กลยุทธ์การควบคุมกำลังไฟฟ้าโดยตรงสำหรับอินเวอร์เตอร์แบบแหล่งจ่ายแรงดันที่มีตัวกรอง แบบแอลซีแอลเพื่อเชื่อมต่อกับกริดสามเฟสของการไฟฟ้า

ผู้แต่ง

  • กำจัด ใจตรง สาขาวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้าและระบบควบคุมอัตโนมัติ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม
  • ปิยะนัฐ ใจตรง สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธนบุรี

คำสำคัญ:

การควบคุมกำลังไฟฟ้าโดยตรง, อินเวอร์เตอร์แบบแหล่งจ่ายแรงดัน, กริดสามเฟสแบบสมดุลของการไฟฟ้า

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในกำรประยุกต์ใช้กลยุทธ์กำรควบคุมกำลังไฟฟ้าโดยตรงสำหรับอินเวอร์เตอร์แบบ แหล่งจ่ายแรงดันที่มีตัวกรองแบบแอลซีแอลเพื่อเชื่อมต่อกับกริดสามเฟสแบบสมดุลของกำรไฟฟ้า โดยวิธีการควบคุมกำลังไฟฟ้าโดยตรงที่นำเสนอนี้เป็นการควบคุมลูปกำลังไฟฟ้าเพื่อควบคุมการจ่ายกำลังไฟฟ้าเข้ากับกริดสามเฟสแบบสมดุลของ การไฟฟ้าโดยตรง ส่วนลูปกระแสไฟฟ้าเพื่อควบคุมกระแสไฟฟ้าให้มีการตอบสนองที่รวดเร็วในการเข้าสู่สภาวะคงตัว รวมทั้งยัง มีกลยุทธ์ในการลดการแกว่งแบบแอกทีฟสำหรับตัวกรองแบบแอลซีแอล เพื่อลดฮาร์มอนิกของกระแสเอาต์พุตที่เชื่อมต่อกับกริดสามเฟสแบบสมดุลของการไฟฟ้า ผลการจำลองการทำงานพบว่าการควบคุมกำลังไฟฟ้าโดยตรงสำหรับอินเวอร์เตอร์แบบ แหล่งจ่ายแรงดันที่มีตัวกรองแบบแอลซีแอลและใช้การลดการแกว่งแบบแอกทีฟเชื่อมต่อกับกริดสามเฟสแบบสมดุลของการไฟฟ้าที่แรงดันไฟฟ้า 380 V ความถี่ 50 Hz โดยจ่ายกำลังไฟฟ้าเข้าไปในระบบได้ 30 kW ตัวควบคุมกำลังไฟฟ้าแบบพีไอ สามารถควบคุมการจ่ายกำลังไฟฟ้าให้กริดสามเฟสแบบสมดุลของการไฟฟ้าได้อย่างถูกต้องและแม่นยำในเวลาประมาณ 0.025 s ส่วนค่าความผิดเพี้ยนเชิงฮาร์มอนิกของกระแสและแรงดันจะมีค่ำโดยเฉลี่ยเท่ากับ 1.92% และ 0.1% ตามลำดับ ซึ่งค่าความผิดเพี้ยนเชิงฮาร์มอนิกของกระแสและแรงดันมีค่าลดลงโดยเฉลี่ยเท่ากับ 26.21% และ 3.30% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับกรณีที่ไม่ใช้ตัวควบคุมการแกว่งแบบแอกทีฟ ส่งผลให้ค่ากระแสฮาร์มอนิกอยู่ภายใต้ข้อกำหนดของมาตรฐาน IEC 1000-3-2 ทุกประการ

References

Twining, E. and Holmes, D. G. (2003). Grid current regulation of a three-phase voltage source inverter with an LCL input filter. IEEE Transactions on Power Electronics, 18(3), 888-895.

Serpa, L.A., Kolar, J.W., Ponnaluri, S. and Barbosa, P.M. (2005). A modified direct power control strategy allowing the connection of three-phase inverter to the grid through LCL filters. Fourtieth IAS Annual Meeting. Conference Record of the 2005 Industry Applications Conference, 1, 565-571.

P.A. Dahono. (2002). A control method to damp oscillation in the input LC-filter. Proceedings Power Electronics Specialist Conference, 4, 1630-1635.

Vladimir Blasko and Vikram Kaura. (1997). A Novel Control to Actively Damp Resonance in the Input LC Filter of Three-phase Voltage Source Converter. IEEE Transactions on Industry Applications, 33(2), 542-550.

Wang Xiongfei, Blaabjerg Frede and Loh Poh Chiang. (2012). Synthesis of variable harmonic impedance in inverter-interfaced distributed generation unit for harmonic damping throughout a distribution network. IEEE Transactions on Industry Applications, 48(4), 1407-1417.

Wang Xiongfei, Blaabjerg Frede and Loh Poh Chiang. (2015). Virtual RC Damping of LCL-Filtered Voltage Source Converters with Extended Selective Harmonic Compensation. IEEE Transactions on Power Electronics, 30(9), 4726-4737.

กำจัด ใจตรง. (2547). วิธีควบคุมการแกว่งแบบแอคทีฟด้านเข้าตัวกรองแบบแอล-ซีของวงจรเร็กติฟายเออร์สามเฟสแบบพีดับบลิวเอ็ม. การประชุมวิชาการทางวิศวกรรมไฟฟ้า ครั้งที่ 27.

กำจัด ใจตรง และปิยะนัฐ ใจตรง. (2563). การลดการแกว่งแบบแอกทีฟของอินเวอร์เตอร์แบบแหล่งจ่ายแรงดันที่มีตัวกรองแบบแอลซีแอลเพื่อเชื่อมต่อกับกริดสามเฟสของการไฟฟ้า. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธนบุรี, 4(2), 27-37.

ทวีศักดิ์ ทองแสน ธีรยุทธ ชาติชนะยืนยง และณัฐวุฒิ สุวรรณทา.(2558). การประยุกต์ใช้การควบคุมแบบสไลดิ้งโหมดสำหรับอุปกรณ์กู้คืนแรงดันพลวัตเพื่อแก้ไขแรงดันไม่สมดุล แรงดันตกชั่วขณะและแรงดันเกินชั่วขณะในระบบไฟฟ้าสามเฟสโดยใช้อัลกอริทึมแบบเร็ว. วารสารวิจัย มข, 15(1), 18-31.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30