ระดับเสียงของการทำงานในสถานประกอบการอู่ซ่อมรถยนต์ เขตเทศบาลอำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • อนุรักษ์ ปิ่นทอง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • สุรศักดิ์ กิจชำนาญ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

ระดับเสียงของกำรทำงาน, อู่ซ่อมรถยนต์, ผลกระทบของเสียง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจวัดระดับเสียงของการทำงานในสถานประกอบการอู่ซ่อมรถยนต์โดย เปรียบเทียบกับค่ามาตรฐาน เปรียบเทียบระดับเสียงของการทำงานในสถานประกอบการอู่ซ่อมรถยนต์ขนาดใหญ่และขนาดเล็ก และผลกระทบของระดับเสียงของการทำงานต่อผู้ปฏิบัติงาน โดยใช้เครื่องวัดเสียงและวิธีการตรวจวัดระดับเสียงของการ ทำงานตามมาตรฐานของกฎกระทรวงในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่างและเสียง พ.ศ.2549
ผลการศึกษา พบว่า สถานประกอบการอู่ซ่อมรถยนต์ขนาดใหญ่และขนาดเล็กมีระดับเสียงที่สัมผัสเป็นเวลา 8 ชั่วโมง (TWA) ของการทำงาน เท่ากับ 75.75 ± 2.70 เดซิเบลเอ และ 78.50 ± 1.38 เดซิเบลเอ ตามลำดับ ระดับเสียง กระแทก เท่ากับ 116.87 ± 4.49 เดซิเบลซี และ 116.75 ± 5.13 เดซิเบลซี ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบระดับเสียงที่สัมผัสเป็นเวลา 8 ชั่วโมง (TWA) ของการทำงานและระดับเสียงกระแทกกับค่ามาตรฐาน ซึ่งกำหนดไว้ไม่เกิน 85 เดซิเบลเอ และ 140 เดซเบลซี ตามลำดับ พบว่า ระดับเสียงที่สัมผัสเป็นเวลา 8 ชั่วโมง (TWA) ของการทำงานและระดับเสียงกระแทกของ สถานประกอบการอู่ซ่อมรถยนต์ขนาดใหญ่และขนาดเล็ก มีค่าไม่เกินมาตรฐาน การเปรียบเทียบระดับเสียงที่สัมผัสเป็นเวลา 8 ชั่วโมง (TWA) ของการทำงานระหว่างสถานประกอบการอู่ซ่อมรถยนต์ขนาดใหญ่และขนาดเล็ก โดยใช้สถิติ t - test independent ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 พบว่า ค่า p-value < 0.05 ซึ่งหมายความว่า สถานประกอบการอู่ซ่อมรถยนต์ขนาด เล็กมีระดับเสียงที่สัมผัสเป็นเวลา 8 ชั่วโมง (TWA) ของการทำงานมากกว่าสถานประกอบการอู่ซ่อมรถยนต์ขนาดใหญ่ และการสัมภาษณ์พนักงานในสถานประกอบการอู่ซ่อมรถยนต์ขนาดใหญ่และขนาดเล็ก พบว่า เสียงที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการได้ยิน การสื่อสำรระหว่างการปฏิบัติงานและสภาพจิตใจของพนักงาน

References

ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง มาตรฐานในการบริหารจัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2559. (2559, 7 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 133 ตอนที่ 91 ก.

ประกาศกองความปลอดภัยแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน เรื่อง แนวทางการตรวจวัดและประเมินสภาพแวดลอมในการทำงานและการดำเนินการตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดลอมในการทำงาน พ.ศ. 2554. (2561).

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง มาตรฐานระดับเสียงที่ยอมให้ลูกจ้างได้รับเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงานในแต่ละวัน. (2560, 13 ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 135 ตอนพิเศษ 19 ง.

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการตรวจวัด และการวิเคราะห์สภาวะการทำงานเกี่ยวกับระดับความร้อน แสงสว่าง หรือเสียง รวมทั้งระยะเวลาและประเภทกิจการที่ต้องดำเนินการ. (2561, 8 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135 ตอนพิเศษ 57 ง.

วิทยา อยู่สุข. (2552). อาชีวอนามัยและความปลอดภัย. พิมพ์ครั้งที่ 4. หจก.เบสท์ กราฟฟิค เพรส. กรุงเทพฯ.

ศิวพันธุ์ ชูอินทร์. (2556). ความรู้เบื้องต้นด้านมลพิษทางเสียง. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30

How to Cite

ปิ่นทอง อ., & กิจชำนาญ ส. (2022). ระดับเสียงของการทำงานในสถานประกอบการอู่ซ่อมรถยนต์ เขตเทศบาลอำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธนบุรี, 6(2), 1–7. สืบค้น จาก https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/trusci/article/view/518