การพัฒนาเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพจากกล้วยน้ำว้าผสมสมุนไพร
คำสำคัญ:
เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ, กล้วยน้ำว้า, สมุนไพรบทคัดย่อ
กล้วยน้ำว้าเป็นผลไม้ที่คนไทยคุ้นเคย โดยน้ามาบริโภคทั้งผลสดและนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ อย่างไรก็ ตามกล้วยน้ำว้าเมื่อสุกจะมีอายุการเก็บรักษาสั้น งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพจากกล้วยน้ำว้า ผสมสมุนไพร ให้เครื่องดื่มมีอายุการเก็บรักษานานขึ้นและมีสีสันสวยงาม จากการศึกษาสูตรที่เหมาะสมในการผลิตเครื่องดื่ม พบว่า ผู้ทดสอบให้คะแนนความชอบเครื่องดื่มที่มีอัตราส่วนระหว่างเนื้อกล้วยน้ำว้าต่อน้ำ เท่ากับ 1:4 โดยน้ำหนัก และที่ระดับ ความหวาน เท่ากับ 12 องศาบริกซ์ สูงที่สุด จากนั้นประยุกต์ใช้สีธรรมชาติจากสุมนไพร 4 ชนิด มาเป็นส่วนผสม ได้แก่ ใบเตย หอม แก่นฝาง ดอกกระเจี๊ยบแดง และดอกอัญชัน โดยมีสูตรต้นแบบเป็นตัวอย่างควบคุม ได้ผลิตภัณฑ์ทั้งหมด 5 สี ผลการ ประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัส พบว่า เครื่องดื่มจากกล้วยน้ำว้าผสมกระเจี๊ยบแดงมีคะแนนความชอบด้านสี กลิ่นรสและ รสชาติสูงที่สุด นอกจากนี้ยังพบว่าเครื่องดื่มจากกล้วยน้ำว้าผสมกระเจี๊ยบแดงมีค่าความเป็นกรด-ด่างต่ำที่สุดเท่ากับ 2.5 และมี ปริมาณกรดทั้งหมดสูงที่สุดเท่ากับ 0.18% ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด และสมบัติการยับยั้ง DPPH radical สูงที่สุด โดยมีค่าเท่ากับ 73.32 mg GAE/100 g และ 278.15 mg ascorbic acid/L ตามล้าดับ เครื่องดื่มทั้ง 5 สี ที่บรรจุในขวดแก้ว เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 4ºC เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ พบว่า ยังคงมีปริมาณจุลินทรีย์ เป็นไปตามข้อกำหนดของประกาศ กระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 356 พ.ศ. 2556 เรื่อง เครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิด
References
จิรพร สวัสดิการ และ สาวิณี แก้วเกตุ. (2558, 18-19 มิถุนายน). การพัฒนาเครื่องดื่มสมุนไพรฝางเสริมคอลลาเจน. [Poster presentation]. การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ “สร้างสรรค์และพัฒนาเพื่อก้าวหน้าสู่ประชาคมอาเซียน” มหาวิทยาลัยนครราชสีมา.
ธีราพร ปฏิเวธวิทูร, บุญมี กวินเสกสรร, สมบัติ ทีฆทรัพย์ และ เธียร ธีระวรวงศ์. (2563). นวัตกรรมผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มน้ำส้มพาสเจอร์ไรส์เสริมเกสรผึ้งเพื่อใช้เป็นอาหารเพื่อสุขภาพ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธนบุรี. 4(1), 55-63.
นัทราภรณ์ มงคล. (2546). น้ำผักผลไม้เพื่อสุขภาพ. สำนักพิมพ์ไพลินบุ๊คเน็ต กรุงเทพฯ.
เบญจมาศ ศิลาย้อย. (2545). กล้วย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ปรรัตน์ ศุภมิตรโยธิน. (2556). เทคโนโลยีผักและผลไม้. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
กระทรวงสาธารณสุข. (2556). เครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท. https://food.fda.moph.go.th/law/data/announ_moph/P356.pdf
วนิดา โอศิริพันธ์. (2559). การพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำกล้วยหอมอัดก๊าซ. วารสารวิจัยรามค้าแหง (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี). 19(1), 40-53.
วลัย หุตะโกวิท, บุษรา สร้อยระย้า, ชมพูนุช เผื่อนพิภพ และ ดวงกมล ตั้งสถิตพร. (2553). การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเช้าสำเร็จรูปจากแป้งกล้วยด้วยเทคโนโลยีเอกซ์ทรูชัน. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
สมชาย วงศ์สุริยศักดิ์ และ สุวิทย์ โชตินันท์. (2556). การพัฒนาเครื่องดื่มสมุนไพรจากดอกอัญชันและการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ในเชิงพาณิชย์. https://j-com-dev-and-lifeeuaoop.cmu.ac.th/uploads/file/bcdfkpru1269.pdf
สายลม สัมพันธ์เวชโสภา, อภิรดี อุทัยรัตนกิจ และวิทวัส มิ่งวานิช. (2559). การพัฒนาผลิตภัณฑ์กล้วย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
เอนก หาลี และ บุณยกฤต รัตนพันธุ์. (2560). การศึกษาประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระจากพืชผักสมุนไพรพื้นบ้าน 15 ชนิด. วารสารวิจัยและพัฒนา, มจธ. 40, 283-293.
Foodtravel.tv. (2555, 26 กุมภาพันธ์). น้ำใบเตย. http://www.foodtravel.tv/recfoodShow_Detail.aspx?viewId=1281.
Kumar, V., Singh, S. K., Kumar, V. and Yadav, A. (2013). Development and Qualitative Evaluation of Banana and Kinnow Based RTS Beverage. Madras Agricultural Journal, 100 (7-9), 782-787.
] Moneshkumar, M., P. (2001). Development of process technology for preparation of banana beverage. [Master’s Thesis], Indira Gandhi Agricultural University.
Thompson, A. (1995). Banana processing in Bananan and Plantains. Chapman & Hall Publisher, 481-492.
Vajragupta, O., Boonchoong, P., Boonyarat, C. and Utsintong, M., (2006). Radical Scavenging Agents. Chulalongkorn University.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.