากกากกาแฟผสมปูนขาวจากเปลือกหอย. วารสารวิจัย มทร. กรุงเทพ, 11(2), 53-61.

ยุพาวรรณ พลการ. (2559). กระถางย่อยสลายได้จากต้นปาล์มน้ำมัน. การประชุมวิชาการ ครั้งที่ 4 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา.

เตือนใจ ปิยัง และคณะ. (2561). การผลิตกระถางต้นไม้ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจาก กากตะกอนน้ำมันปาล์มและวัสดุเหลือทิ้งจากการเพาะเห็ด. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, 10(3), 497-511.

สิรวัลภ์ เรืองช่วย. (2564). การเปลี่ยนฟางข้าว (ของเหลือทิ้งในนาข้าว) เป็นปุ๋ยอินทรีย์ในลักษณะปุ๋ยหมัก. บทความวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.

ยุทธนา เขาสุเมรุ (2559). การทดสอบเทคโนโลยีการจัดการธาตุอาหารในระดับแปลงเกษตรกรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการ ผลิตลำไยนอกฤดู. วารสารพืชศาสตร์สงขลานครินทร์, 3(1).

ณรงค์ ตันชีวะวงศ์. (2552) ระบบไฮดรอลิกและการซ่อมบำรุง. กรุงเทพฯ : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).

Dmitri Kopeliovich. (2017).Polymer Coated Bearings, Engine professional. American Educational Research Association, (January-March 2017), 48-49.

จีีระศักดิ์ วงศา และคณะ. (2561). การประยุกต์ใช้หลักการเหนี่ยวนำความร้อนสำหรับเครื่องหลอมพลาสติก. การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ.

กาหลง บัวนาค และคณะ. (2560). ผลกระทบของกระบวนการทอรีแฟคชั่นต่อค่าพลังงานความร้อนของเปลือกมะม่วงอัดแท่ง. วารสารวิชาการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม : เทพสตรี I-TECH, 12(2).

นิพนธ์ ตันไพบูลย์กุล. (2562). การใช้กากมันสำปะหลังเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเกษตรเป็นตัวประสานในการอัดแท่ง ผง ถ่านจากเปลือกตาลโตนด. วารสาร Veridian E Journal สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 6(5).

อุดมพงษ์ เกศศรีพงษ์ศา. (2562). มารู้จักเวอร์เนียร์คาลิปเปอร์กันดีกว่า. บทความวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

สุรพงษ์ คงสัตย์, และ ธีรชาติ ธรรมวงค์. (2551). การหาค่าความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม (IOC). บทความวิชาการมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-05