การบริหารสินค้าสำเร็จรูป กรณีศึกษา บริษัทผลิตเครื่องปรับอากาศในไทย

ผู้แต่ง

  • ศุภพัชร พวงแก้ว สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
  • สนธินันท์ อินทสนธิ สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
  • ทัตพล กุลวงศ์ สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ

คำสำคัญ:

บริหารสินค้าคงคลัง, ปริมาณการซื้อสินค้าที่เหมาะสม, จุดสั่งสินค้าที่เหมาะสม

บทคัดย่อ

ระบบบริหารคลังสินค้าเป็นระบบหนึ่งที่สำคัญในการตรวจสอบสภาพ หรือจำนวนของสินค้าว่ามีเพียงพอต่อความต้องการของลูกค้าหรือไม่ การบริหารคลังสินค้าไม่เพียงแต่จะบริหารจากระบบห่วงโซ่อุปทานภายในองค์กรเท่านั้น การบริหารคลังสินค้าจำเป็นที่จะต้องพิจารณาถึงข้อมูลของห่วงโซ่อุปทานที่เกี่ยวเนื่องกับองค์กรด้วย เช่น ความต้องการของลูกค้า ในการศึกษาครั้งนี้ได้มีจุดประสงค์เพื่อลดความสูญเสียที่เกิดจากการผลิตสินค้าสำเร็จรูปเข้าสู่คลังสินค้ามากเกินความต้องการของลูกค้า เป็นผลทำให้เกิดความสูญเสียในระบบ ในการศึกษาครั้งนี้จะนำวิธีการบริหารคลังสินค้า โดยการหาปริมาณการสั่งซื้อที่เหมาะสม และการหาจุดสั่งสินค้าที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้ในโรงงานผลิตเครื่องปรับอากาศสำหรับการผลิตเครื่องปรับอากาศเข้าสู่คลังสินค้าเพื่อรอการขาย ข้อมูลสถิติความต้องการของลูกค้า และข้อมูลการผลิตได้ถูกนำมาใช้ในการคำนวณเพื่อหา จุดที่จะเริ่มผลิตสินค้าสำเร็จรูปเติมเข้าคลังสินค้า และปริมาณสินค้าที่จะผลิตเพื่อเติมเข้าคลังสินค้า ระบบที่ออกแบบมาใหม่ถูกนำไปใช้ทดลองในการทำงานเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ ผลที่ได้จากการทดลองนำแผนการที่ได้ออกแบบมาไปใช้แสดงให้เห็นว่าสินค้าสำเร็จรูปที่ผลิตไว้รอการขายที่เกินความต้องการจากสัปดาห์แรกที่มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 42 ลดลงเหลือร้อยละ 7 ที่สัปดาห์ที่ 4 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความสูญเสียที่ผลิตเกินความจำเป็นลดลง และต้นทุนในการจัดเก็บที่ลดลง นอกจากนี้ยังนำเสนอข้อสังเกตุ และข้อจำกัดงานวิจัยในครั้งนี้

Downloads

Download data is not yet available.

References

Harris, F. W. (1913). How many parts to make at once, Factory. The Magazine of Management, 10(2), 135–136, 152.

Grewal, C. S., Enns, S. T., & Rogers, P. (2015). Dynamic reorder point replenishment strategies for a capacitated supply chain with seasonal demand. Computers & Industrial Engineering, 80, 97-110.

Wang, C. H. (2010). Some remarks on an optimal order quantity and reorder point when supply and demand are uncertain. Computers & Industrial Engineering, 58(4), 809-813.

Mebarki, N., & Shahzad, A. (2013). Correlation among tardiness-based measures for scheduling using priority dispatching rules. International Journal of Production Research, 51(12), 3688-3697.

Wu, K. S., Ouyang, L. Y., & Yang, C. T. (2006). An optimal replenishment policy for non-instantaneous deteriorating items with stock-dependent demand and partial backlogging. International Journal of Production Economics, 101(2), 369-384.

Krommyda, I. P., Skouri, K., & Konstantaras, I. (2015). Optimal ordering quantities for substitutable products with stock-dependent demand. Applied Mathematical Modelling, 39(1), 147-164.

Lu, L., Zhang, J., & Tang, W. (2016). Optimal dynamic pricing and replenishment policy for perishable items with inventory-level-dependent demand. International Journal of Systems Science, 47(6), 1480-1494.

Mishra, U., Cárdenas-Barrón, L. E., Tiwari, S., Shaikh, A. A., & Treviño-Garza, G. (2017). An inventory model under price and stock dependent demand for controllable deterioration rate with shortages and preservation technology investment. Annals of operations research, 254(1), 165-190.

Jaggi, C. K., Gupta, M., Kausar, A., & Tiwari, S. (2019). Inventory and credit decisions for deteriorating items with displayed stock dependent demand in two-echelon supply chain using Stackelberg and Nash equilibrium solution. Annals of Operations Research, 274(1), 309-329

Chen, X., Benjaafar, S., & Elomri, A. (2013). The carbon-constrained EOQ. Operations Research Letters, 41(2), 172-179.

Hasan, M. R., Roy, T. C., Daryanto, Y., & Wee, H. M. (2021). Optimizing inventory level and technology investment under a carbon tax, cap-and-trade and strict carbon limit regulations. Sustainable Production and Consumption, 25, 604-621.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-05